คุณรู้ไหมว่า...ใครเป็นใคร..? บนโลกใบนี้

คุณรู้ไหมว่า...ใครเป็นใคร..? บนโลกใบนี้

Kepler, Johann : โยฮานน์ เคพเลอร์ (ค.ศ.1571-1630)


Kepler, Johann : โยฮานน์ เคพเลอร์  นักคนิตศาสตร์และดาราศาสตร์ชาวเยอรมัน  ในวัยเด็กอายุ 4 ขวบเขาป่วยเป็นกาฬโรค(Plagued)  จึงเป็นเหตุให้เคพเลอร์สายตาไม่ค่อยดีและแขนข้างหนึ่งพิการ  แต่กระนั้น...เขาก็จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยทูบิงเกน (Tubingen) ในปี 1593  และได้รับตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยกราช (Graz) เป็นเวลา 7 ปี  ในประเทศออสเตรีย  และในปี ค.ศ.1600 เคพเลอร์ได้รับเชิญจากจักรพรรดิ์รูดอล์ฟที่ 2 ให้ไปร่วมทำงานค้นคว้าทางดาราศาสตร์ที่หอดูดาว เบนาเทค (Benatek) กรุงปร๊าค  และรับตำแหน่งหัวหน้าโครงการฯ...สืบต่อจาก ทิโค บารห์ (Tycho Brahe) ในที่สุด

ผลงานที่สำคัญ  เคพเลอร์จัดทำและพิมพ์ตารางทางดาราศาสตร์ Rudolphine table ที่มีความถูกต้องแม่นยำ  เสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ.1627 โดยใช้เวลานานถึง 27 ปี  ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อนักเดินเรือและนักสำรวจในศตวรรษต่อมาอย่างมาก  และเคพเลอร์ยังเขียนหนังสือ เช่น " การโคจรของดาวเคราะห์เป็นไปในรูปวงรีไม่ใช่วงกลม " (The orbits of planets are ellipses, not cricles) ซึ่งปรากฎอยู่ในหนังสือเล่มใหม่ของเขาที่ชื่อ " Astronomia Nova " ที่พิมพ์ในปี ค.ศ.1609  และเขายังรวบรวมและแปลงานของนักดารารศาสตร์กรีก เช่น ปโตเลมี, อาร์คิมิดิล, อพอลโลนิอัส ไว้หลายเล่มอีกด้วย (คนส่วนใหญ่ในสมัยนั้นยังมีความเชื่อว่า...ดวงอาทิตย์โคจรลอบโลก)

ภาพ  โมเดลจำลองระบบของพลังงานแสงอาทิตย์ ในปี 1596

แต่สิ่งที่ทำให้เคพเลอร์มีชื่อเสียงที่โด่งดังในวงการดาราศาสตร์ของโลกจนถึงปัจจุปัน  คือ กฎ 3 ข้อของเคพเลอร์ที่ว่าด้วยการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ ( Kepler's three laws of planetary motion) หรือที่เรียกกันสั่นๆว่า " กฎของเคพเลอร์ "  ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้....

1) กฎของการโคจรเป็นวงรี (Law of elliptic orbits) กล่าวว่า " ดาวเคราะห์ทุกดวงเคลื่อนที่เป็นรูปวงรีรอบดวงอาทิตย์ "

2) กฎของเนื้อที่ (Law of areas) กล่าวว่า " ถ้าลากเส้นตรงจากดาวเคราะห์มายังดวงอาทิตย์  เส้นนี้เมื่อเลื่อนไปจะมีเนื้อที่เท่ากัน  ถ้าเวลาที่เลื่อนไปนั้นเท่ากัน..."

3) กฎ (Harmonic Law) กล่าวว่า " มีความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ระหว่างเวลาที่ดาวเคราะห์หมุนรอบดวงอาทิตย์  กับระยะทางโดยเฉลี่ยของดาวดวงนั้นจากดวงอาทิตย์  คือกำลังสองของเวลาที่หมุนไปจะเป็นสัดส่วนกันกับกำลังสามของระทางโดยเฉลี่ย..."

ซึ่งงานค้นคว้าทางดาราศาสตร์ของเคพเลอร์ได้เป็นรากฐาน...และแนวทางให้กับการค้นคว้าของนิโคลาส  โคเปอร์นิคัส  และปรากฎให้เห็นอย่างชัดเจนในสมัยของไอแซค  นิวตันในเวลาต่อมา

Mahmed II : เมห์เม็ดที่ 2 (ค.ศ.1432-1481)


Mahmed II : เมห์เม็ดที่ 2 สุลต่านแห่งจักรวรรดิออตโตมัน หรือที่รู้จักกันในนามว่า " เมห์เม็ดผู้พิชิต " ซึ่งทำสงครามยึดคืนคอนแสตนติโนเบิลกลับมาจากพวกคริสเตียนมาได้ในปี ค.ศ.1454  และพัฒนาให้คอนแสตนติโนเบิลกลับมาเจริญรุ่งเรืองอีกครั้ง  ต่อมาเมห์เม็ดที่ 2 ยังพิชิตดินแดนส่วนใหญ่ในแหลมบอลข่าน (ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป)ได้สำเร็จอีกด้วย

ภาพ สุลตานเมห์เม็ดที่ 2 กีฑาทัพเข้าสู้คอนแสตนติโนเบิล

ในด้านอื่นๆ เมห์เม็ดที่ 2 ได้เขียนประมวลกฎหมายอาญาและกฎหมายแพ่งที่ใช้สืบต่อมาอีกหลายทศวรรษ  อีกทั้ง  พระองค์ยังรวบรวมงานเขียนทางการเมืองและบทกวีภาษากรีกและละตินไว้มากมายด้วย  และได้ทรงก่อตั้งมหาวิทยาลัย 8 แห่ง จนทำให้คอนแสตนติโนเบิลกลายเป็นศูนย์กลางทางการศึกษ่าของโลกมุสลิม และอื่นๆ

ในปี ค.ศ. 1481 เมื่อเมห์เม็ดเดินทัพมาถึงอิสตันบูล พระองค์ก็ทรงประชวรอย่างกระทันหัน (ถูกรอบวางยาพิษ) และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 1481 ตอนอายุสี่สิบเก้าและถูกฝังใว้ในสุสานภายในมัสยิด Fatih Mosque Complex

Medici Family : ตระกูลเมดิซิ (ประมาณ ค.ศ.1230-1743)

ภาพ คอสซิโม จิโอวานี เมดิซิ

Medici Family : ตระกูลเมดิซิ  ผู้ปกครองนครรัฐฟลอเรนซ์ที่มีอำนาจมากทีสุดในยุโรป ในศตวรรษที่ 14-17  เริ่มต้นจากเป็นกสิกรขายขนแกะในทางตอนเหนือ  และสร้างตัวจนเป็นนายธนาคารผู้มั่งคั่งร่ำรวย  และได้ก่อตั้งธนาคารเมดิซิ (The Medici Bank) ที่ใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรป  และตระกูลเมดิซิยังได้ขยายอิทธิพลและอำนาจทางการเมืองของพวกเขาจากอิตาลี...ไปจนทั่วยุโรปอีกด้วย

ผู้นำของตระกูลที่มีชื่อเสียง คือ Còsimo di Giovanni degli Mèdici  ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ปกครองที่สร้างความมั่งคั่งให้กับนครรัฐฟลอเรนซ์  ช่วงปี (1434-1464) โดยตระกูลเมดิซิมีสมาชิกในตระกูลได้เป็นพระสันตะปาปาถึง 4 พระองค์  และได้แต่งงานกับสมาชิกราชวงศ์ต่างของยุโรปมากมาย  โดยเฉพาะกับราชวงศ์ฝรั่งเศส

ตระกูลเมดิซิยังเป็นผู้อุปถัมภ์ศิลปินในยุคเรเนซองส์ (Renaissance) หลายๆคน  เช่น มิเกลลันเจโล (Michelangelo) ลีโอนาโด ดาวินซี (Leonardo da Vinci ) เป็นต้น  ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า...ตระกูลเมดิซิเป็นฟันเฟืองใหญ่ที่ช่วยผลักดันให้ในยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการเจริญรุ่งเรืองจนถึงขีดสุด


ภาพ ตราประจำตระกูลเมดิซิ

ในทางสถาปัตยกรรมตระกูลเมดีชีมีอิทธิพลต่อการก่อสร้างสถาปัตยกรรมหลายๆแห่งในฟลอเรนซ์ เช่นพิพิธภัณฑ์ศิลปะอุฟฟิซิ (Uffizi Gallery), สวนโบโบลิ (Boboli Gardens), ป้อมเบลเวเดเร (Belvedere) และราชวังของตระกลูเมดีชีเอง 

และตระกูลเมดีชียังมีชื่อเสียง...ในการเป็นผู้อุปถัมภ์นักดาราศาสตร์คนสำคัญ คือ กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei) ซึ่งเป็นครูให้กับลูกหลานในตระกูลเมดีชีหลายๆคน ซึ่งต่อมา...เมื่อกาลิเลโอถูกกล่าวหาโดยศาลศาสนาโรมัน (Roman Inquisition) ว่ากาลิเลโอเผยแผ่คำสอนนอกรีต แต่ตระกูลเมดีชีก็ยังช่วยปกป้องกาลิเลโออยู่หลายปี...จนกาลิเลโอถึงกับ...ตั้งชื่อพระจันทร์สี่ดวงของดาวพฤหัสบดีตามชื่อของลูกหลานตระกูลเมดีชีด้วย


Joan of Are (Jeanne D' Arc) : โจนออฟอาร์ก (ประมาณ 1421-1431)


Joan of Are (Jeanne D' Arc) : โจนออฟอาร์ก  วีรสตรีชาวฝรั่งเศส  ผู้นำกองทัพฝรั่งเศสตอบโต้กับอังกฤษจนได้รับชัยชนะในสงครามร้อยปี (Hundred Years' War 1337-1453) โจนหรือที่รู้จักกันในนามว่า " สาวจากลอร์แรน " (The Maid of Orléans) เธอเป็นเด็กสาวชาวนา  ผู้อ้างว่าได้ยินเสียงจากพระเจ้าให้เธอนำทัพฝรั่งเศสต่อสู้กับอังกฤษที่กำลังปิดล้อมเมืองออร์เลอ๊องอยู่และสามารถเข้าตีทหารอังกฤษจนแตกพ่ายไปในปี ค.ศ.1429 (ยังไม่สามารถยึดคืนปารีสได้)  แต่กระนั้น...ก็เปิดโอกาสให้มงกุฏราชกุมารแห่งฝรั่งเศสได้ทำพิธีราชภิเษกเป็นพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7 กษัตริย์แห่งฝรั่งเศส (จากนั้นชาร์ลส์ได้เลือกวีถีทางทางการทูตมากกว่าการทำสงคราม  จึงวางแผนการผลักไสโจนให้ถูกพวกเบอรกันดีจับตัวได้ในที่สุด)

ในปี่ ค.ศ. 1430 โจนออฟอาร์กถูกพวกเบอรกันดี (Burgundian) จับตัวโจนไปขึ้นศาลศาสนาที่รูอองซึ่งควบคุมด้วยบาทหลวงฝรั่งเศลที่ฝักใฝ่ฝ่ายอังกฤษ  และเป็นเหตุให้โจนถูกตัดสินว่าเป็นพวกนอกรีตเป็นแม่มดและถูกตัดสินให้เผาทั้งเป็น ในปี ค.ศ.1431 ด้วยวัยเพียง 19 ปี

ภาพ โจนออฟอาร์กำลังถูกเผาทั้งเป็นในวัยเพียง 19 ปี

ยี่สิบสี่ปีต่อมาพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7 ไม่ทรงสามารถที่จะแสดงพระองค์ว่าทรงได้รับอำนาจมาจากผู้ที่ถูกประณามว่าเป็นผู้นอกรีตสมเด็จพระสันตะปาปาคาลิกซ์ตุสที่ 3 จึงทรงมีคำสั่งให้มีตั้งศาลใหม่ในการพิจารณาคดีของโจนออฟอาร์จากการตัดสินของศาลแรก ซึ่งครั้งนี้ ศาลได้สรุปว่าโจนเป็นผู้บริสุทธิ์ และทางวาติกันได้ประกาศให้โจนเป็น" มรณสักขี "(คริสตศาสนิกชนที่ถูกทรมานจนตายเพราะความเชื่อ) และในที่สุด  โจนออฟอาร์ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นนักบุญในปี ค.ศ.1920  ซึ่งเป็นหนึ่งในสามนักบุญองค์อุปถัมภ์แห่งประเทศฝรั่งเศส



Johannes Gutenberg : โยฮันน์ กูเต็นเบอร์ก (1400-1468)


Johannes Gutenberg : โยฮันน์ กูเต็นเบอร์ก ช่างพิมพ์ชาวเยอรมัน  ผู้คิดค้นเครื่องพิมพ์และเทคนิคการพิมพ์สมัยใหม่  ซึ่งมีบทบาทอย่างมากในยุคแห่งการฟืนฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) โดยกูเต็นเบอร์กได้ใช้ตัวเรียงโลหะที่สามารถเคลื่อนย้ายและจัดเรียงใหม่ได้  ทำให้สามารถพิมพ์หนังสือจำนวนมากได้อย่างอันรวดเร็ว  เมื่อเทียบกับการพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์ไม้แบบเก่า  ซึ่งต่อมาเทคโนโลยีการพิมพ์แบบกูเต็นเบอร์กนี้  ได้แพร่หลายอย่างรวดเร็วไปทั่วยุโรปและทั่วโลก


ภาพ ตัวเรียงพิมพ์โลหะที่สามารถจัดเรียงใหม่ได้ของกูเต็นเบอร์ก

ผลงานที่สำคัญของเขาคือ  การพิมพ์พระคัมภีร์ไบเบิล (Gutenberg Bible) หรือที่เรียกกันว่า " 42-line Bible " ซึ่งถือว่าเป็นต้นฉบับพระคัมภีร์ไบเบิลเล่มแรกๆที่สวยงามที่สุด (ซึ่งมีมูลค่ามากในตลาดนักสะสมของเก่าในปัจจุบัน) และยังเป็นเหตุให้พระคัมภีร์ไบเบิลแพร่กระจายไปทุกหนแห่งทั่วโลก

Gutenberg เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1468 และถูกฝังอยู่ในโบสถ์ฟรานซิสที่ไมนซ์ (Franciscan church at Mainz) ซึ่งต่อมาสุสานได้ถูกทำลายและหลุมฝังศพของกูเต็นเบอร์กได้สูญหายไปจนถึงปัจจุบันนี้

Henry The Navigator : พระเจ้าเฮนรี่ นักสำรวจ (ประมาณ ค.ศ.1394-1460)


Henry The Navigator : พระเจ้าเฮนรี่ เจ้าชายแห่งโปรตุเกส  ผู้เป็นนักสำรวจนักเดินเรืออีกคนหนึ่ง  ซึ่งมีชื่อเสียงในแถบแอฟริกาเหนือ  โดยเมื่อพระเจ้าเฮนรี่อายุ 21 ปี  พระองค์ทรงสนใจในเรื่องการค้าทาส  ที่กลุ่มโจรสลัดบาร์บารี่ (Barbary Pirates) ได้จับผู้คนจำนวนมากส่งไปขายยังตลาดทาสแอฟริกา (African slave market ) ซึ่งถ้า...มีเรือค้าทาสมาจากแอฟริกาได้  ก็...แสดงว่าต้องมีเส้นทางเดินเรือได้ด้วย  เช่นกัน (ในยุคสมัยนั้น  ผู้คนมีความเชื่อว่า  หากเดินเรือเลยเขตมอรอคโคไป...ก็จะพบกับน้ำที่เดือดด้วยแสงอาทิตย์  และถ้าเดินทางไปทางทิศตะวันตกจะพบหนองน้ำใหญ่) แต่พระเจ้าเฮนรี่ไม่ทรงเชื่อเช่นนั้น  พระองค์จึงเริ่มค้นหาเส้นทางเดินเรือจากโปรตุเกสไปแอฟริกา

พระเจ้าเฮนเริ่มเดินเรือครั้งแรก 22 มีนาคม 1455  โดยกองเรือสำรวจได้รับเงินสนับสนุนจากการเก็บภาษี 20 % จากผลกำไรที่ทำได้จากการสำรวจและการค้าขาย  โดยเริ่ม...สำรวจชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกของทวีปแอฟริกา และไปเยือนหมู่เกาะมาเดราและหมู่เกาะคานารี ในการเดินทางครั้งที่สองในปี 1456 พระเจ้าเฮนรี่ได้กลายเป็นชาวยุโรปคนแรกที่ไป...จนถึงหมู่เกาะเคปเวิร์ด และในปี 1462 โปรตุเกสได้สำรวจชายฝั่งแอฟริกาไปจนถึงประเทศเซียร์ราลีโอนในปัจจุบัน และเดินเรือไปถึงทางตอนใต้ของทวีป  ที่บัดนี้...เป็นที่รู้จักในฐานะ " แหลมกู๊ดโฮ " ด้วยเหตุนี้  พระนามของพระเจ้าเอนรี่จึงได้รับการยกย่องอย่างมากว่า..เป็นผู้สร้างคุณูปการให้กับวิชาการเดินเรือ  การสำรวจ  และการค้าของชาวโปรตุเกส




Zheng He : เจิ้งเหอ (ค.ศ.1371-1433)


Zheng He : เจิ้งเหอ  นายพลเรือและนักการทูตชาวจีน  ผู้เดินเรือไปรอบโลก  โดยเจิ้งเหอมีตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการกองเรือเพื่อการสำรวจมหาสมุทรทางตะวันออก ซึ่งเป็น...กองเรือสำเภาขนาดใหญ่ ที่มีเรือขนาดใหญ่ถึง 60 ลำ และขนาดเล็ก 255 ลำ และมีลูกเรือทั้งหมด 27,870 คน เขาได้นำกองเรือออกเดินทางครั้งแรกในปี 1405  มาเยือนจัมปา (เวียดนามตอนใต้) สยาม (ไทย) ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระรามราชาธิราชแห่งราชวงศ์อู่ทองแห่งกรุงศรีอยุธยา และไปมะละกาและชวา  และข้ามมหาสมุทรอินเดียไปถึงศรีลังกาและกลับสู่จีน  หลังจากนั้นอีกหลายครั้ง  เขายังเดินเรือไปสำรวจคาบสมุทรอาหรับ  ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของแอฟริกา  เอเซียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดียด้วย  โดยใช้เวลาถึง 28 ปี  ตั้งแต่เจิงเหออายุ 36-60 ปี  รวมเป็นการออกเดินเรือทั้งสิ้น 7 ครั้ง

ภาพ  เส้นทางการเดินเรือของเจิ้งเหอ

หลังจากการเดินทางที่ยาวนาน  จักรพรรดิจีนองค์ต่อมา...ก็ไม่มีนโยบานที่จะขยายความสัมพันธ์กับต่างประเทศอีก  จีนจึงไม่ได้พัฒนาการเดินเรือและการขยายอาณาเขตเหมือนประเทศอาณานิคมยุโรปในสมัยต่อมา  แต่กระนั้น... การเดินเรือของเจิ่งเหอและการสำรวจที่ยิ่้งใหญ่ของเขาก็มีส่วนทำให้มีการติดต่อแลกเปลี่ยนบรรณการและทำการค้าต่อกันกับประเทศในแทบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้  และทำให้มีชาวจีนอพยพไปอยู่ในต่างแดนมากขึ้น รวมทั้งในประเทศไทยด้วย

Chaucer, Geoffrey : ชอเซอร์ (ค.ศ.1343-1400)


Chaucer, Geoffrey : ชอเซอร์  นักปรัชญา  นักดาราศาสตร์  นักการทูต  และกวีผู้ยิ่งใหญ่...ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งกวีนิพนธ์ของอังกฤษ  ซึ่งได้นิพนธ์งานไว้มากมาย  งานเขียนชิ้นเอกของเขาคือ The Canterbury Tales (1387) ซึ่งเล่าเรื่องของนักเดินทางจากซัทเธิร์ค (Southwark) ในลอนดอนที่เดินทางรอนแรมแสวงบุญ...ไปยังชาเปลวิหารของนักบุญทอมัส เบ็คเก็ต ที่มหาวิหารแคนเทอร์เบอรี (Canterbury Cathedral)  โดยงานเขียนชิ้นนี้ได้แสดงให้เห็นถึงอัฉริยภาพของชอเซอร์ในการสร้างตัวละครและการวางจังหวะจะโคนในการเขียนได้อย่างเป็นเลิศ  งานเขียนของเขาเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย  และเขายังเป็นผู้ทำให้ภาษาอังกฤษกลายเป็นภาษาของวรรณคดีอีกด้วย

ภาพ  หนังสือรวมกวีนิพนธ์ของชอเซอร์ (ปี 1721)

ในทางการเมือง...ตั้งแต่สมัยพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่สาม  ชอเซอร์ได้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในระดับสูงอยู่หลายตำแหน่ง  รวมทั้งเป็นทูตไปอิตาลี  ฝรั่งเศสและแฟลนเดอรส์ด้วย  แต่ไม่นานหลังพระเจ้าริชาร์ดที่ 2  ถูกโคนอำนาจลง (1399)  ชื่อของชอเซอร์ก็จางหายไปในประวัติศาสตร์  จนกระัทั้ง 25 ตุลาคม 1400 ซอเซอร์ก็สิ้นชีวิตลงอย่างมีปริศนา  หลังจากนั้น...ประมาณหนึ่งร้อยปี  ชื่อของชอเซอร์ก็กลับมาโด่งดังอีกครั้ง จากหนังสือชื่อ " ใครฆ่าชอเซอร์ " โดยเทอร์รี โจน (Terry Jones) ซึ่งมีสองทฤษฏีว่า..อาจเป็นพระเจ้าริชาร์ดที่สอง หรือ พระเจ้าเฮนรี่ IV แต่กระนั้น...ความตายของชอเซอร์ก็ยังคงเป็นปริศนาลับแห่งยุคกลางที่รอการ....เปิดเผยมาจนถึงปัจจุบัน

Tamerlane หรือ Timur the Lame : แทมเมอร์เลนหรือติมูร์ ประมาณ ค.ศ.1336-1405


Tamerlane หรือ Timur the Lame : แทมเมอร์เลนหรือติมูร์  ผู้พิชิตชาวมองโกล  และก่อตั้งราชวงศ์  Timurid ในเอเซียกลาง  ซึ่งรวบรวมอาณาจักรของชาวมองโกล  ที่แตกฉานซ่านเซ็นเป็นแคว้นต่างๆให้เป็นหนึ่งเดียวได้อีกครั้ง  ติมูร์ได้สร้างเมืองหลวงชื่อ Samarkhand (ปัจจุบันคือ Turkmenistan) ซึ่งเขาได้ใช้เวลาถึง 35 ปี ในการทำสงครามและเดินทัพ  โดยกองทัพที่ยิ่งใหญ่ของเขาได้เข้ายึดครองเปอร์เซีย, คอคอซัส, ซีเรีย, เอาชนะพวกมันลุกส์ในอียิปต์ (Mamluks of Egypt), และมีชัยเหนืออาณาจักรออตโตมันของพวกเตริกทางตะวันตก...อีกด้วย  และในอินเดีย  เขาได้สร้างเมือง  อาคารสาธารณะ  หอดูดาว  และได้จดบันทึกเอกสารและหนังสือไว้มากมาย  อันมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ที่สะท้อนให้เห็นถึงการผสมผสานทางวัฒนธรรม ความเชื่อของเปอร์เซีย เตริกและจีนเข้าไว้ด้วยกัน

ภาพ จักรวรรดิมองโกลในยุคสมัยของติมรู์

หลังจากการเสียชีวิตของติมูร์  อาณาจักรของเขาล่มสลายลงอย่างรวดเร็ว  เพราะพวกเขาไม่ได้สร้างระบอบการเมือง  ศาสนาหรืออำนาจรัฐที่มั่นคงเอาไว้  หากแต่...มีชัยชนะทางการทหารเท่านั้น

Hafiz (Muhammad Shama AI - Din) ประมาณ ค.ศ.1326-1390


Hafiz (Muhammad Shama AI - Din) ฮาฟิช นักกวีแบบลำนำ (Lyric) ที่ได้รับการยกย่องอย่างสูงว่า...เป็นผู้สร้างรากฐานแห่งวัฒนธรรมอิหร่าน  เขาเคยเป็นอาจารย์สอนในวิหารและเป็นกวีประจำราชสำนักของผู้ปกครองเมืองซีราช  งานเขียนที่มีชื่อเสียงก็คือ Diwan ที่เป็นการรวมบกวีสั้นๆไว้มากมาย  ด้วยภาษาที่เรียบง่ายและงดงาม  อันมีทั้ง...การชื่นชมกับความสุขในชีวิตและเสียดสีผู้คนในยุคสมัยของเขาด้วย  ซึ่งสะท้อนจินตภาพของสังคมได้อย่างชัดเจน  ไม่เสแสร้ง  และตรงไปตรงมา

1 ในภาพจากลำนำ Diwan

กวีนิพนธ์ของฮาฟิช  Diwan  สามารถพบได้ในทุกบ้านของชาวอิหร่าน  โดยชาวอิหร่านมักใช้หนังสือ Diwan เพื่อช่วยในการทำนายโชคชะตา  ซึ่งคนทั้งหมดในครอบครัวจะมารวมกันในช่วงเวลา Nowruz  (วันแรกของฤดูใบไม้ผลิ อันเป็นจุดเริ่มต้นปีในปฏิทินเปอร์เซีย) โดยพวกเขาจะสุ่มเปิดหนังสือ Diwan  และอ่านบทกวีในนั้น  ที่ชาวอิหร่านเชื่อว่าจะบ่งบอกถึงสิ่งที่จะเกิดในอนาคต  ซึ่งจะช่วยให้พวกเขาเตรียมพร้อมในการรับมือกับอนาคตและมุ่งรักษาวัตรปฏิบัติในทางศานา....ให้บริสุทธิ์มากขึ้น

Boccaccio Giovanni : บอกกาซชิโอ จิโอวานนี่ (ค.ศ.1313-1375)


Boccaccio Giovanni : บอกกาซชิโอ จิโอวานนี่  นักเขียนและกวีชาวอิตาลีแนวมนุษย์นิยม  ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)  เขาเขียนเรื่อง The Decameron (ตำนานสิบราตรี) และ  On Famous Women  ซึ่งรวมเรื่องสั้นเกี่ยวกับชีวิตและความรักของคนในยุคนั้นได้อย่างมีชีวิตชีวา  มีรสชาติ  และสมจริง  นับเป็นงานเขียนที่มีอิทธิพลต่อวรรณกรรมยุโรปในสมัยต่่อมาอย่างมาก


บอกกาซซิโอ มีความเชื่อว่า...การเรียนรู้วิทยาการโบราณ หรือ จากงานวรรณกรรมคาลสสิกต่างๆ เป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก...ในยุคแห่งการฟื้นฟูศิลปะวิทยาในฟลอเรนซ์  ดังนั้น  เขาจึงท้าทายข้อโต้แย้งของเหล่าปัญญาชนและพระในยุคสมัยนั้น...ที่ต้องการจะครอบงำและจำกัด การเข้าถึงความรู้และผลงานวรรณกรรมคลาสสิกต่างๆ  เพื่อป้องกันความแข็งขืนที่เป็นอันตรายต่อความเชื่อและศรัทธาของชาวคริสต์และศาสนจักร  และในทางการเมือง...บอกกาซซิโอก็มีความคิดเห็นที่ขัดแย้งกับคณะรัฐบาลอีกด้วย  จนในปี 1361 หลักจากความล้มเหลวในการทำรัฐประหารในฟลอเรนซ์  บอกกาซซิโอและเพื่อนๆก็ถูกเนรเทศออกจากนครฟลอเรนซ์  และกลับมาใหม่ในปี 1365

บอกกาซวิโอเสียชีวิต  เมื่ออายุ 62 ปี ในวันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ.1375 ใน Certaldo และร่างของเขาก็ถูกฝังไว้ที่นั้น  ด้วยสาเหตุที่ยังไม่แน่ชัดนัก  บางบันทึกกล่าวว่า  เขาตายด้วยป่วยเป็นโรคท้องมาน  แต่บันทึกอื่นกล่าวว่า  บอกกาซซิโอเสียชีวิตด้วยอาการหัวใจล้มเหลว  

Musa, Mansa : มูซาแห่งมาลี (ค.ศ.1280-1337)


Musa, Mansa : มูซากษัตริย์แห่งจักรวรรดิมาลีในแอฟาริกาตะวันตก  ผู้มีอาณาเขตกว้างใหญ่และร่ำรวยด้วยทองคำ  ซึ่งกษัตรย์มูซาได้ใช้ทองคำ...เพื่อแลกเปลี่ยนกับเกลือและสินค้าสำคัญอื่นๆ  จากทางเหนือ  ดังนั้น  มาลีจึงเป็นเมืองการค้าที่สำคัญ  และทำให้ทวีปแอฟริกาได้ชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งทองคำอีกด้วย  โดยทั่วเมืองมาลียังได้ตกแต่งด้วยรูปปั้นทองแดงที่สวยงาม...อยู่ทั่วไป  มูซาได้สร้างมหาวิทยาลัย Sankora  และใช้เหรียญทองค่าเงินมาตราฐาน  มีการสร้างมหามัสยิดที่ Timbuktu  ซึ่งมูซาเป็นมุสลิมที่เคร่งครัด  และเขายังเป็นผู้อุปถัมภ์ศาสนาอิสลามให้เติบโตอย่างเข้มแข็งในดินแดนแอฟาริการตะวันออกอีกด้วย  และสิ่งที่โด่งดังอีกอย่างหนึ่ง...ที่ได้มีการบันทึกไว้ (ในค.ศ.1324) ก็คือ  ขบวนเสด็จของกษัตริย์มูซาแห่งมาลีที่ไปแสวงบุญยังนครเมกกะ  ที่ประกอบไปด้วยกองคาราวานอูฐและข้าราชบริพารหลายพันคน  ซึ่งขนเอาทองคำและของขวัญอื่นๆไปด้วยอย่างมากมาย  แสดงให้โลกเห็นถึงความมั่งคั่งอันน่าพิศวงของกษัตริย์แห่งมาลี

ภาพ แสดงเส้นทางแสวงบุญของกษัตริย์มูซาไปยังเมกกะ

การตายของ Mansa มูซาเป็นที่ถกเถียงกันอย่างมากในหมู่นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่และนักวิชาการอาหรับผู้บันทึกประวัติศาสตร์ของมาลี  เชื่อกันว่า...มูซาอาจครองราชย์อยู่ประมาณ 25 ปี โดยคำนวณจากการตายในปี 1332 และจากบันทึกอื่นๆ เช่น ในบันทึกอื่นกล่าวว่า มูซาได้สละราชสมบัติให้กับลูกชาย Maghan ก่อนสวรรคต  ซึ่งกษัตริย์มูซาได้เสียชีวิตไม่นานหลังจากกลับจากการแสวงบุญที่นครเมกกะในปี 1325 นั่นเอง

Dante , Alighieri : ดังเต้ (ค.ศ.1265-1321)


Dante , Alighieri : ดังเต้  กวี  ทหารกล้า  นักการเมือง  รัฐบุรุษชาวอิตาเลียน  และได้รับการย่องย่องให็เป็น " บิดาแห่งภาษาอิตาเลียน " (the Father of the Italian language) งานเขียนชิ้นสำคัญของเขาคือ The Devine Comedy : ดีวีนากอมเมเดีย (1307-1321) เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการเดินทางโดยจินตนาการไปสู่นรกและสวรรค์  ภายใต้การนำของ Virgil (กวีชาวโรมันก่อน ค.ศ.) ซึ่งเป็นตัวแทนของเหตุและผล  และ Beatrice (ผู้หญิงที่เขาหลงรัก) ซึ่งเป็นตัวแทนของศรัทธา  ในขณะเดียวกันดังเต้ ก็ได้วิพากษ์วิจารณ์ความเหลวแหลกเละเทะของสังคมในยุคสมัยของเขาด้วย  ซึ่งงานเขียนชิ้นนี้ถือกันว่าเป็นบทกวีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคกลางของยุโรป


ในปี ค.ศ.1301 หลังจากพ่ายแพ้ทางการเมือง  ดังเต้ได้ถูกประนามและเนรเทศให้ออกไปจากนครฟลอเรนซ์  และมีคำสังให้เขาต้องจ่ายเงินค่าปรับก้อนโตอีกด้วย  จนในปี 1381  เจ้าชาย Prince Guido Novello da Polenta ได้เชิญเขาไปราเวนา (Ravenna)  ซึ่งในระหว่างเดินทางกลับจากเวนิส  ดังเต้ก็ได้เสียชีวิตลงด้วยไข้มาลาเรีย (ในวัย 56 ปี)  และร่างของเขาก็ถูกฝังอยู่ในราเวนนาที่โบสถ์ท่าเรือ Maggiore  และต่อมาชาวนครฟลอเรนซ์ได้เสียใจที่เคยเนรเทศและกระทำอยุติธรรมแก่ดังเด้  จึงได้สร้างหลุมศพไว้ที่ฟลอเรนซ์ ในปี 1829 ในมหาวิหารซานตาโครเซ (the basilica of Santa Croce)  แต่กระนั้นดังเต้ก็ไม่มีโอกาสได้กลับสู่ฟลอเรนซ์อีกเลย (เพราะหลุมศพในฟลอเรนซ์นั้นว่างเปล่า และร่างที่แท้จริงยังคงถูกฝังไว้ที่ราเวนนา)

วาทกรรม : " ไม่มีความโศกเศร้าอันใดจะยิ่งใหญ่ไปกว่า  การรำพึงถึงวันเวลาแห่งความสุขในช่วงที่คุณกำลังทุกข์ "

ติดตามผ่าน FACEBOOK

Video Of Week : เส้นทางนักบุกเบิก สตีฟ จ๊อบส์

Live Currency Cross Rates


The Forex Quotes are powered by Investing.com.

ไขปริศนาคดีฆาตกรต่อเนื่องโดย นักฆ่าโซดิแอค

โพสต์แนะนำ

Anton Van Leeuwenhoeh : ลีเวนฮุ๊ค (ค.ศ.1632-1723)

Anton Van Leeuwenhoeh : ลีเวนฮุ๊ค  นักชีววิทยาชาวดัชท์  ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็น " บิดาแห่งจุลชีววิทยาการ " ( the Father of M...

บทความที่ได้รับความนิยม

Kategori

สนับสนุนเว็บไซด์

หนังคาวบอยดี.. ดูฟรี ออนไลน์

Kategori