คุณรู้ไหมว่า...ใครเป็นใคร..? บนโลกใบนี้

คุณรู้ไหมว่า...ใครเป็นใคร..? บนโลกใบนี้

Peter The Great หรือ Peter I : พระเจ้าปีเตอร์มหาราช (ค.ศ.1672-1725)


Peter The Great หรือ Peter I : พระเจ้าปีเตอร์มหาราช  ซาร์แห่งรัสเซีย (ค.ศ.1682-1721) ผู้นำขนบธรรมเนียนและแนวคิดแบบยุโรปตะวันตก..เข้ามาปรับปรุงและสร้างจักรวรรดิรัสเซียให้ทันสมัยและมีความเจริญก้าวหน้าอย่างมาก  กระทั้ง..ประเทศรัสเซียกลายเป็นชาติมหาอำนาจในยุโรป

พระเจ้าปีเตอร์มหาราช หรือ  พระนามเดิม  ปีเตอร์ อเล็กเซเยวิช โรมานอฟ  ทรงพระราชสมภพวันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ.1672 เป็นโอรสของพระเจ้าซาร์อเล็กซิสที่ 1 กับ ซารีนา นาตัลยา นารีสกีนา (พระมเหสีองค์ที่ 2 ระหว่างปี 1671-1676) และด้วยเพราะ..ซาร์ปีเตอร์ทรงเป็นโอรสองค์ที่ 2 จึงไม่ได้ทรงมีฐานะเป็นซาเรวิชหรือองค์รัชทายาท  กระทั้ง..เมื่อของพระบิดาพระเจ้าซาร์อเล็กซิสที่ 1  ทรงสวรรคตในปี 1676  พระเชษฐาต่างมารดา (บุตรของพระมเหสีองค์แรก " มาเรีย มิโลสลาฟสกี้ " 1648-1669)  ที่มีพระนามว่า " เฟโอดอร์ " จึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแทน.. โดยใช้ฉลองพระนามว่า " พระเจ้าซาร์เฟโอดอร์ที่ 2 "  (ในตอนนั้น..ซาร์ปีเตอร์ทรงมีพระชนมายุเพียง 4 ปี)  ต่อมา..เมื่อซาร์เฟโอดอร์ที่ 2 สวรรคตในเดือนมิถุนายน 1682  โดยไม่มีรัชทายาท  จึงเกิดการช่วงชิงอำนาจกันในราชสำนักระหว่างสองตระกูล คือ มิโลลาฟสกี้ : Miloslavsky (ฝ่ายมเหสีองค์ที่ 1) กับตระกูล นารีสกีนา : Naryshkina (ฝ่ายมเหสีองค์ที่ 2) ซึ่งเป็นไปอย่างนองเลือด  สุดท้าย..จึงมีประกาศให้ตั้งอิวานที่ 5 (Ivan V) จากตระกูลมิโลลาฟสกี้เป็นซาร์ผู้พี่  และตั้งพระเจ้าปีเตอร์เป็นซาร์ผู้น้อง  ปกครองรัสเซียร่วมกัน  โดยมีพระเชษฐภคินีโซเฟีย (Sophia Alekseyevna พระธิดาของพระเจ้าซาร์อเล็กซิส) เป็นผู้สำเร็จราชการแทน (เนื่องด้วยองค์รัชทายาทยังอยู่ในวัยพระเยาว์)  ในเวลาต่อมา..มีการลอบปลงพระชนม์อิวานที่ 5 ในปี 1696 จึงเหลือซาร์ปีเตอร์พระองค์เดียวที่เป็นรัชทายาทและกษัตริย์แห่งรัสเซีย

ในปี ค.ศ.1694 พระเชษฐภคินีโซเฟียได้ก่อรัฐประหารขึ้น  เพื่อแต่งตั้งตัวพระนางเองเป็นกษัตริย์แห่งรัสเซีย  แต่ปรากฎว่า.. ฝ่ายสนับสนุนพระเชษฐภคินีโซเฟียเป็นฝ่ายพ่ายแพ้  ดังนั้น  พระมเหสีนาตาเลียพระมารดาของซาร์ปีเตอร์จึงได้ก้าวขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการแทน ในปี 1689 ซึ่งพระเจ้าปีเตอร์มีพระชนมายุ 17 พรรษาแล้ว


ภาพ  พระเจ้าซาร์ปีเตอร์ที่1 กำลังคิดวางแผนสร้างเมืองหลวงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กที่ชายฝั่งทะเลบอลติก

พระเจ้าซาร์ปีเตอร์ ที่ 1 ทรงขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งรัสเซีย ในวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ.1682 พระองค์ทรงเป็นบุรุษที่มีพระพลานามัยสมบูรณ์  พระวรกายกำยำล่ำสัน  มีพลัง  สูงเกือบเจ็ดฟุต  หนัก 240 ปอนด์  และทรงปฏิบัติพระราชภารกิจได้อย่้างคล่องแคล่วรวดเร็ว..ไม่รู้จักเหน็ดเหนือย (ว่ากันว่า..ในสมัยนั้นน้อยคนนักที่จะก้าวเดินได้ทันพระเจ้าซาร์ปีเตอร์  แม่แต่คนร่างใหญ๋ที่ถวายงาน..ก็ต้องใช้วิธีวิ่งตามพระองค์)  นอกจากนี้  พระเจ้าซาร์ปีเตอร์ยังมีคุณสมบัติพิเศษ คือ  เป็นคนที่อยากรู้ยากเห็น ช่างสังเกตและมีความจำเป็นเลิศ  และเนื้องด้วย..พระมารดา พระนางนาตาเลียทรงเป็นธิดามาจากครอบครัวขุนนางที่มีรสนิยมไปทางประเทศทางยุโรปตะวันตก  พระเจ้าซาร์ปีเตอร์จึงมีความสนใจในวัฒนธรรมยุโรปตะวันตกเรื่อยมา

ในด้านการปกครอง : พระเจ้าปีเตอร์ได้ทรงแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 8 เขตแดน (Guberny) ได้แก่ มอสโก, อินเกอร์แมนแลนด์, เคียฟ, สโมเลนสค์, คาซาน, อาร์เชนเกล, อาซอฟและไซบีเรีย (ต่อมา..ได้มีการแบ่งเขตแดนออกอีกเป็น 45 และเป็น 50 มณฑล ในปี 1719) ซึ่งทุกเขตแดนยกเว้น..มอสโกจะมีข้าหลวงคนสนิทของซาร์ปีเตอร์ประจำอยู่..โดยข้าหลวงเหล่านี้..จะขึ้นตรงต่อพระเจ้าปีเตอร์เท่านั้น  ซึ่งเป็นการปกครองแบบรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง  และลดอำนาจของพวกขุนนางท้องถิ่นลง  โดยข้าหลวงประจำมณฑลจะมีหน้าที่ในการดูแลปกครองเขตมณฑล ในด้านการบริหาร  ตุลาการ และอื่นๆ  ส่วนเรื่องการเก็บภาษีให้ได้ตามเป้า..เป็นหน้าที่ของทหารปกครองเขตแทนในปี 1722  (ทำตามแบบอย่างการปกครองท้องถิ่นของสวีเดน) 

ในส่วนพวกขุนนางเก่าๆ  พระเจ้าซาร์ปีเตอร์ได้ทรงพยายามลดบทบาทของพวกขุนนาง..และทำให้สภาโบย่าร์หมดความสำคัญลง  โดยใช้วิธีจัดตั้งสภาองคมนตรี  เพื่อทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาแทน.. นอกจากนี้..ยังมีกฎบังคับให้พวกขุนนางสามารถมอบมรดกที่ดิน..ให้แก่บุตรชายคนโตเพียงคนเดียว..เท่านั้น  และให้ส่งลูกชายคนรองๆ..เข้ารับราชการทหารและราชการพลเรือน (เพื่อจำกัดการขยายฐานอำนาจของครอบครัวขุนนาง)  และในภายหลัง..พระเจ้าปีเตอร์ได้ประกาศยกเลิกยศขุนนางระดับสูงที่เรียกว่า " โบย่าร์ " และให้ใช้ยศเคานต์ (count) และบารอน (baron) แบบยุโรปตะวันตกแทน  และทรงมีนโยบายกระตุ้นให้พวกขุนนางหันมาลงทุนในด้านการค้า เป็นต้น

ในด้านเศรษฐกิจ : พระเจ้าซาร์ปีเตอร์ที่ 1 ได้ทรงจัดระบบเศรษฐกิจของประเทศใหม่..ตามระบบพาณิชย์นิยมของตะวันตก  และเปิดประเทศตอนรับผู้ชำนาญงานสาขาต่างๆ..ให้เข้ามาตั้งถิ่นฐานและลงทุนในรัสเซีย  เพื่อรับเอาเทคโนโลยีใหม่ๆและขยายตลาดการลงทุนภายในประเทศ  แต่ในอีกด้านหนึ่ง..พระองค์ก็ทรงห้ามนำสินค้าจากต่างประเทศเข้ารัสเซีย  และเร่งส่งเสริมอุตสาหกรรมต่างๆในประเทศ  โดยทรงจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมของรัฐ..ที่ให้เอกชนเป็นหุ้นส่วนและร่วมในการดำเนินการ เช่น โรงทอผ้า, อู่ต่อเรือ, การผลิตอาวุธ, สร้างโรงถลุงเหล็ก, รองเท้า, สูบ่ ฯลฯ เป็นต้น  แต่ในภาคการเกษตร  พระเจ้าซาร์ปีเตอร์ไม่ทรงให้ความสำคัญมากนัก  โดยมีการเกณฑ์และบังคับแรงงานชาวไร่ ชาวนาให้มาทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมแทน (ในช่วงเวลาเพียง 20 ปี กรุงมอสโกมีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เกิดขึ้น 200 แห่ง  และขนาดเล็กมากกว่า 2,500 แห่ง  และทรงละเว้นภาษีแก่โรงงานอุตสาหกรรมเอกชน  แต่ในขณะเดียวกัน..ก็ทรงเพิ่มการเก็บภาษีเข้ารัฐ..ในด้านอื่นๆ เช่น การเก็บภาษีบุคคล (soul tax) ที่ทำรายได้ให้แก่ประเทศสูงถึง 4 เท่ามากกว่ารายรับจากภาษีอื่นๆ ) และในปี ค.ศ.1712 พระเจ้าซาร์ปีเตอร์ที่ 1 ทรงย้ายเมืองหลวงจากกรุงมอสโคไปยังกรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก (St. Petersburg) ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของอ่าวฟินแลนด์  เพื่อให้รัสเซียกลายเป็น " หน้าต่างยุโรป " ในทางการค้าด้วย

ในด้านศาสนา : พระเจ้าซาร์ปีเตอร์ที่ 1 ทรงมีพระประสงค์ที่จะปฏิรูปองค์กรคริสตศาสนานิกายกรีกออร์โธด็อกซ์ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน  และบังคับให้ประชาชนนับถือในนิกายออร์โธด็อกซ์เหมือนพระองค์ นอกจากนี้..ยังทรงการเข้าควบคุมศาสนจักรอย่างเข้มงวด  และทำให้ศาสนจักรอยู่ใต้อำนาจของรัฐ..ระหว่างปี ค.ศ.1699-1700 และทรงยกเลิกอภิสิทธิ์ของพวกพระในการยกเว้นภาษี  และทรงประกาศยุบตำแหน่งพระสังฆราชอย่างเป็นทางการ ในปี 1712  และจัดตั้งสภาศาสนา (Holy Synod) เพื่อทำหน้าที่บริหารงานศาสนาแทนพระสังฆราช  ซึ่งสภาศาสนาจะอยู่ใต้การควบคุมของเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูง (Chief Procuration) อีกที่หนึ่ง เป็นต้น

ภาพ อนุสาวรีย์ของพระเจ้าซาร์ปีเตอร์ที่ 1 ในเมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ปี 1782

ในด้านสังคม : ในชนบท ชาวไร่ ชาวนาซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ  รวมทั้งทาส..ต่างมีสถานภาพไม่แตกต่างกันนัก  โดยถูกแบ่งแยกออกเป็ย 2 กลุ่มด้วยกัน คือ ทาสติดที่ดิน (serf) และชาวนารัฐ (state peasants) ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มต่างมีหน้าที่ในการผลิตพืชผลทางการเกษตรป้อนให้กับเมืองหลวงและอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐอย่างเคร่งครัด  ส่วนประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเมือง  จะถูกแยกเป็นพวกพ่อค้า (trader) ช่างฝีมือ (artisan) ซึ่งทั้งสองกลุ่มนี้..ต้องเข้าร่วมในสังกัดองค์กรของรัฐ  โดยรัฐจะให้สิทธิในการปกครองดูแลกันเองในรูปแบบของการจัดการบริหารแบบเทศาภิบาล (municipal administration) โดยมีองค์กรบริหารของเมือง (town administration) คอยดูแลควบคุมอีกทีหนึ่ง เป็นต้น

ในด้านวัฒนธรรม  พระเจ้าซาร์ปีเตอร์ที่ 1 ทรงประกาศให้ประชาชนและพวกขุนนางโกนหนวดเครา  เพราะทรงถือหนวดเคราเป็น " สัญลักษณ์ของโลกเก่า " ที่ล้าหลัง (ในปี 1705 พระองค์ทรงประกาศให้มีการเก็บ "ภาษีหนวดเครา " สำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนไว้ตามธรรมเนียมนิยมแบบเก่า)  และทรงให้ข้าราชการขุนนางแต่งเครื่องแบบเลียนแบบขุนนางชาวยุโรปตะวันตกด้วย  และในปี 1699 พระเจ้าซาร์ปีเตอร์ได้ทรงบคิดประดิษฐธงชาติตามแบบอย่างชาติตะวันตก  ที่ประกอบด้วยแถบสี ขาว น้ำเงิน แดงในแบบแนวนอนเพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ของประเทศ (ที่ใช้สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน) และในปี 1702 ได้ทรงยกเลิกธรรมเนียมเทเรมเก่า  และอนุญาตให้ทั้งชายและหญิงทุกวัยและทุกชนขั้นทั่วจักรวรรดิได้มีโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน  และทรงให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษาชาวดัชท์ทำการปรับปรุงแก้ไขตัวอักษรในภาษาสลาฟหรือรัสเซียให้มีลักษณะใกล้เคียงกับตัวอักษรละตินและกรีก  เพื่อความสะดวกในการเขียนและอ่านได้ง่ายยิ่งขึ้น  และส่งเสริมให้มีการแปลหนังสือและตำราต่างประเทศต่างๆ ทั้งทางคณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์และอื่นๆด้วย

ในรัชสมัยของพระเจ้าซาร์ปีเตอร์ที่ 1 รัสเซียได้ถูกปฏิรูปให้เ้ป็นจักรวรรดิที่ทันสมัย  จนเป็นประเทศอุตสาหกรรมมีความเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก..และกลายเป็นชาติมหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่..ทางตะวันออกเฉียงเหนือของยุโรป  โดยพระองค์ทรงครองราชย์นานถึง 42 ปี  ซึ่งทำให้พระองค์ได้รับการยกย่องในฐานะกษัตริย์นักปกครองและนักปฏิรูปที่ยิ่งใหญ่ด้วย แต่กระนั้น..ก็คนส่วนหนึ่งวิจารณ์ว่า..พระองค์ทรงละทิ้งเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมแบบรัสเซียด้วย   นอกจากนี้..พระองค์ยังได้ชื่อว่า..เป็นกษัตริย์เผด็จการที่ทรงใช้พระราชอำนาจอย่างโหดเหี้ยมด้วยเช่นกัน  พระเจ้าซาร์ปีเตอร์ที่ 1 เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1725 ด้วยอาการติดเชื่อและเป็นแผลเรื้อรังที่กระเพาะปัสสวะ  ในพระชันษา 52 ปี


EmoticonEmoticon

ติดตามผ่าน FACEBOOK

Video Of Week : เส้นทางนักบุกเบิก สตีฟ จ๊อบส์

Live Currency Cross Rates


The Forex Quotes are powered by Investing.com.