กุบไลข่านได้เชิญนักปราชญ์ลัทธิขงจื้อให้เป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน จนประสบความสำเร็จในการรวบรวมและพัฒนาจักรวรรดิจีนให้มีความเจริญรุ่งเรืองสูง โดยกุบไลข่านให้ความสนพระทัยในเรื่องเกษตรกรรม ซึ่งเป็นแกนชีวิตของชาวจีนทั่วทั้งอาณาจักร และพระองค์ได้วางมาตรการต่างๆ เพื่อส่งเสริมความเจริญเติบโตของเกษตรกรรมด้วย และยังให้ความสำคัญในทางเศรษฐกิจและการเมือง อีกทั้งให้ความสนใจในด้านการคมนาคมและการขนส่ง มีการสร้างสถานีไปรษณีย์และการส่งสารทางไปรษณีย์ตามถนนต่างๆทั้งทั้งอาณาจักรด้วย ด้วยเหตุนี้ อาณาจักรจงกั๋วจึงสามารถแผ่ขยายอำนาจจากปักกิ่งไปจรดทะเลดำทางทิศตะวันตก (เปอร์เซียและรัสเซีย)
ภาพ อาณาจักรจงกั๋ว (สีเขียว) ของกุบไลข่าน ค.ศ.1294
ต่อมาในปี ค.ศ. 1252 เมื่อชาวมองโกลเข้าไปในธิเบต กุบไลข่านได้มีความเลื่อมใสพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก พระองค์ทรงรับเอาพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำจักรวรรดิ และทรงอุปถัมภ์ศิลปวิทยาการต่างๆด้วย มาร์โค โปโล พ่อค้านักเดินเรืองชาวอิตาลีเล่าว่าเขาได้พำนักในราชสำนักของกุบไลข่านนานถึง 17 ปี และได้เขียนบันทึกถึงความยิ่งใหญ่ของจีนที่ทำให้โลกตะวันตกสนใจในแผ่นดินจีนมากขึ้น
เมื่อกุบไลข่านสิ้นพระชนม์ ราชวงศ์หยวนปกครองอาณาจักรจีนต่อมาอีกเป็นเวลา 109 ปี โดยมีกษัตริย์มองโกลขึ้นสืบต่อราชบัลลังก์ทั้งสิ้น 11 พระองค์ แต่ด้วยเหตุที่ไม่มีประเพณีหรือกฎมณเฑียรบาลกำหนดเรื่องการสืบตำแหน่งข่านหรือกษัตริย์มองโกล จึงมีปัญหาในเรื่องการแย้งชิงราชบัลลังก์ที่มักตัดสินกันด้วยดาบอยู่เสมอ ดังนั้น ราชวงศ์หยวนจึงสูญสิ้นไปในที่สุด
EmoticonEmoticon