คุณรู้ไหมว่า...ใครเป็นใคร..? บนโลกใบนี้

คุณรู้ไหมว่า...ใครเป็นใคร..? บนโลกใบนี้

Mencius : เม่งจื้อ (372 - 289 ก่อน ค.ศ.)


Mencius : เม่งจื้อ  นักปราชญ์และนักศีลธรรมชาวจีน ในสมัยราชวงศ์ฮั่น (เม่งจื้อเกิดประมาณ 1 ศตวรรษหลังจากที่ขงจือเสียชีวิต)  แต่เม่งจือก็เป็นผู้ที่เดินตามแนวทางของขงจื้อ  โดยเชื่อใน...พื้นฐานของมนุษย์ว่ามีธรรมชาติที่ดีอยู่  แต่ต้องได้รับการขัดเกลา  ซึ่งโดยส่วนใหญ่  เม่งจือจะเป็นผู้คอยตอบโต้ข้อโต้แย้งทางปรัชญากับคู่แข่งคนสำคัญในลัทธิต่างๆ  เช่น  ม่อจื๊อ (Mo-tzu) ผู้สอนในเรื่องความรักสากล (Universal Love) ซึ่งเม่งจือถือว่าคำสอนดังกล่าว...ทำลายความสัมพันธ์ในครอบครัว  กับเอี้ยงจื้อ (Yang Tzu)  ผู้สอนหลักการรักตนเอง  เม่งจื้อก็เห็นว่า...เป็นคำสอนที่ขัดกับหลักการอุทิศตนเพื่่อคนอื่น  เป็นต้น  ส่วนในเรื่องการปกครอง  เม่งจื้อเน้นสอนในเรื่องสวัสดิการของประชาชน  เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด  หากผู้ปกครองขาดคุณธรรมและศีลธรรม  สิทธิในการปกครองของผู้มีอำนาจก็สามารถถูกถอดถอนได้โดยประชาชน ฯลฯ

คำสอนของเม่งจื้อได้ถูกรวบรวมไว้ในหนังสือ Book of Mengzi  ซึ่งเป็นตำราคลาสสิค 1 ใน 4 ของจีน

วาทะกรรม : " เส้นทางของหน้าที่ของคนเราวางอยู่ใกล้ๆ  แต่คนชอบแสวงหาในที่ๆห่างไกล "

Aristotle : อริสโตเติล (384 - 322 ก่อน ค.ศ.)


ภาพอริสโตเติล  วาดโดย  Francesco Hayez (1791–1882)

Aristotle : อริสโตเติล  นักปราชญ์ชาวกรีก  บิดาแห่งวิชาการเมือง  และศิษย์เอกของเพลโต  ผู้ก่อตั้งสถาบัน  Lyceum  และเป็นครูของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช  แต่อริสโตเติลก็มีแนวคิดที่แตกต่างจาก Mysticism ของเพลโต  แต่เขาหันมาเน้นที่การจำแนกและความรู้ที่ได้จากประสบการณ์  จากประสาทสัมผัสต่างๆ  อริสโตเติลเป็นผู้บุกเบิกงานทางวิชากการหลายแขนง  เช่น  วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ,  อภิปรัชญา,  ตรรกวิทยา,  จริยศาสตร์,  การเมืองและการวิจารณ์วรรณกรรม  เป้นผู้สร้างคำแนวคิดรวบยอดต่างๆ  ซึ่งเป้นพื้นฐานในการพัฒนาอารยธรรมตะวันตกในทางปรัชญาการเมือง  อริสโดตเติลเน้นความสำคัญของเหตุผล  ซึ่งทำให้เขาเป็นนักปรัชญาการเมืองคนแรกๆ  ที่ได้พยายามอย่างเป็นระบบที่จะจำแนกรูปแบบต่างๆ...ของรัฐบาล  และแนวคิเกี่ยวกับบทบาทของกฎหมายในรัฐ  จุดหมายของกิจกรรมทางการเมือง  ชนชั้นทางสังคม  กล่าวดดยทั่วไปแล้ว  อริสโตเติลเป็นคนริเริ่มเสนอแนวคิดเกี่ยวกับรัฐศาสตร์หรือการเมือง    

วาทกรรม : " คนที่เอาชนะความต้องการของตัวเองได้  เป็นคนที่กล้าหาญกว่าคนที่เอาชนะข้าศึกได้ "

Plato : เพลโต (428 - 348 ก่อน ค.ศ.)


Plato : เพลโต นักปรัชญากรีก  ลูกศิษย์คนสำคัญของโสกราตีส  และเป็นครูของอริสโตเติล  ผู้ก่อตั้งสถาบันการศึกษา Academy  และเขียนบทสนทนาทางปรัชญามากว่า 20 เล่ม  ครอบคลุมทั้งเรื่องอภิปรัชญา  จริยศาสตร์และการเมือง  โดยเฉพาะหนังสือเรื่อง อุตมรัฐ (The Republic)  ซึ่งมีอิทธิพลต่อทางแนวคิดทางการเมืองต่อมาอีกหลายศตวรรษ

เพลโตเป็นนักปรัชญากลุ่มจิตนิยม (Idealism)  ตัวอย่างเช่น  เพลโตได้แบ่งโลกออกเป็น 2 ประเภท คือ

           1) โลกของประสาทสัมผัส (The Sensory World)

           2)  โลกของแบบหรือโลกที่เหนือประสาทสัมผัส (The World of Form or Transcendent World)

เพลโตได้อธิบายว่าโลกของแบบเท่านั้นที่เป็นจริง  เป็นสิ่งที่เที่ยงแท้  และเป็นต้นแบบของโลกแห่งประสาทสัมผัส  ส่วนโลกแห่งประสาทสัมผัสนั้นไม่แท้จริง  ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ  ไม่คงทนถาวร

วาทกรรม : " มีความดีเพียงอย่างเดียว  คือความรู้ของมนุษย์ และความเลวเพียงอย่างเดียว  คือความโง่เขลาของมนุษย์"


เพลโต (ซ้าย) และอริสโตเติล (ขวา) ภาพวาดบนปูนเปียก โดยราฟาเอล (Raffaello Sanzio da Urbino)

Aristophanes : อริสโตฟาเนส (450 - 385 ก่อน ค.ศ.)


Aristophanes : อริสโตฟาเนส  กวีและนักเขียนบทละครคนสำคัญของชาวกรีก  ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น " บิดาแห่งเรื่องตลกขบขัน " หรือแนวสุขนาฎกรรม  ซึ่งเขาชอบเขียนโดยใช้ภาษาท้องถิ่นเก่า (ancient commentators as a model of the Attic dialect) เป็นหลัก และมักสอดแทรกแนวคิดทางการเมือง การเสียดสี ล้อเลียนนักการเมืองและชนชั้นสูงในเอเธนส์อยู่บ่อยๆครั้ง  รวมทั้งวิจารณ์ล้อเลียนนักปรัชญาและนักเขียนร่วมสมัยด้วย  ผลงานที่มีชื่อเสียง : The Acharnians, 425 BCE, The Knights 424 BCE ,The Clouds 423 BCE ,The Wasps 422 BCE, Peace 421 BCE ,The Birds 414 BCE ,Lysistrata 411 BCE, Thesmophoriazusae 411 BCE ,The Frogs 405 BC, Ecclesiazusae c. 392 BCE, Wealth II 388 BCE  เป็นต้น

วาทะกรรม : " เราอาจจะเรียนรู้ภูมิปัญญาได้  แม้จากศัตรู "

Hippocrates : ฮิปโปคราติส (460 - 375 ก่อน ค.ศ.)


Hippocrates : ฮิปโปคราติส  นักวิทยาศาสตร์ชาวกรีก  ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ให้กำเนิดวิชาแพทย์  ซึ่งเขาเป็นคนแรกๆที่หาวิธีอธิบายให้คนทั่วไปเข้าใจในเรื่องการเจ็บป่วยของร่างกายว่า... เป็นสาเหตุมาจากโรคหรือจากความบกพร่องของร่างกาย  ไม่ใช่เป็นเรื่องของเทพเจ้าดลบันดาลหรือลงโทษทัณฑ์  ดังนั้น  การรักษาความเจ็บป่วยจึงจำเป็นต้องหาสาเหตุของโรค  เพื่อที่จะหาวิธีรักษาได้อย่างถูกต้อง  ฮิปโปคราติสยังได้เขียนตำราการแพทย์แผนโบราณไว้ประมาณ 60 - 70 เล่ม  ซึ่งเป็นพื้นฐานของวิชาการแพทย์สืบต่อมา  และคำปฎิญาณของฮิปโปคราติส (Hippocrates Oath) ซึ่งเน้นถึงจรรยาแพทย์ที่ดี  ก็ยังคงใช้เป็นคำปฎิญาณตนของแพทย์  ซึ่งเรียนจบจากมหาวิทยาลัยมาจนถึงปัจจุบันนี้

วาทกรรม : " ชีวิตนั้นสั้นนัก  แต่ศิลปะวิทยาการยืนยาวกว่าที่เราจะเรียนรู้ได้หมด "


ภาพ  ตำราวิชาแพทย์แผนโบราณที่ฮิปโปคราติสเขียนทิ้งไว้


ภาพฮิปโปคราติสกำลังตรวจโรคให้กับเด็กคนหนึ่ง

Democritus : เดโมครีตุส (460 - 361 ก่อน ค.ศ.)


Democritus : เดโมครีตุส  นักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์ชาวกรีก  ผู้ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งทฤษฎีอะตอม (atomic theory)  เขากล่าวว่า...สสารเป็นหน่วยย่อยที่เล็กที่สุด ก็คือ " ปรมาณู " และไม่สามารถแบ่งแยกได้อีก  เดโมครีตุสยังได้ชื่อว่าเป็นนักปรัชญากลุ่มสสารนิยม  คนแรกๆของโลกนี้  ซึ่งทฤษฎีเรื่องอะตอมนี้  เพิ่งมาได้รับการพิสูจน์อย่างเป็นวิทยาศาสตร์จากวิทยาศาสตร์สมัยใหม่  เมื่อไม่นานนี้เอง...ว่าเป็นความจริง คือ ในคริสต์ศตวรรษที่ 20

ในทางฟิสิคส์ถือว่า  อะตอมยังมิใช่หน่วยย่อยที่สุด  แต่ยังมีอนุภาคที่ย่อยกว่านั้นอีก เช่น อีเล็คตรอน,  โปรตรอน  หรืออื่นๆ  และท้ายที่สุดมันก็จะเป็นสิ่งเชิงเดียว  ที่ไม่สามารถแยกออกอีกได้

หมายเหตุ :: กลุ่มสสารนิยม  คือ  กลุ่มคนที่ถือว่า  ปรากฎการณ์ของสรสารเท่านั้นที่เป็นจริง  และเป็นความจริงประเภทเดียว

วาทกรรม : " ที่หวานก็เป็นหวานโดยสมมติ  ขมก็เป็นขมโดยสมมติ  ร้อนก็เป็นร้อนโดยสมมติ  เย็นก็เป็นเย็นโดยสมมติ  สีก็เป็นสีโดยสมมติ  แต่ความเป็นจริง  อะตอมกับช่องว่างเท่านั้นที่มีอยู่  วัตถุแห่งผัสสะทั้งหลายที่เรารู้จักนั้น  เราไปสมมติให้เป็นจริง  และเป็นความเคยชินที่จะถือเช่นนั้น  แต่ความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่  อะตอมและช่องว่างเท่านั้นที่เป็นจริง "

Socrates โสคราตีส ( 469 - 399 ก่อน ค.ศ.)


Socrates :โสคราตีส  นักปรัชญากรีก  ชาวเมืองเอเธนส์  ผู้ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น...ผู้วางรากฐานของปรัชญาตะวันตก  แม้ว่าเขาจะไม่ได้เขียนอะไรไว้เลย  แต่ก็เป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียง  เพราะ Plato : เพลโตลูกศิษย์ของเขาเป็นผู้เขียนบทสนทนาตอบโต้ (Dialogue) ของโสคราตีสไว้  โดยโสคราตีสมีความเชื่อว่า... ความรู้จะเกิดขึ้นได้ก็จาก  1) การสนทนาตอบโต้กัน  2) การตั้งคำถามอย่างเป็นระบบ และ  3) การละทิ้งการยอมรับในความรู้ที่มีอยู่อย่างไม่วิพากษ์วิจารณ์  หรือที่เรียกว่าทฤษฏี  เสวนาวิธี (Elenchus) ด้วยเหตุนี้  เขาจึงมีทัศนะที่คัดค้านกับปรัชญาที่ชอบตั้งคำถาม ( Scepticism ) ของพวกโซฟิสต์  และโสคราตีสยังมีแนวคิดที่ต่อต้านเผด็จการและท้าทายต่ออำนาจรัฐอีกด้วย  จึงเป็นเหตุให้  เขาถูกรัฐบาลเอเธนส์จับกุม  และถูกกล่าวหาว่าเป็นพิษภัยต่อสังคม กระด้างกระเดื่อง  และทำให้คนหนุ่มสาวชาวเอเธนส์เสียคน  ศาลจึงลงโทษให้โสคราตีสดื่มยาพิษตาย  

วาทะกรรม :: " ข้าพเจ้ารู้ว่า  ข้าพเจ้าไม่รู้อะไรเลย "
                            " ชีวิตที่ไม่มีการตรวจสอบ   ไม่มีคุณค่าพอที่จะมีชีวิตอยู่ "


การตายของโสกราตีส  วาดโดยจาค์หลุยส์ ดาวิด

ติดตามผ่าน FACEBOOK

Video Of Week : เส้นทางนักบุกเบิก สตีฟ จ๊อบส์

Live Currency Cross Rates


The Forex Quotes are powered by Investing.com.

ไขปริศนาคดีฆาตกรต่อเนื่องโดย นักฆ่าโซดิแอค

โพสต์แนะนำ

Anton Van Leeuwenhoeh : ลีเวนฮุ๊ค (ค.ศ.1632-1723)

Anton Van Leeuwenhoeh : ลีเวนฮุ๊ค  นักชีววิทยาชาวดัชท์  ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็น " บิดาแห่งจุลชีววิทยาการ " ( the Father of M...

บทความที่ได้รับความนิยม

Kategori

สนับสนุนเว็บไซด์

หนังคาวบอยดี.. ดูฟรี ออนไลน์

Kategori