คุณรู้ไหมว่า...ใครเป็นใคร..? บนโลกใบนี้

คุณรู้ไหมว่า...ใครเป็นใคร..? บนโลกใบนี้

John Milton : จอห์น มิลตัน (ค.ศ.1608-1674)


John Milton : จอห์น มิลตัน กวีชาวอังกฤษ  นักโต้เถียง  หนุ่มหัวรุนแรง  และผู้เขียนวรรณกรรม  ที่นักประวัติศาสตร์เรียกเขาว่าเป็น " นักเขียนอังกฤษที่ยิ่งใหญ่ที่สุด " (greatest English author) ในศควรรษที่ 16  เขาต่อสู้เพื่อปกป้องเสรีภาพของปัจเจกชนทั้งในทางการเมือง  ศาสนาและเสรีภาพของหนังสือพิมพ์ด้วย

จอห์น มิลตัน เกิดวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ.1608 ที่ Bread Street ในลอนดอน  บิดาเป็นนักแต่งเพลงศาสนาและอาลักษณ์ที่มีฐานะดี  มิลตันมีความสามารถในการประพันธ์..ตั้งแต่วัยเยาว์  และได้รับการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (Christ's College Cambridge) ที่นั้น..เขาเริ่มฉายแววให้เห็นฝีไม้ลายมือในการเขียนบทกวี  และทักษะที่โดดเด่นในการเป็นนักโต้เถียง เช่น การทะเลาะโต้เถียงกับนักวิชาการภาษาอังกฤษ Bishop William Chappell จนเกือบถูกไล่ออกจากมหาวิทยาลัยในปีแรก  และการโต้เถียงหลายครั้ง..ในการอภิปรายภาษาละติน..ในหัวข้อที่ยากๆ  ซึ่งมิลตันมักแสดงออกด้วยท่าทีที่หยิงยโสเสมอ  แต่กระนั้น..เขาก็จบการศึกษาระดับปริญญาตรีในปี 1629  และปริญญาโทในปี 1632  และใช้เวลาอีก 6 ปีในการพักผ่อนที่ฮอนตัน (Horton, Berkshire : 1635) เพื่อเตรียมตัวเข้าสู่ชีวิตการเป็นนักกวี  ในช่วงเวลานี้เอง..ที่เขาได้ขลุกตัวอยู่ในหอสมุดแห่งชาติ (the British Library) และอ่านหนังสือมากมาย  ทั้งวรรณกรรมโบราณและสมัยใหม่  รวมทั้ง..เทววิทยา  ปรัชญา  การเมือง  ประวัติศาสตร์และวิทยาศาสตร์ด้วย  อันเป็นผลให้เกิดการพัฒนาทางปัญญาของมิลตันอย่างแท้จริง  และเริ่มเขียนบทกวี เช่น Arcades และ Comus : 1634 ที่หมายถึง..หน้ากากของเกียรติและความบริสุทธิ์

ภาพ จอห์น มิลตันกับบุตรสาวที่รักทั้ง 2 คน

ในปี 1638-39  จอห์น มิลตันได้ออกเดินทางไปฝรั่งเสศและอิตาลี  เพื่อหาประสบการณ์และแรงบัลดาลใจในการประพันธ์บทกวี  และได้เขียน Defension Secunda : 1654 ที่สนับสนุนระบบรัฐสภาภายใต้การนำของโอลิเวอร์  ครอมเวลล์  และในการเดินทางไปฟลอเรนซ์  โดยมิลตันได้มีโอกาสพบกับกาลิเลโอซึ่งถูกควบคุมตัวอยู่ที่ Arcetri ด้วย และเดินทางกลับอังกฤษในปี 1939  มิลตันก็เริ่มพูดและโต้เถียงเกี่ยวกับเรื่องการปฏิวัติ  และเขียน Of Reformation (การปฏิรูป :1641ซึ่งต่อมา..เขาได้เข้าร่วมกับรัฐบาลของครอมเวลล์ด้วย นอกจากนี้..เขายังได้ตีพิมพ์หนังสือเป็นชุดๆออกมาต่อต้านการปกครองของคณะสงฆ์ในขณะนั้นด้วย เช่น Of Prelatical Episcopacy : 1614 และ The Reason of Church-Government Urged against Prelaty : 1642  ซึ่งมิลตันได้แสดงตัวอย่างเปิดเผย..ที่จะสนับสนุนเสรีภาพในการนับถือศาสนา  และเสรีภาพของหนังสือพิมพ์ด้วย

(หมายเหตุ : จอห์น มิลตันอยู่ในยุคสมัยที่อังกฤษเกิดการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองและการปกครอง..หลายครั้ง จากระบอบกษัตริย์โดยพระเจ้าชาร์ลที่ 1 เปลี่ยนเป็นระบอบสาธารณรัฐโดยโอลิเวอร์  ครอมเวลล์ และกลับสู่ระบอบกษัตริย์อีกครั้งในสมัยพระเจ้าชาร์ดที่ 2 : ค.ศ.1660  )

ภาพ Frontispiece to Milton a Poem

และแม้ในปี ค.ศ.1654 จอห์น มิลตันได้กลายเป็นคนตาบอตอย่างสิ้นเชิง  ด้วยสาเหตุโรคต้อหิน (Glaucoma) ซึ่งทำให้เขาต้องแต่งบทกวีด้วยการบอกให้ผู้ช่วยจดบันทึก  แต่กระนั้น..เขาก็ยังผลิตผลงานชินเอกอุ..ออกมามากมาย  เช่น โคลงแบบซอนเน็ท ชื่อ On His Blindness ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับความตาบอดของเขา  และงานเขียนชิ้นสำคัญคือ สวรรค์หาย : Paradise Lost ซึ่งเป็นมหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่..แบบกลอนเปล่า ที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ.1667  ซึ่งเป็นหนังสือชุด 10 เล่ม อันเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการกบฏของลูซิเฟอร์ต่อพระเจ้า  และการที่อดัมกับเอวาถูกขับไล่ออกจากสวนเอเดน และเขียน Paradise Regain :1671 ที่พูดถึงการทดลองของพระคริสต์ (จากพระธรรมลูกา) และบทละครคราสสิคเรื่อง Samson Agonistes : (ความทนทุกข์ของแซมซัน) ที่พรรณาถึงความคิดคำนึงของแซมซันบุรุษจอมพลังในพระคัมภีร์พันธสัญญาเก่า เป็นต้น

จอห์น มิลตัน เสียชีวิตจากโรคไตวายเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ.1674  และร่างของเขาถูกฝังไว้ที่ St Giles Cripplegate ลอนดอน ซึ่งในภายหลัง..ได้มีการสร้างอนุสาวรีย์เพื่อเป็นเกียรติแก่เขา ในปี 1793 และชื่อของจอห์น มิลตัน ก็ยังได้รับการยกย่องว่าเป็นนักเขียนอังกฤษที่ยิ่งใหญ่ที่สุด..มาจนถึงปัจจุบัน

วาทะกรรม : " ไม่มีใครรักเสรีภาพอย่างเต็มอกเต็มใจเท่าคนดี  คนที่เหลือไม่ได้รักเสรีภาพ  แต่รักใบอนุญาตที่จะทำอะไรได้ตามใจชอบ..ต่างหาก "

ตัวอย่างบทกวีของจอห์น มิลตัน จาก Comus

ดวงดาว
ที่ธรรมชาติแขวนในสวรรค์
โคมบรรจุเต็ม
ด้วยน้ำมันนิรันดร์
ส่องแสงสว่าง
แก่นักเดินผู้หลงผิดและเปลี่ยวเปล่า


EmoticonEmoticon

ติดตามผ่าน FACEBOOK

Video Of Week : เส้นทางนักบุกเบิก สตีฟ จ๊อบส์

Live Currency Cross Rates


The Forex Quotes are powered by Investing.com.