งานเขียนสำคัญ ในหนังสือเรื่อง Summa Contra (ค.ศ.1259-1264) ของเขาเสนอว่า เหตุผลและศรัทธาเป็นสิ่งที่ไปด้วยกันได้ และหนังสือ Summa Theologica แปลว่า สาระโดยสังเขปของเทววิทยา(ค.ศ.1226-1273) ซึ่งอไควนาสเขียนไม่จบเป็นเรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติของพระเจ้า, ศีลธรรมและงานของพระเยซูคริสต์ โดยงานเขียนของเขาได้รับอิทธิพลแนวคิดทางวิทยาศาสตร์จากอริสโตเติล ซึ่งมีอิทธิพลต่อโลกทัศน์ของนักศึกษาและหลายๆมหาวิทยาลัยในตะวันตก จนกระทั้งถึงกลางศตวรรษที่ 17 ในปี ค.ศ.1879 พระสันตะปาปา Leo ที่ 13 ได้ตรวจทานและพิมพ์งานของอไควนาสใหม่ และใช้เป็นพื้นฐานของเทววิทยาแบบคาทอลิก และในภายหลัง...พระสันตะปาปาเบเนอดิคท์ ที่ 15 ได้ประกาศว่า " คำสอนของอไควนาสเป็นคำสอนของคริสตจักรเอง "
ภาพ ชัยชนะของ โทมัส อไควนาส วาดโดย Bonaiuto
ในแง่ปรัชญาทางการเมือง อไควนาสเห็นว่ารัฐบาลควรขึ้นอยู่กับกฎหมายและถูกชี้นำโดยศีลธรรม ดังนั้น การปกครองจะต้องมีหลักการที่สอดคล้องกับกฎธรรมชาติ เช่น การที่มนุษย์ต้องพึ่งพาช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไม่ทำร้ายกัน ถ้าหากการปกครองขัดแย้งกับกฎธรรมชาติ ประชาชนก็มีสิทธิที่จะปฏิเสธผู้ปกครองได้ เป็นต้น
วาทกรรม : " กฎที่มนุษย์สร้างขึ้น จะเป็นกฎหมายก็ต่อเมื่อมันสอดคล้องกับเหุตผลที่ถูกต้อง และด้วยวิธีนี้ ก็เป็นที่เห็นได้ชัดว่า มันหลั่งไหลมาจากกฎธรรมชาติที่ถูกต้องและเป็นนิรันดร์ "
EmoticonEmoticon