คุณรู้ไหมว่า...ใครเป็นใคร..? บนโลกใบนี้

คุณรู้ไหมว่า...ใครเป็นใคร..? บนโลกใบนี้

Archimedes : อาร์คีมิดีส (287 - 212 ก่อน ค.ศ.)


Archimedes : อาร์คีมิดีส นักคณิตสาสตร์และนักฟิสิกส์ชาวกรีก  ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวิชากลศาสตร์  เขาเป็นผู้ค้นพบกฎของคานดีด  ซึ่งนำไปใช้ประดิษฐ์เครื่องทุ่นแรงมากมาย  และอาร์คีมิดีสยังค้นพบกฎการหาความถ่วงจำเพาะของวัตถุรูปทรงต่างๆ และประดิษฐ์ระหัดวิดน้ำ  สร้างสูตรการคำณวนหาพื้นที่ทรงกลมและอื่นๆ

เรื่องเล่าที่แพร่หลายที่สุดเกี่ยวกับอาร์คิมิดีส  คือการที่เขาค้นพบกลวิธีในการหาปริมาตรของวัตถุซึ่งมีรูปร่างแปลกๆตามบันทึกของวิทรูเวียส  เล่าว่า... วัดแห่งหนึ่งสร้างมงกุฎถวายพระเจ้าเฮียโรที่ 2  โดยพระองค์ทรงจัดหาทองคำบริสุทธิ์ให้  อาร์คิมีดีสถูกข้อร้องให้ช่วยตรวจสอบว่ามีการฉ้อโกงโดยผสมเงินลงไปด้วยหรือไม่  และการตรวจสอบจะต้องไม่ทำให้มงกุฎเสียหาย  โดยที่อาร์คีมิดีสไม่สามารถหลอมมันใหม่หรือทำให้มงกุฎเปลี่ยนรูปทรงไปแต่น้อยนิดไม่ได้เลย  วันหนึ่งที่เขาอาบน้ำ  เขาก็สังเกตว่าระดับน้ำในอ่างเพิ่มสูงขึ้นขณะเขาก้าวลงไป  เขาจึงคิดได้ว่าวิธีการนี้สามารถใช้ในการหาปริมาตรของมงกุฎได้ด้วยเช่นกัน  เพราะตามปกติแล้ว  น้ำจะไม่สามารถถูกบีบอัดได้  ดังนั้นมงกุฎที่ถูกจุมลงไปในน้ำย่อมต้องแทนที่ด้วยปริมาตรของน้ำที่ไหลออกมาเท่ากับปริมาตรของมงกุฎนั่นเอง  เมื่อนำปริมาตรนั้นมาหารด้วยมวลรวมของมงกุฎ  ก็จะสามารถหาค่าความหาแน่นของทองในมงกุฎได้  ซึ่งถ้ามีการผสมโลหะราคาถูกอื่นๆเข้าไป  ค่าหนาแน่นนี้จะต่ำกว่าค่าความหนาแน่นของทองคำ  กล่าวกันว่า  เมื่ออาร์คีมิดีสค้นพบวิธีการนี้  เขาตื่นเต้นและดีใจมาก  เสียจนวิ่งออกไปที่ท้องถนนทั้งๆที่ยังแก้ผ้าอยู่  แล้วร้องตะโกนว่า " ยูเรก้า... " แปลว่า  " ฉันพบแล้ว "  

อาร์คีมิดีสเสียชีวิตเมื่อปีที่ 212 ก่อนคริสตกาลระหว่างสงครามพิวนิกครั้งที่ 2 โดยน้ำมือของทหารชาวโรมัน  โดยทหารโรมันคนนั้นได้บุกเข้าไปในบ้านของอาร์คีมิดีสและสั่งให้เขาออกมาพบกับนายพลมาร์เซลลัสแห่งโรม  แต่อาร์คีมิดีสปฎิเสธ  โดยบอกว่า...ต้องแก้ปัญหาของสมการให้เสร็จก่อน  ทหารผู้นั้นจึงบันดาลโทสะแทงอาร์คีมิดีสด้วยดาบจนเสียชีวิต

ภาพ อาร์คีมิดีสใช้ไม้คานงัดโลก


วาทกรรม : " ถ้ามีที่ให้ข้ายืนได้อย่างมั่นคง  ข้าฯ จะใช้คานงัดโลกให้ให้เคลื่อนที่ได้ "

Asoka The Great : พระเจ้าอโศกมหาราช (291 - 232 ก่อน ค.ศ.)


Asoka The Great: พระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์นักรบผู้ยิ่งใหญ่แห่งอินเดีย  ของราชวงศ์โมริยะ  ผู้ปกครองแคว้นมคธและขยายอาณาจักรอินเดียออกไปอย่างกว้างไกล  และได้ทรงรวบรวมแผ่นดินอินเดียให้เป็นปึกแผ่นอีกครั้ง  พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ผู้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างมาก  ทรงเป็นผู้อุปถัมถ์และจัดให้มีการสังคยานาพระธรรมวินัยเป็นครั้งที่ 3  และพระองค์ได้ทรงสร้างพุทธสถานหลายแห่งในอินเดีย  และทรงร่างกฎหมายตามคติพุทธและทรงจาลึกบนเสาศิลาที่ติดตั้งตามเมืองต่างๆทั่วทั้งอินเดีย  ซึ่งยังคงเหลืออยูในปัจจุบัน  และทรงเผยแพร่พุทธศาสนาอย่างจริงจัง  จนทำให้พุทธศาสนาแบบเถรวาทหยั่งรากลึกในศรีลังกาและเผยแพร่ต่อมายังประเทศไทยและในแถบเอเซียอาคเนย์

พระเจ้าอโสกยังทรงเป็นกษัตริย์นักพัฒนา  ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม  สร้างระบบชลประทานและการขนส่ง  แก้ปัญหาความอดอยากขาดแคลนและการบริการทางสังคมต่างๆอีกด้วย

พระเจ้าอโสกทรงสิ้นพนะชนม์ในปี พ.ศ.311 และมิได้มีโอรสสืบพระราชบัลลังก์แต่อย่างใด  เพราะโอรสทุกพระองค์นั้น  ล้วนออกบวชเป็นพระภิกษุในพุทธศาสนาตามพระประสงค์ของพระเจ้าอโสกจนหมด  ราชสมบัติจึงตกแก่พระนัดดา  แต่ภาคหลังยุคสมัยพระเจ้าอโศกแล้ว  แผ่นดินอินเดียก็กลับแตกกระสานซ่านเซ็นออกไปอีกครั้ง

Chandragupta : พระเจ้าจันทรคุปตะ ( 321 - 297 ก่อน ค.ศ.)


Chandragupta : พระเจ้าจันทรคุปตะ  จักรพรรดิชาวอินเดีย  แห่งราชวงศ์ " โมริยะ " ผู้ยึดแคว้นมคธได้  และก่อตั้งเมือง " ปิปพลีวัน "  หลังจากที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งมาซิโดเนีย (กรีก) ได้ถอนทัพออกไปจากอินเดีย  ซึ่งพระเจ้าจันทรคุปตะก็ได้ขยายอาณาจักรของพระองค์ไปจนถึงกรีกและอัฟกานิสถาน  และมีพระโอรสสืบถอดราชบัลลังค์ต่อมาคือ  พระเจ้าพินทุสารซึ่งเป็นพระบิดาของพระเจ้าอโศกมหาราช  ในยุคต่อมา

พระเจ้าจันทรคุปตะทรงปกครองแคว้นมคธ  โดยแบ่งอาณาจักรอินเดียออกเป็น 3 ภาค  โดยการใช้ระบบตัวแทนในการปกครอง (ซึ่งตำแหน่งผู้แทนการปกครองนี้จะสืบถอดกันภายในเชื้อพระราชวงศ์เท่านั้น)  โดยแต่ละภาคจะปกครองเมืองเล็กๆที่อยู่ในอาณาเขตของตนอีกชั้นหนึ่ง  และผลผลิตที่เกิดขึ้นในแผ่นดินทั้งหมด  หนึ่งในสี่จะถูกนำเข้าท้องพระคลังหลวง  พระเจ้าจันทรคุปตะยังเป็นคิดค้นในเรื่องระบบชลประทาน  และริเริ่มก่อตั้งหน่วยงานมหาดไทยในการสำรวจสำมะโนประชากร  ซึ่งคนต่างถิ่นหรือคนต่างชาติทั้งหมดจะต้องถือใบผ่านทางในการเข้าออกราชอาณาจักร  และทรงตั้งหน่วยงานตำรวจ  และหน่วยงานสืบราชการลับมาตั้งแต่สมันนั้นอีกด้วย  อีกทั้ง  พระเจ้าจันทรคุปตะยังทรงมองเห็นความสำคัญในการศึกษาอีกด้วย  พระองค์จึงจัดให้สร้างมหาวิทยาลัยขึ้นหลายแห่งในแคว้นมคธ  และทำการทำนุบำรุงตักศิลาให้เป็นหมาวิทยาลัยหลักต่อมา  ซึ่งทำให้แคว้นมคธมีความเจริญอย่างมากในยุคสมัยนั้น

Euclid : ยูคลิด (330 - 260 ก่อน ค.ศ.)


Euclid : ยูคลิด  นักคณิตศาสตร์ชาวกรีก  และชาวเมืองอเล็กซานเดรียในสมัยกษัตริย์พโตเลมีที่ 1 ซึ่งยูคลิดได้ชื่อว่าเป็น " บิดาแห่งเลขาคณิต"  ผู้คิดค้นทฤษฎีตัวหารรวมมาก (greatest common divisor: gcd) ของจำนวนนับ 2 จำนวนที่มีค่ามากอย่างรวดเร็ว  ซึ่งในปัจจุบันเรียกว่าขั้นตอนแบบยูคลิด

ตัวหารรวมมากมีประโยขน์ในการทำเศษส่วนให้เป็นเศษส่วนอย่างต่ำ  ดังตัวอย่างนี้


ซึ่งเราสามารถตัดตัวหารร่วมมากของ 42 และ 56 คือ 14 ออก  เป็นต้น

      ยูคลิดยังได้เขียนตำรา 9 เล่ม (The Elements) ซึ่งเป็นตำรามาตรฐานทางคณิตศาสตร์ที่ใช้มากว่า 2 พันปีจนถึงปัจจุบัน โดยตำรา The Elements แบ่งออกเป็นหนังสือได้ 13 เล่ม ใน 6 เล่มแรกเป็นผลงานเกี่ยวกับเรขาคณิต เล่มที่ 7, 8 และ 9 เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับทฤษฎีตัวเลข เล่มที่ 10 เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับทฤษฎีที่ว่าด้วยจำนวนอตรรกยะ เล่มที่ 11, 12 และ 13 เกี่ยวข้องกับเรื่องราวรูปเรขาคณิตทรงตัน และปิดท้ายด้วยการกล่าวถึงรูปทรงหลายเหลี่ยม และข้อพิสูจน์เกี่ยวกับรูปทรงหลายเหลี่ยม เป็นต้น

ตำราของยูคลิดได้สร้างมาตรฐานสำหรับตรรกในการคิด  และวิธีพิสูจน์อย่างเป็นวิทยาศาสตร์  และสร้างประโยชน์ต่อความเจริญก้าวหน้าทางฟิสิกส์  ชีววิทยา  แพทย์  การเดินเรือ  และดาราศาสตร์  มาจนถึงทุกวันนี้

วาทกรรม : " ไม่มีถนนสายพิเศษ   สำหรับพระราชาไปสู่วิชาเลขาคณิต "






Epicurus (341 - 270 ก่อน ค.ศ.)


Epicurus  นักปรัชญาวัตถุนิยมชาวกรีก  ผู้ก่อตั้งโรงเรียนปรัชญา Epicureanism  เขามาจากชนชั้นสามัญชน  Epicurusเชื่อว่าโลกสร้างขึ้นมาจากอนุภาคที่ไม่อาจทำลายได้  ซึ่งเป็นตัวการในการกำหนดโอกาสและเสรีภาพของมนุษย์  เขาเห็นว่าจุดมุ่งหมายของมนุษย์คือการปลดปล่อยคนออกจากความโง่เขลา  และความเชื่องมงายในเรื่องเทพเจ้าและเรื่องโชคลาง  ในทางจริยศาสตร์เขาสนับสนุนการแสวงหาความสุขโดยหลีกเลี่ยงจากการทรมานตนเองหรือการทนทุกข์  และเน้นให้ความสำคัญในเรื่องมิตรภาพอย่างมาก  ในฐานะที่มิตรภาพเป็นส่วนประกอบสำคัญของความสุข  และสอนให้มีความคิดบวกและแสวงหาหนทางบวกในชีวิตของตน  เพื่อมนุษย์เราจะค้นพบสันติสุขในชีวิต  ซึ่งปรัชญา Epicureanism  ของเขามีอิทธิพลต่อมาอีกหลายร้อยปี

วาทกรรม : " ความช่วยเหลือจริงๆของเพื่อน  มันไม่ได้ช่วยเรามากเท่ากับความรู้สึกมั่นใจว่า...เพื่อนพร้อมจะช่วยเรา "

Alexander the Great : พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช (358 - 323 ก่อน ค.ศ.)


Alexander the Great : พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช  ราชวงศ์อาร์กีด (Argead dynasty) กษัตริย์ชาวกรีกผู้ยิ่งใหญ่  ลูกศิษย์ของอริสโตเติลนักปราชญ์แห่งโลกตะวันตก  และทรงเป็นผู้แผ่ขยายอาณาจักรกรีกออกไปกว้างไกล  และก่อตั้งเมืองอเล็กซานเดรียให้เป็นศูนย์กลางเผยแพร่อารยธรรมกรีกสู่โลกตะวันออก  อเล็กซานเดอร์ได้เป็นผู้นำกองทัพตั้งแต่หนุ่ม  และใช้เวลา 10 ปี  พิชิตทั้งอียิปต์  เปอร์เซีย  บาบิโลน  อัฟกานิสถานและบุกไปจนถึงอินเดีย  แต่หลังจากที่เหล่าทหารกรำศึกหนักและเดินทางมายาวไกล  จึงทำให้พวกทหารปฏิเสธที่จะไปต่อ  อเล็กซานเดอร์จึงจำใจต้องกลับมาตุภูมิ  ซึ่งพระองค์ก็ได้ล้มป่วยและสวรรคตระหว่างเดินทางกลับ  ตอนอายุ 33 ปี และด้วยเพราะอเล็กซานเดอร์ไม่มีรัชทายาท  อาณาจักรจึงถูกแบ่งกันปกครองโดยแม่ทัพและนายทหารผู้ใกล้ชิด


ภาพ  อริสโตเติลกำลังสอนวิทยาการต่างๆให้กับอเล็กซานเดอร์

เกล็ดประวัติศาสตร์ : อเล็กซานเดอร์มีรสนิยมเพศแบบ (homo sexual) ที่ชอบพอในบุรุษมากกว่าสตรี  และเมื่อเฮฟาอีสเตียน (Hephaestien)  ผู้เป็นอัครมหาเสนาบดีและนายทหารคนสนิทของพระองค์ได้เสียชีวิตที่เมืองเอคบาตานา (Ecbatana) ในฤดูใบไม้ร่วงปี 324 ก่อนคริสตกาล  ทำให้อเล็กซานเดอร์เสียพระทัยอย่างมาก  พระองค์ทรงจัดให้มีพิธีศพที่กรุงบาบิโลน  และให้สร้างสุสานใหญ่ที่สวยงามเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่เฮฟาอีสเตียนพระสหายรัก  หลังจากนั้น  อเล็กซานเดอร์ได้แต่เสวยน้ำจันฑ์ถึงเจ็ดวันเจ็ดคืนท่ามกลางอากาศที่ร้อนระอุ  ณ  กรุงบาบิโลน  จึงเป็นเหตุให้อเล็กซานเดอร์ประชวรอยู่ 10 วัน  แล้วจึงเสด็จสู่สวรรคาลัยในวันที่ 10 มิถุนายน ปี 323 ก่อนคริสตกาล  โดยมีพระชนมายุเพียง 33 พระชันษา เท่านั้น

วาทกรรม : " ถ้าฉันไม่ได้เป็นอเล็กซานเดอร์  ฉันคงอยากเป็นอย่างไดโอเจนิส "                                                        
                    (คำกล่าวนี้  หลังจากที่พระองค์ได้ทรงเสด็จไปเยี่ยม Diogenes นักปราชญ์แห่งสำนัก Cynic ผู้สอนปรัชญาในเรื่องการสละทางโลก  และใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย  ซึ่งครั้งนั้น  ไดโอเจนิสกำลังนอนอยู่และอเล็กซานเดอร์ทรงถามเขาว่า..อยากให้พระองค์ทรงช่วยอะไรเขาหรือไม่  ไดโอเจนิสตอบว่า.. " ช่วยถอยออกไป  อย่ายืนบังแดดก็พอแล้ว " )

Ptolemy I Soter : พโตเลมีที่ 1 (360 - 283 ก่อน ค.ศ.)



Ptolemy I Soter : พโตเลมีที่ 1 เขาคือแม่ทัพและหนึ่งในเจ็ดองค์รักษ์ (Somatophylakes)ใกล้ชิดของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่  และเป็นเพือนสนิทกับอเล็กซานเดอร์ตั้งแต่เด็ก  ซึ่งพโตเลมีถูกส่งไปปกครองเมืองอเล็กซานเดรียหลังจากที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ทรงสิ้นพระชนม์  พโตเลมีได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งอียิปต์  ราชวงศ์พโตเลมีมาอิค (Ptolemaic Dynasty) และอาณาจักร Ptolemaic 

ในช่วยสมัยของพโตเลมีที่ 1 ได้มีการก่อร่างสร้างสังคมอียิปต์ให้กลับมาเป็นปึกแผ่นและเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว หลังจากถูกจักรวรรดิโรมัน (Roman Empire) เข้ายึดครอง  และเนื่องจากเมืองอเล็กซานเดรียตั้งอยู่ในทำเลที่ตั้งซึ่งเหมาะสมแก่การเดินทางค้าขาย  เพราะตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำไนล์  และเป็นเมืองท่าที่สำคัญติดชายทะเลเมดิเตอร์เรเนียน  ทำให้อียิปต์เกิดความมั่งคั่งอย่างรวดเร็วในเวลานั้น  เมืองนี้จึงกลายเป็นศูนย์กลางของนักเดินทางทุกประเภท...ทั้งพ่อค้าและนักแสวงโชค  และมีพวกบัณฑิต  สถาปนิกและศิลปกรต่างๆด้วย  และพโตเลมีได้สร้างหอสมุดแห่งอเล็กซานเดรีย (Library of Alexandria)  ขึ้นเป็นศูนย์กลางแห่งความรู้ของวัฒนธรรมเอลเลนเนสติก (กรีก) ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคนั้น  จึงทำให้อียิปต์กลายเป็นแหล่งรวมสรรพวิชาการไม่แพ้กรุงเอเธนส์เลย  


หอสมุดอเล็กซานเดรีย


ประภาคารแห่งอเล็กซานเดรีย  1 ในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของยุคโบราณ


....................................................................


Chuang Taz : จวง จื้อ (365 - 290 ก่อน ค.ศ.)


Chuang Taz : จวง จื้อ  นักปราชญ์จีนโบราณ  ผู้เผยแพร่คติเต๋า (Taoism) คนสำคัญ  ถึงแม้จวงจื้อจะเกิดหลังท่านเหลาจือหลายร้อยปี ( ประมาณ พ.ศ.196 - 269 )  แต่เขาก็มีความเลื่อมใสในคำสอนของเหลาจื้ออย่างมาก  ถึงกับได้อุทิศตัวเองประกาศคำสอนของเหลาจื้อออกไปอย่างกว้างขวาง  จนเป็นเหตุให้ปรัชญาเต๋ากลายเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย  และเป็นเหตุให้เกิดศาสนาเต๋าในกาลต่อมา  จวงจื้อได้เขียนหนังสือไว้มาก  ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวกับคติธรรมแห่งเต๋า  ที่มุ่งสอนให้คนดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับธรรมชาติ  กลมกลืนกับธรรมชาติ  ดำรงชีวิตอย่างเรียบง่าย  และมุ่งหาความาสงบสงัดเป็นที่ตั้ง  ซึ่งตัวจวงจื้อเองได้ไปปลูกกระท่อมน้อยอยู่ในป่าใกล้เชิงเขา  ดำรงชีวิตอย่างมักน้อย  ไม่สนใจใยดีต่อการแต่งกาย  เสื้อผ้าขาดรุ่งริ่ง  รองเท้าก็ขาดเป็นรูโหว่  เป็นที่น่าเวทนาแก่ผู้ที่พบเห็นทั่วไป

ถึงจวงจื้อจะปลีกตัวออกจากสังคมออกไปอยู่ป่าเขาลำเนาไพร่  ก็ใช่ว่าจวงจื้อจะเป็นคนไม่มีความรู้  สู้กับโลกไม่ได้  แต่ความจริง  จวงจื้อกลับเป็นคนฉลาดปลาดเปลื่องมากคนหนึ่ง  ซึ่งมีความรู้เจนจบในวิชารัฐประศาสนศาสตร์  เศรษฐกิจ  พิชัยสงคราม  และวิชาอื่นๆที่ศึกษากันในยุคสมัยนั้น  ซึ่งความรู้และความสามารถของจวงจื้อเป็นที่กล่าวขานกันไปทั่ว  จนพระเจ้าเว่ย (Wei) แห่งราชวงศ์ฌ้อ  ได้ส่งราชทูตมาเชิญจวงจื้อไปรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งรัฐฌ้อ  แต่จวงจื้อก็ได้ตอบปฏิเสธ....ด้วยเหตุผล  ดังต่อไปนี้

               จวงจื้อ " ข้าพเจ้าได้สดับมาว่า  ที่นครฌ้อมีเต่าศักดิ์สิทธฺิอยู่ตัวหนึ่ง  ตามมาแล้วถึง 3,000 ปี  พระราชาทรงเคารพนับถือว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์  จึงห่อไว้ด้วยผ้าไหมเก็บไว้บูชาในเทวาลัย  ถ้าท่านเป็นเต่าตัวนั้น  จักยินดีเป็นเต่าตายเหลือแต่ซากและกระดองให้คนสักการบูชา  หรืออยากจะเป็นเต่าที่มีชีวิต  เที่ยวหากินตามทุ่งหนองคลองบึง "

               ราชทูต " ข้าพเจ้ายินดีของเป็นเต่ามีชีวิต  เที่ยวคลานหากินตามบึงตามทุงดีกว่า "

              จวงจื้อ " ถ้าเช่นนั้น  ก็ขอเชิญไปทูลพระราชาของท่านว่า  อันตัวข้าพเจ้าจวงจื้อก็ปรารถนาจะขอเป็นเต่าที่มีชีวิต  เที่ยวหากินตามบึงตามทุ่ง  ไม่ขอรับตำแหน่งที่ทรงพระราชทาน "


........................................................................  

ติดตามผ่าน FACEBOOK

Video Of Week : เส้นทางนักบุกเบิก สตีฟ จ๊อบส์

Live Currency Cross Rates


The Forex Quotes are powered by Investing.com.

ไขปริศนาคดีฆาตกรต่อเนื่องโดย นักฆ่าโซดิแอค

โพสต์แนะนำ

Anton Van Leeuwenhoeh : ลีเวนฮุ๊ค (ค.ศ.1632-1723)

Anton Van Leeuwenhoeh : ลีเวนฮุ๊ค  นักชีววิทยาชาวดัชท์  ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็น " บิดาแห่งจุลชีววิทยาการ " ( the Father of M...

บทความที่ได้รับความนิยม

Kategori

สนับสนุนเว็บไซด์

หนังคาวบอยดี.. ดูฟรี ออนไลน์

Kategori