คุณรู้ไหมว่า...ใครเป็นใคร..? บนโลกใบนี้

คุณรู้ไหมว่า...ใครเป็นใคร..? บนโลกใบนี้

Rene Descartes : เรเน่ เดส์การต์ส (ค.ศ.1596-1650)


Rene Descartes : เรเน่ เดส์การต์ส  นักปรัชญา  นักฟิสิกส์และนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส  ผู้ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งปรัชญาสมัยใหม่  และเป็นหัวหอกของกลุ่มลัทธิเหตุผลนิยม (Retionalism)  เจ้าของวลีดัง " I Think Therefore I am " (ฉันคิด  ฉันจึงมีตัวตน) และเขายังได้รับการยกย่องให้เป็น " บิดาแห่งเรขาคณิตวิเคราะห์ " ผู้วางรากฐานวิชาเรขาคณิตสมัยใหม่สำหรับศตวรรษที่ 17 อีกด้วย

เรเน่ เดส์การต์ส เกิดที่เมืองลาเฮย์ (La Haye) ในปี ค.ศ.1596 เป็นบุตรคนที่ 3 ของโคจิม (Joachim) ขุนนางจากตระกูลชนชั้นสูง ในช่วงแรก..เดส์การต์สได้เข้าศึกษาวิชาภาษาโบราณที่วิทยาลัยเยซูอิตที่ลาแฟล็ซ (La Fleche) และเข้าเรียนต่อในวิชากฏหมายที่ปัวตีเยรส์ (the University of Poitiersในปี ค.ศ.1618 เดส์การต์สได้เดินทางไปฮอลแลนด์และสมัครเข้าเป็นทหารสังกัดกองทัพดัตช์  ในช่วงเวลานี้เอง..ที่เขาได้รู้จักกับนักวิทยาศาสตร์ชาวฮอลแลนด์..ที่ได้จุดประกายความสนใจในวิชาคณฺิตศาสตร์..ให้กับเดส์การต์สอย่างมาก  ซึ่งในเวลาต่อมา..เขาได้ศึกษาวิชาปรัชญาและตรรกศาสตร์  โดยเฉพาะคณิตศาตร์เป็นวิชาที่เขาชอบมากที่สุด  ด้วยเหตุว่า " มันแน่นอนและชัดเจน " (certainty and self evident) ในปี 1620 เดส์การต์สได้ลาออกจากการเป็นทหารและออกเดินทางไปหลายๆประเทศ..เพื่อแสวงหารู้..และเดินทางกลับปารีสในปี 1625 เพื่อตั้งหลักแหล่ง..และเริ่มพัฒนาแนวคิดและหลักปรัชญาวิธีของตนเอง..ในปี ค.ศ.1649 เขาได้รับเชิญจากพระนางเจ้าคริสตินา (Queen Christina of Sweden) แห่งสวีเดน..ที่สนใจในวิชาปรัชญาและประสงค์จะเรียนรู้ปรัชญาจากเดส์การต์ส  โดยเขาได้พำนักอยู่ที่กรุงสตอกโฮล์ม (Stockholm) และเกิดป่วยอย่างกระทันหัน..เนื่องด้วยอาการปอดปวมและการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจอย่างรุนแรง (a erious respiratory infection) และเสียชีวิตลงในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1650

ภาพ เดส์การต์สและพระนางเจ้าคริสตินาแห่งสวีเดน

งานเขียนสำคัญ : ชิ้นแรกคือ " กฎสำหรับการสั่งจิต " (Rules for the Direction of the Mind :1628-9) ที่เขียนในระหว่างอยู่ในฮอลแลนด์ และว่าด้วยเรื่องโลก (Le monde : 1634) ในปี 1627 เดส์การต์สได้เขียน " วจนิพนธ์ว่าด้วยระเบียบวิธี " (Discours de la methode) ที่เป็นเสมือนคำนำ..สำหรับแนวคิด..ที่ว่าด้วยคณิตศาสตร์และฟิสิกส์  ที่เขาได้เริ่มใช้พิกัดคาร์ทีเซียน (Cartesian coordinates) และงานเขียนชิ้นอุโฆษของเดส์การต์ส คือ " สมาธิว่าด้วยปฐมปรัชญา " (Meditationes de Prima Philosophia : 1641) ที่สร้างกระแสคัดค้านจากนักคิดร่วมสมัย..หลายๆคน  และในปี 1644 เขาเขียน " หลักปรัชญา " (Principia Philosophiae) เพื่อใช้เป็นตำราทางเทววิทยา  และงานนิพนธ์ชิ้นสุดท้าย คือ  " กิเลสของวิญญาณ " (Les Passions de I'ame : 1649) เพื่อถวายให้เจ้าหญิงอลิซาเบ็ธแห่งโบฮีเมีย (Princess Elisabeth of Bohemia) และเพื่อตอบคำถามในเรื่องที่ว่าด้วย..ความสุข  ความรักและจริยธรรม

แนวความคิด : เรเน่ เดส์การต์ส คล้ายกับฟรานซิส  เบคอนที่ได้ตั้งข้อสงสัยต่อสิ่งที่ถูกยอมรับว่าเป็นความรู้  (เช่นความรู้ที่ได้มาด้วยผัสสะ/ประสาทสัมผัสต่างๆ) โดยเดส์การต์สเห็นว่าอุปสรรค์ที่ทำให้คนเราคิดไม่ตรงกันและไม่สามารถเข้าถึงความรู้ที่แท้จริงได้ ก็คือ " วิธีคิด " (ซึ่งแตกต่างจากเบคอนที่กล่าวว่าต้นต่อปัญหา คือ อคติ) โดยเดส์การต์สเชื่อมั่นว่า..วิธีทางนิรนัย (Deductive Logic) เพียงเท่านั้น..ที่เป็นบ่อเกิดของความรู้ ดังนั้น  จุดมุ่งหมายทางปรัชญาของเดส์การต์ส  ก็คือ  การพยายามเข้าถึงความรู้หรือความจริงได้ด้วยเหตุผล

ภาพ หน้าปกหนังสือ Cover of Meditations.

เนื่องด้วย..เดส์การต์สเป็นนักคณิตศาสตร์  เขาจึงได้ใช้วิธีการของเรขาคณฺิต..มาพัฒนาหลักปรัชญา..ของเขา  กล่าวคือ  วิชาเราขาคณิตนั้นเริ่มต้นจากสัจพจน์ (Axiom)  ซึ่งเป็นความจริงที่ทุกคนเห็นตรงกัน..โดยไม่มีข้อสงสัย  แล้วสัจพจน์ได้มาอย่างไร  เดส์การต์สกล่าวว่า " จิตของเรามีสมรรถภาพที่จะรู้ถึงสัจพจน์นี้ได้เอง  โดยไม่ต้องอาศัยประสบการณ์ หรือที่เรียกว่า รู้ได้ด้วยญาณทัศนะ (intuition) "  ต่อจากนั้นก็ใช้วิธีอ้างเหตุผลแบบนิรนัย (Deductive Logic) โดยพิสูจน์ทฤษฏีบทหรือมูลบท (postulate) ไปตามลำดับ..ที่ละขั้นๆ..จากง่ายไปหายากและซับซ้อนมากขึ้น  ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างสัจพจน์และมูลบทต่างๆนี้เรียกว่า " ความสัมพันธ์เชิงตรรกวิทยา " (logical relation) อันเป็นความคิดที่มีความสัมพันธ์กันตามกฎเกณฑ์ของเหตุผล  โดยไม่ต้องอาศัยประสบการณ์  และในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างข้อเท็จจริงที่ได้จากประสบการณ์นั้นเขาเรียกว่า  " ความสัมพันธ์เชิงวัตถุ " (material relation) ที่หมายถึง  การอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆที่เรารับรู้ได้ด้วยประสบการณ์  โดยมองเห็นมัน..ในฐานะที่เป็นสาเหตุ (cause) และผล (effect) ต่อกัน..  และเมื่อได้พิสูนจ์ทุกขั้นตอนอย่างถูกต้อง  และทุกคนเห็นตรงกัน..โดยไม่มีข้อสงสัยแล้ว  ความรู้ที่พิสูจน์มาได้นั้น..จึงถือว่าเป็นความจริงและเชื่อถือได้    

นอกจากนี้ เรเน่ เดส์การต์สยังเป็นผู้ก่อตั้งเรขาคณิตแบบวิเคราะห์ (Analytic geometry)  และปรับปรุงระบบสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์และศาสตร์เกี่ยวกับแสง  รวมทั้งยังมีอิทธิพลในการสร้างทฤษฏีใหม่ๆ..ทางดาราศาสตร์และพฤติกรรมของสัตว์..อีกด้วย

วาทะกรรม " ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจุบัน  ข้าพเจ้าเคยยอมรับว่าสิ่งที่เป็นจริงและแน่นอนที่สุดก็คือ  ความรู้ที่ได้จากผัสสะ  แต่หลายครั้งประสบการณ์ต่างๆ  ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นความหลอกลวงของผัสสะ  ดังนั้น  เราจึงไม่ควรไว้ใจกับสิ่งที่เคยหลอกลวงเรามาก่อน  "


EmoticonEmoticon

ติดตามผ่าน FACEBOOK

Video Of Week : เส้นทางนักบุกเบิก สตีฟ จ๊อบส์

Live Currency Cross Rates


The Forex Quotes are powered by Investing.com.