คุณรู้ไหมว่า...ใครเป็นใคร..? บนโลกใบนี้

คุณรู้ไหมว่า...ใครเป็นใคร..? บนโลกใบนี้

Thomas Hobbes : ธอมัส ฮอบส์ (ค.ศ.1588-1679)


Thomas Hobbes : ธอมัส ฮอบส์  นักปรัชญาการเมืองอังกฤษ  เป็นผู้มีชื่อเสียงโดดเด่นที่สุดคนหนึ่งในหมู่นักคิดร่วมสมัยในศตวรรษที่ 17  และได้ชื่อว่าเป็นผู้ก่อตั้งปรัชญาการเมืองและรัฐศาสตร์สมัยใหม่

ธอมัส ฮอบส์ เกิดที่เมืองมาลมส์เบอรี่ (Malmesbury) ในวันที่ 5 เมษายน ค.ศ.1588  ในช่วงเวลาที่อังกฤษกำลังเผชิญกับสงครามจากกองเรืออาร์มาดา (Armada) ของสเปน  ซึ่งมารดาของฮอบส์เกิดความตื่นตระหนกอย่างมาก..จึงทำให้คลอดฮอบส์ก่อนกำหนด (ฮอบส์จึงเชื่อว่า..เขานั้นเกิดมาพร้อมกับความตื่นตระหนก : Terror ซึ่งกลายเป็นลักษณะนิสัยประจำตัวของเขาเรื่อยมา) บิดาของฮอบส์เป็นคนขี้เมา..ชอบก่อเรื่องทะเลาะวิวาท..และทำร้ายผู้อื่นจนบาดเจ็บสาหัส  จึงหนีหายสาบสูญไป  ทิ้งให้ฮอบส์กับพี่น้องอีกสองคนและแม่..ให้อยู่ในความอุปการะของลุง ฟรานซิสฮอบส์ (Francis Hobbes) ผู้มีอาชีพเป็นช่างทำถุงมือ  จนเมื่ออายุ 15 ปี ฮอบส์ได้เข้าศึกษาที่แมกดาเลน ฮอลส์ (Magdalen Hall) อ๊อฟซ์ฟอร์ดจนสำเร็จปริญญาตรี  และเริ่มอาชีพเป็นครู..โดยสอนหนังสือให้กับบุตรของวิลเลียม คาเวนดิช (William Cavendish) เอริล์ที่สองแห่งเดอเวนไชร์ (Devonshire) และสอนบุตรของเซอร์ เจอร์เวส คลินตัน (Sir Gervase Clinton) ด้วย  และในช่วงเวลานี้เอง..ที่ฮอบส์ได้มีโอกาสเรียนรู้วิชาเรขาคณิตของยูคลิด (Euclid's Element) ซึ่งเขาชอบมาก..และได้นำเอาวิธีการของเรขาคณิตมาพัฒนาทฤษฏีทางการเมืองของเขาในเวลาต่อมา

ภาพ Frontispiece from De Cive (1642)

งานเขียนสำคัญ : แปลผลงานของธูซิดิดิส (Thucydides : 1628) และหนังสือทางการเมืองเล่มแรกคือ องค์ประกอบของกฎหมาย (The Element of Law : 1640) ที่ฮอบส์ได้แสดงทัศนะสนับสนุนนโยบายของพระเจ้าชาร์ลที่ 1 ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับกลุ่มของโอลิเวอร์ ครอมเวลส์ (Oliver Cromwell) จนต้องลี้ภัยไปอยู่ฝรั่งเสศ 11 ปี  และเดินทางต่อไปยุโรป  โดยฮอบส์ได้เป็นครูสอนคณิตศาสตร์ให้แก่เจ้าชายแห่งเวลส์ (Prince of Wales) ซึ่งต่อมาได้ครองราชบัลลังค์อังกฤษเป็นพระเจ้าชาร์ลที่ 2 ในปี ค.ศ.1660 และพระองค์ได้พระราชทานบำนาญให้แก่ฮอบส์ปีละ 100 ปอนด์จนตลอดชีพของเขา  และงานเขียนที่คนรู้จักมากที่สุดคือ The Leviathan : 1668 ที่เป็นกระแสวิพากษ์วิจารณากันมาก..ทั้งในหมู่นักบวชคาทอลิกและพวกที่นิยมกษัตริย์  จนฮอบส์ต้องลี้ภัยไปฝรั่งเศสอีกครั้ง..ที่นั้นเขาได้เขียนหนังสืออีกเล่มชื่อ เบเฮมอท (Behemoth : 1682) ที่วิเคราะห์ประวัติศาสตร์รัฐสภาอันยาวนาน (Long Parliament) อันเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดสงครามกลางเมืองที่นองเลือด..เพราะพระเจ้าแผ่นดินมิได้ใช้พระราชอำนาจอย่างเต็มที่  และงานเขียนอีกสองเล่มคือ เด คอร์โปเร (De Corpore) และ เดโฮมิเน (De Homine) โดยอธิบายวิธีการของฮอบส์..ด้วยการแบ่งแยกเป็นปรากฎการณ์ทางวัตถุ (เด คอร์โปเร) และความรู้และความรู้สึก (เด โฮมิเน) และอธิบายปรากฎการณ์ทางสังคม (เดซิเว) ซึ่งทั้งหมดนี้..อธิบายในแง่ของการเคลื่อนไหว (Motion)  และในวัยชราอายุ 87 ปี  ฮอบส์ยังได้แปลมหากาพย์ของ Homer คือ illiad และ Odyssey จนเสร็จสมบูรณ์  ฮอบส์ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ.1679 รวมอายุได้ 91 ปี

ภาพ Frontispiece of Leviathan

ฮอบส์ได้อธิบายถึงการเคลื่อนไหว (Motion) แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ 1) การเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ (Vital Motion) เป็นการเคลื่อนไหวที่หยุดไม่ได้ตลอดชีวิต เช่น การหายใจ การกินอาหาร การขับถ่าย เป็นต้น  ซึ่งการเคลื่อนไหวเหล่านี้ไม่จำเป็นจะต้องมีมโนภาพหรือจินตนาการ (Imagination) และ 2) การเคลื่อนไหวที่เกิดจากการกระตุ้นหรือโดยสมัครใจ (animal motion or voluntary motion) เช่นการพูด การเคลื่อนไหวร่างกาย  การทำกิจกรรมต่างๆ เป็นต้น  โดยการเคลื่อนไหวลักษณะนี้..ต้องมีความคิดเกิดขึ้น..ภายในจิตใจของบุคคลก่อน  ซึ่งความรู้สึกหรือความนึกคิดนั้น..อาจเป็นผลมาจากผัสสะก็ได้ เช่น การเห็น  การได้ยิน  การสัมผัส เป็นต้น  โดยฮอบส์ได้นำหลักเกณฑ์ของ (Motion) ทั้ง 2 ข้อนี้มาอธิบายพฤติกรรมของมนุษย์ว่า..ล้วนเป็นผลที่เกิดมาจากแรงกระตุ้น (Endcavour) ทั้งสิ้น  ซึ่งจะมีผลต่อตัวปัจเจกบุคคล  สังคมและการเมือง  โดยฮอบส์เชื่อว่าธรรมชาติของมนุษย์นั้น..มีความต้องการที่ไม่สิ้นสุด..ที่เป็นแรงผลักดันภายในอยู่ร่ำไป  ด้วยเหตุนี้  ไม่ว่ามนุษย์จะกระทำการอันใด..ก็ด้วยมีเป้าหมายเสมอ เช่น  การแสวงหาอำนาจ  การต่อสู้และการเข่นฆ่ากัน  ดังที่ฮอบส์ได้กล่าวไว้ว่า " กิจกรรมของมนุษย์..เกิดจากแรงจูงใจของผลประโยชน์ส่วนตัวเท่านั้น "  นอกจากนี้..ฮอบส์ยังเสนอความคิดแบบสัญญาประชาคมและการก่อตั้งรัฐาธิปัตย์  เพราะฮอบส์เห็นว่า " มีอยู่ทางเดียวเท่านั้น คือ การก่อตั้งอำนาจร่วม (Common power) ซึ่งอาจจะปกป้องคนทั้งหลาย  จากการรุกรานภายนอก (foreigners) และยังเป็นการป้องกันไม้ให้คนในสังคมทำอันตรายต่อกันด้วย " ดังนั้น  รัฐจึงเกิดขึ้นก็เนื่องจากปัจเจกชนสมัครใจที่จะอยู่ภายใต้รัฐบาลที่มีสิทธิอำนาจในการปกครอง  เพื่อความสันติสุขในสังคม  ถ้าหากเราไม่มีรัฐ..ไม่มีกฎหมายที่เป็นธรรม  ปัจเจกชนจะอยู่อย่างวหวาดกลัว ยากจนและขาดแคลน เป็นต้น

หมายเหตุ : บริบทของยุคสมัย..มีอิทธิพลต่อแนวความคิดและการสร้างทฤษฏีทางการเมืองของฮอบส์ด้วย  เพราะฮอบส์มีชีวิตอยู่ในช่วงเวลาที่อังกฤษมีความแตกแยก..ทั้งทางสังคมและการเมืองสูง  อันเป็นผลมาจากการปฏิรูปทางศาสนาและความไม่รงรอยกันระหว่างพระเจ้าชาร์ลที่ 1 และกับฝ่ายรัฐสภา  ซึ่งมีโอลิเวอร์ ครอมเวลส์ เป็นผู้นำ..จนกระทั้งรุกรามไปสู่สงครามกลางมือง..ที่ฝ่ายรัฐสภาได้รับชัยชนะ  และพระเจ้าชาร์ลที่ 1 ถูกประหารชีวิต  ทำให้อังกฤษถูกปกครองโดยระบอบผู้ปกครองจักภพครอมเวลล์ (Cromwellian Protectorate) ในช่วงเวลาสั้นๆ  เพราะเมื่อริชาร์ด ครอมเวลล์ ผู้เป็นบุตรไม่สามารถรักษาอำนาจไว้ได้และถูกโค้นล้มไป  อังกฤษจึงกลับสู่ระบอบกษัตริย์อีกครั้ง  โดยสถาปนาพระเจ้าชาร์ดที่ 2 เป็นกษัตริย์ในปี ค.ศ.1660  แต่กระนั้น..อังกฤษก็ยังหาได้หมดจากปัญหาความแตกแยกทั้งทางศาสนาและการเมือง


EmoticonEmoticon

ติดตามผ่าน FACEBOOK

Video Of Week : เส้นทางนักบุกเบิก สตีฟ จ๊อบส์

Live Currency Cross Rates


The Forex Quotes are powered by Investing.com.