คุณรู้ไหมว่า...ใครเป็นใคร..? บนโลกใบนี้

คุณรู้ไหมว่า...ใครเป็นใคร..? บนโลกใบนี้

Francis of Assisi, Saint : เซนต์ฟรานซิลแห่งอัสซีซี (ค.ศ.1181-226)


Francis of Assisi, Saint : เซนต์ฟรานซิลแห่งอัสซีซี นักบวชชาวอิตาลีผู้ก่อตั้งคณะฟรานซิสกัน (Franciscan) ผู้ซึ่งดำเนินตามรอยพระเยซู  ด้วยการใช้ชีวิตอย่างสมถะ  เรียบง่ายและเปี่ยมด้วยความศรัทธา  เซนต์ฟรานซิลมีสานุศิษย์จำนวนมากมาย  ซึ่งท่านได้ส่งออกไปเผยแพร่ศาสนาทั่วยุโรป  รวมทั้งในอียิปต์และเยรูซาเล็มด้วย  และคณะฟรานซิสกันได้มีอิทธิพลในการช่วยฟื้นฟูศรัทธาของมหาชนชาวยุโรปต่อศาสนาคริสต์  ซึ่งในขณะนั้นกำลังเริ่มเสื่อมความนิยมลงอย่างมาก  อันเนื่องจากการฉ้อฉลและความทะเยอทะยานในอำนาจของคริสตศาสนจักร

ในสงครามครูเสดครั้งที่ 5 พระสันตะปาปา อินโนเซนต์ ที่ 3 ต้องการยึดคืนดินแดนศักดิ์สิทธิ์ (เยรูซาเล็ม) ให้กลับมาเป็นของชาวคริสต์อีกครั้ง  เพื่อต้องการจะจัดระเบียบอำนาจในยุโรปเสียใหม่ให้อยูภายใต้ศาสนจักรโดยสมบูรณ์  ซึ่งต่อมา...ได้รับการสานต่อพันธกิจโดยพระสันตะปาปา โฮโนริอุส ที่ 3 (Honorius III) ดังนั้น ในปี ค.ศ.1218  ชาวคริสต์จึงส่งกองทัพไปยึดครองแผ่นดินอียิปต์จาก สุลต่าน อัล-คามิล (Al-Kamil) ซึ่งปกครองอียิปต์ในเวลานั้น  โดยกองทัพของชาวคริสต์ต้องเสียหายอย่างหนักและมีคนล้มตายลงเป็นจำนวนมาก  จนนำไปสู่การทำสัญญาสงบศึกเป็นระยะเวลา 8 ปี โดยมี ฟรานซิส แห่งอัสซีซีเป็นทูตสันถวไมตรี

ภาพ พระสันตะปาปาทรงอนุมัติกฎเกฑณ์ของคระฟรานซิสกัน วาดโดย Giotto

กล่าวกันว่า....ในครั้งนั้น  สุลต่าน อัล-คามิล ได้ประกาศไปทั่วว่า...ถ้าหากผู้ใดสามารถนำเอาศีรษะของชาวคริสต์  ตั้งแต่อาเซียไมเนอร์ไปจนจรดอียปต์มาวางไว้ต่อหน้าได้ 1 หัว ผู้นั้นจะได้ค่าหัวเท่ากับทองคำหนึ่งก้อน  ด้วยเหตุนี้  จึงทำให้ชาวคริสต์ถูกเข่มฆ่าและต้องล้มตายลงเป็นผักปลา  ดังนั้น เซนต์ฟรานซิลแห่งอัสซีซี  จึงได้ยอมเสี่ยงอันตรายเข้าไปขอเจรจากับ สุลต่านอัล-คามิล  แต่กว่า...ท่านจะได้พบกับ อัล-คามิล  ท่านและผู้ติดตามก็ต้องถูกโบยตีถูกทรมานเสียจนเกือบตาย  แต่...เซนต์ฟรานซิลแห่งอัสซีซีก็ไม่ได้ละทิ้งความตั้งใจ  ซึ่งผลที่สุด สุลต่าน อัล-คามิล ก็เห็นแก่ความพยายามและน้ำอดน้ำทนของท่าน  จึงยินยอมทำสัญญาสงบศึกด้วย  ด้วยเหตุนี้เอง  เซนต์ฟรานซิลแห่งอัสซีซี จึงได้กลายเป็นศูนย์รวมกำลังใจของชาวคริสต์ในสงครามครูเสดครั้งนี้...เป็นอย่างมาก  และได้รับการยกย่องให้เป็นนักบุญ ในปีค.ศ. 1228

Ibn Arabi : อิบัน อลาบิน (ประมาณ ค.ศ.1165-1240)


Ibn  Arabi : อิบัน อลาบิน นักปราชญ์  กวี  ศาสนาจารย์ชาวอารับ  เขาเกิดในสเปนอันดาลูเซียในยุคที่วัฒนธรรมอิสลามกำลังรุ่งเรืองถึงที่สุด  อลาบินเป็นผู้ที่เรียนรู้ในศาสนาต่างๆอย่างแตกฉาน  ทั้งศาสนาอิสลามและศาสนาของโลกตะวันตกด้วย  เขาเดินทางไปทั่วประเทศสเปนและแอฟริกาเหนือ  และเคยอาศัยอยู่ที่เมกกะถึง 5 ปี  และเริ่มเขียนผลงานดีๆในตอนนั้น  และต่อมา...อลาบินได้ออกเดินทางเพื่อตามแสวงหาอาจารย์คดิซูฟี (Sufism) ผู้เป็นศาสนาจารย์ศาสนาอิสลามที่ลี้ลับ  และในภายหลัง...อลาบินได้ตั้งหลักแหล่งที่เมืองดามัสกัส  เพื่อศึกษา  ทำสมาธิ  สั่งสอนและเขียนหนังสือหลายๆเล่ม (800 กว่าเล่ม)  โดยหนังสือที่มีชื่อเสียงคือ Bezel or Wisdom ซึ่งเป็นหนังสือสรุปคำสอนของเขา (ในเรื่องบทบาทของผู้เผยพระวจนะและการเปิดเผยของพระเจ้าอันลี้ลับ) ซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากในยุคสมันนั้น  และหนังสือชื่อ The Meccan Revelation ที่เป็นเสมือนสารานุกรมที่รวบรวมความรู้ต่างๆอย่างกว้างขวาง  และอิบัน อลาบินยังได้รับการยกย่องว่าเป็นปรมาจารย์ทางจิตวิญญาณที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของโลกอิสลามและเป็นนักบุญด้วย

หมายเหตุ : Sufism  หมายถึง  ผู้นับถือชาวมุสลิม  ที่เชื่อในแนวคิดของศาสนาอิสลาม  ในเรื่องความลี้ลับและความมหัศจรรย์ของพระเจ้า ที่สอนและกำหนดโดยนักวิชาการศาสนาอิสลามผู้ซ่อนเล้นและพบตัวได้ยาก โดยพวกผู้เชื่อยืนยันว่า...มันเป็นปรัชญาเริ่มต้นที่ดำรงอยู่มาก่อนศาสนา  ด้วยซ้ำ

และในวันที่ 8 พฤศจิกายน ปี ค.ศ.1240  อิบัน อลาบิล ในวัย 75 ปี ได้เสียชีวิตในดามัสกัส

Genghis Khan : เจงกิสข่าน (ประมาณ ค.ศ.1162-1227)


Genghis Khan : เจงกิสข่าน ชื่อเดืมคือ " เตมูจิน " (Temujin)จักรพรรดินักรบ  ผู้นำชาวมองโกลและรวบรวมชนเผ่าเร่รอนต่างๆในเขตทุงหญ้าสเตปป์ (Strppe) ทางตะวันออกเฉียงเหนือของมองโกเลียให้เป็นปึกแผ่นและเข้มแข็ง  และก่อตั้งจักรวรรดิมองโกลอันยิ่งใหญ่ ในปี ค.ศ.1206  เตมูจินได้รับการยกย่องให้เป็นเจงกิสข่าน ที่แปลว่า " เวิ้งสมุทร, มหาสมุทร " หมายถึง  เจงกิสข่านมีความยิ่งใหญ่ดั่งเวิ้งมหาสมุทรนั้นเอง

เจงกิสข่านได้ชื่อว่าเป็นกษัตริย์ยอดนักรบ  โดยเริ่มต้นจากจีนตอนเหนือ (หลังจากเข้ายึดปักกิ่ง)  พระองค์ก็ได้ขยายอาณาจักรมองโกลออกไปกว้างไกล  ตั้งแต่ทะเลดำไปจนจรดมหาสมุทรแปซิฟิก  อีกทั้งเปอร์เซียและรัสเซีย ฯลฯ โดยไม่มีใครสามารถต้านทานกองทัพของเจงกิสข่านได้เลย  ซึ่งเจงกิสข่านสามารถเข้ายึดครองเมืองต่างๆมากมาย  และเกือบทำให้ยุโรปพังพินาศทั้งทวีป  กองทัพของเจงกิสข่านเป็นที่สะพรึงกลัวเพราะ...มีกองกำลังทหารม้าที่เคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็ว  อีกทั้งยังใช้อุปกรณ์และยุทธวิธีใหม่ในการทำสงครามด้วย  เช่น  เครื่องยิงก้อนหิน  บันไดและเครื่องมือต่างๆ  รวททั้งยุทธวิธีในการเข้าปิดล้อมเมืองจนทำให้ขาดเสบียงและต้องยอมจำนนในท้ายที่สุด  ฯลฯ

ภาพ  จักรวรรดิมองโกล  ประมาณปี ค.ศ.1207

ปัจจุบัน  เจงกิสข่านได้รับการยกย่องว่าเป็นนักการทหารที่เก่งกาจที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์โลก  ซึ่งนักประวัติศาสตร์หลายๆคนเชื่อว่า...พระองค์ทรงพระปรีชาสามารถยิ่งกว่า  อเล็กซานเดอร์, ฮันนิบาล, ซีซาร์, อัตติลา, หรือแม้แต่นโปเลียน  ด้วยซ้ำ

แต่หลังจากทำศึกอย่างยาวนานถึง 5 ปี ในเขตดินแดนเอเซียกลาง  เจงกิสข่านก็ตัดสินใจยกทัพกลับทุ่งหญ้าสเตปป์  และในปีถัดมา ค.ศ.1227  อาณาจักรซีเซี่ยก็ลุกฮือขึ้นต่อต่านชาวมองโกล  พระองค์จึงนำกองทัพออกรบเป็นครั้งสุดท้าย  และสวรรคตลงอย่างสงบ  ณ  มณฑลกานสูในปีเดียวกัน  รวมสิริพระชนมายุได้ 65 พรรษา  หลังสิ้นพระชนม์จักรวรรดิมองโกลก็ถูกแบ่งแยกในหมู่ลูกหลาน  รวมทั้งผู้สืบทอดคือ " กุบไล  ข่าน " (Kublai Khan) ด้วย

Richard I : พระเจ้าริชาร์ดที่ 1 (ค.ศ.1157-1199)


Richard I : พระเจ้าริชาร์ดที่ 1  หรือ ริชาร์ดใจสิงห์  โอรสของกษัตริย์เฮนรี ที่ 2 (Henry II of  England) แห่งราชวงศ์ " แพลนตาจิเนต์ " (Plantagenet) พระเจ้าริชาร์ดเป็นกษัตริย์นักรบชาวอังกฤษผู้มีชื่อเสียงอย่างมากในสงครามครูเสดครั้งที่ 3 ซึ่งพระองค์ใช้ช่วงเวลาส่วนใหญ่ในพระชนม์ชีพนำกองทัพอังกฤษเข้าร่วมกับฝรั่งเศสและเยอรมัน เพื่อทำสงครามกับชาวมุสลิม  ซึ่งพระองค์สามารถยึดไซปรัส  เอเคอร์  และจาฟฟ่าได้  แต่ก็ไม่สามารถตีชิงเอานครเยรูซาเล็มกลับคืนมาจากชาวมุสลิมได้  ซึ่งในท้ายที่สุด  จบลงด้วยการเจรจาสงบศึกระหว่างชาวคิสต์และมุสลิม

โดยความตั้งใจตั้งแต่ต้น  ริชาร์ดที่ 1 ไม่ได้สนใจในตำแหน่งกษัตริย์อังกฤษมากนัก  พระองค์ต้องการออกไปผจญภัยมากกว่า  เพราะริชาร์ดรักในชีวิตอิสระและชอบการเดินทางท่องเที่ยว  ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้พระองค์ตัดสินใจยกกองทัพไปร่วมรบในสงครามครูเสด ครั้งที่ 3  โดยได้ทรงทิ้งหน้าที่การบริหารราชการแผ่นดินไว้ให้กับผู้สำเร็จอำนาจแทนพระองค์  คือ " บิชอป แห่งเดอร์แฮม " (Bishop of  Derham) กับเสนาบดีคนสนิทเป็นผู้ดูแลแทน  และด้วยสาเหตุนี้เอง  จึงทำให้ " จอห์น แห่งอังกฤษ " พระอนุชาเกิดความขัดเคืองใจอย่างมาก  และต่อมา จอห์นแห่งอังกฤษ  ได้กลายเป็นศัตรูที่คอยชิงยิงพระราชบัลลังก์อังกฤษเรื่อยมา

ภาพ ริชาร์ดใจสิงห์ขณะยกกองทัพไปทำสงครามที่ครูเสด 

ริชาร์ดที่ 1 เป็นกษัตริย์ที่ประชาชนชื่นชมในเรื่องความกล้าหาญ (แต่การทำสงครามของริชาร์ดได้ทำให้ทรัพย์สมบัติในท้องพระคลังต้องสิ้นเปลืองไปเป็นจำนวนมาก)  และเมื่อพระองค์กลับมาจากสงครามครูเสดและครอบครองบัลลังก์อยู่ได้ไม่นาน  ในปี ค.ศ.1199 พระองค์ก็ได้นำทัพออกศึกสงครามรวมกับ ฟิลลิปที่ 2 แห่งฝรั่งเศสอีกครั้ง  และริชาร์ดก็ต้องสิ้นพระชนม์ลงกลางสนามรบด้วยพิษบาดแผลจากลูกธูน  ซึ่งภายหลังการสิ้นพระชนม์ของริชาร์ด  ราชบัลลังก์อังกฤษก็ตกเป็นของจอห์นแห่งอังกฤษพระอนุชาอย่างสาสมใจ


Saladin : ซาลาดิน (ค.ศ.1137-1193)


Saladin : ซาลาดิน สุลตานชาวเคริด ผู้รวบรวมอียิปต์  ซีเรีย  เยเมน  ปาเลสไตน์เข้าด้วยกัน  ซาลาดินเป็นผู้ปกครองที่เด็ดขาดและทรงคุณธรรม  ที่นำชาวมุสลิมลุกขึ้นต่อสู่กับบรรดาอัศวินชาวยุโรปในช่วงสงครามครูเสด Crusades III ครั้งที่ 3 (1189-1192)  และสามารถขับไล่นักรบชาวคริสต์ออกไปจากเยรูซาเล็ม  ที่เคยอยู่ภายใต้การปกครองของของชาวคริสต์มากว่า 88 ปี ได้สำเร็จ

หมายเหตุ : ที่ชาวมุสลิมต้องการจะเข้ายึดครองเยรูซาเล็มจากฝ่ายคริสต์ให้ได้นั้น  เพราะการยึดครองเยรูซาเล็มเป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะทางศาสนา  และเพื่อเป็นการประกาศชัยเหนือนครเยรูซาเล็ม  ซาลาดินได้สั่งให้ทหารนำกางเขนใหญ่ที่ตั้งบนยอดโบสถ์และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆลงมาทำลาย  อีกทั้งยังปลดเอาระฆังในโบสถ์ของชาวคริสต์ทุกแห่งมาหลอมรวมกัน  ซึ่งสร้างความโกรธแค้นให้กับชาวคริสต์เป็นอย่างมาก

ภาพ อัศวินชาวคริสต์ในสงครามครูเสด

แม้ในสงครามครูเสดครั้งที่ 3 กองทัพฝ่ายคริสต์จะไม่สามารถเอาชนะฝ่ายมุสลิมได้ก็ตาม  แต่สงครามครูเสดครั้งนี้...ก็มีความโดดเด่นอย่างมาก  โดยเฉพาะในเรืองราวของซาลาดินและพระเจ้าริชาร์ดใจสิงห์ ซึ่งยังเป็นที่เล่าขานต่อมาจนถึงปัจจุบัน  ที่ในท้ายที่สุด  สงครามจบลงด้วยการเจรจาสงบศึก   ระหว่างซาลาดินกับพระเจ้าริชาร์ดที่ 1 หรือริชาร์ดใจสิงห์ (Richard the Lion Heart) กษัตริย์แห่งอังกฤษ  โดยที่ฝ่ายชาวคริสต์ได้ครอบครองดินแดนเพียงส่วนเล็กๆ เท่านั้น

Ibn Rushd หรือ Averroes (ค.ศ.1126-1196)


Ibn Rushd หรือ Averroes นักปรัชญา  นักกฎหมายและนักวิทยาศาสตร์ชาวอาหรับในเสปน (กอร์โดบา,อัลดาลูเซีย : Cordoba, Andalusia เมืองในแคว้นทางตอนใต้ของเสปน)  Averroes เป็นผู้พิพากษาที่ยุติธรรม  และได้รับยกย่องว่าเป็นนักวิชาการกฎหมายอิสลามคนสำคัญ  ซึ่งเขาได้เขียนหนังสือไว้มากมายทั้งปรัชญา  กฎหมาย  เทววิทยา  วิทยาศาสตร์  และการแพทย์ของอิสลาม  อีกทั้งยังเขียนบทวิเคราะห์ปรัชญาของอริสโตเติล  เพลโต  ซึ่งแปลจากภาษากรีกเป็นภาษาอาหรับ  โดย Averroes ได้แปลงานเขียนของอนิสโตเติลเป็นภาษาละติน  และถือว่าเป็นการสืบต่องานเขียนอริสโตเติลในยุโรป  ซึ่งในตอนนั้นคริสต์ศาสนจักรที่มีอำนาจได้เลิกสนใจทฤษฎีและปรัชญากรีกแล้ว  และงานเขียนของ Averroes  เองก็มีผู้แปลเป็นภาษาฮิบูรและละติน  ในภายหลังด้วย

ภาพ  สำเนางานเขียนของ Averroes ใน Aristotelis เป็นภาษาฝรั่งเศส

Averroes เห็นด้วยกับปรัชญากรีกโบราณว่า...  ความจริงทางปรัชญาควรมาจากกระบวนการใช้เหตุผล (rationalism)  ซึ่งเป็นแนวคิดที่ต่างจากนักคิดนักปรัชญาชาวคริสเตียน  เช่น  เซนต์  ธฮมัส  อะไควนัส  กลุ่มอัสสมาจารย์นิยม (Scholasticism)  และด้วยทัศนะแบบหัวก้าวหน้าของ Averroes  ได้ทำให้ศาสนจักรทั้งคริสต์และอิสลามไม่พอใจ  จนเขาต้องถูกเนรเทศออกจากเสปนไปช่วงหนึ่ง  อย่างไรก็ตาม  เขาก็ยังได้ชื่อว่าเป็นบิดาของแนวคิดแบบฆราวาสวิถี (Secular Thought) ของยุโรปตะวันตก  ซึ่งยุโรปในขณะนั้น...ที่ส่วนใหญ่ยังถูกครอบงำด้วยความเชื่อและแนวคิดทางศาสนาอยู่อย่างเหนียวแน่น  แต่กระนั้น...ปรัชญาของ Averroes ก็ถูกนำไปสอนมหาวิทยาลัยในยุโรปในยุคกลาง  และมีอิทธิพลต่อมาจนถึงศตวรรษที่ 16

ติดตามผ่าน FACEBOOK

Video Of Week : เส้นทางนักบุกเบิก สตีฟ จ๊อบส์

Live Currency Cross Rates


The Forex Quotes are powered by Investing.com.

ไขปริศนาคดีฆาตกรต่อเนื่องโดย นักฆ่าโซดิแอค

โพสต์แนะนำ

Anton Van Leeuwenhoeh : ลีเวนฮุ๊ค (ค.ศ.1632-1723)

Anton Van Leeuwenhoeh : ลีเวนฮุ๊ค  นักชีววิทยาชาวดัชท์  ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็น " บิดาแห่งจุลชีววิทยาการ " ( the Father of M...

บทความที่ได้รับความนิยม

Kategori

สนับสนุนเว็บไซด์

หนังคาวบอยดี.. ดูฟรี ออนไลน์

Kategori