คุณรู้ไหมว่า...ใครเป็นใคร..? บนโลกใบนี้

คุณรู้ไหมว่า...ใครเป็นใคร..? บนโลกใบนี้

Sir Francis Drake : เซอร์ฟรานซิส เดรค (ค.ศ.1545-1596)


Sir Francis Drake : เซอร์ฟรานซิส เดรค  นักเดินเรือและนักสำรวจชาวอังกฤษ  ผู้สร้างตำนานโจรสลัดที่ยิ่งใหญ่..ที่นำความมั่งคั่งร่ำรวยมาสู่อาณาจักรบริเทน  และทำให้รัชสมัยของพระราชินิเอลิซาเบ็ธที่ 1 กลายเป็นชาติมหาอำนาจทางทะเลในเวลาต่อมา

ฟรานซิส เดรคกำเนิดจากครอบครัวกะลาสีเรือ..และเติบโตในแวดวงของคนเดินเรือ  โดยเขาเริ่มจากการล่องเรือค้าทาสจากแอฟริกา..นำไปขายยังโลกใหม่ (อาณานิคมอังกฤษ..ในอเมริกา) ต่อมา..เมื่ออังกฤษมีความขัดแย้งกับสเปน  ซึ่งเดรกเอง..ก็มีความโกรธแค้นส่วนตัวกับสเปนด้วย  เขาจึงได้ตั้งตัวเป็นโจรสลัดในเขตทะเลคาริบเบียน  ที่ในเวลาต่อมา..ได้รับพระราชินีอุปถัมภ์จากพระนางเจ้าเอลิซาเบ็ธที่ 1 ให้เป็นโจรสลัดหลวง หรือ ที่เรียกว่า " ไพรเวเทียร์ "  โดยพระนางเอลิซาเบ็ธได้ทรงประทานเรือ 2 ลำติดตั้งปืนใหญ่ที่มีอานุภาพสูงรอบลำเรือ..พร้อมลูกเรือ 70 คน เพื่อมุ่งหน้าไปอเมริกาและออกก่อกวนในน่านน้ำมหาสมุทรแอตแลนติกและคอยปล้นสะดมเรือสินค้าและเรือสมบัติของสเปน..ซึ่งเดรกได้นำสมบัติมูลค่านับล้านๆ..กลับมาถวายให้พระราชินีเอลิซาเบ็ธและเติมเต็มท้องพระคลังของอังกฤษไม่ขาดสาย  และทำลายเรือของสเปนไปจำนวนไม่น้อยเลย

ภาพ  เส้นทางการเดินเรือรอบโลกของฟรานซิส เดรค

นอกจากนี้...ฟรานซิส เดรคยังมีบทบาทสำคัญในการเอาชนะกองเรือรบอาร์มาดาของสเปน ในปี ค.ศ.1588  และเขายังเป็นชาวอังกฤษคนแรกที่เดินเรือรอบโลก (หลังจากการปล้นเรือหลวงคาคาฟูเอโกของสเปน) เดรกได้มุ่งหน้ากลับอังกฤษทางอ่าวแคลิฟอร์เนีย  แล้วบ่ายหน้าไปทางทิศตะวันตกสู่มหาสมุทรแปซิฟิก  ผ่านหมู่เกาะฟิลิปปินส์  ช่องแคบมะละกา  ผ่านอินเดียและแหลมกู๊ดโฮป  และกลับสู่ท่าเรือเมืองพลีมัธในอังกฤษ วันที่ 26 กันยายน ค.ศ.1580 ซึ่งเป็นการเดินทางรอบโลกแบบเต็มใบ...โดยยังมีชีวิตอยู่ (ต่างจาก..มาเจลแลนนักเดินเรือขาวโปรตุเกสที่เสียชีวิตในระหว่างเดินทางกลับบ้าน)

ในปี ค.ศ.1589 ฟรานซิส เดรคได้ออกเดินเรืออีกครั้ง  เพื่อไปอินเดียตะวันตก  แต่เขาได้เสียชีวิตลงด้วยโรคบิด  และร่างถูกฝังในทะเลที่นอกชายฝั่งปอร์โตเบลโล (Portobelo) ปานามา

หมายเหตุ : ความขัดแย้งระหว่างอังกฤษและสเปน  ในรัชสมัยพระราขินีเอลิซาเบ็ธที่ 1 กับพระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งสเปน  มีชนวนเหตุมาจาก...สเปนได้จมเรือสินค้าหลายลำของ จอห์น ฮอว์กินส์ (John Hawkins) ในปี 1562  ซึ่งทำให้พระนางเอลิซาเบ็ธเกิดความโกรธแค้น  อังกฤษจึงลอบให้การสนับสนุนชาวดัตซ์ในการกบฏต่อสเปนอย่างลับๆ  และอังกฤษยังได้ประกาศยึดเรือสินค้าของสเปนที่จอดเทียบท่าในอังกฤษไว้ทั้งหมด  และตั้งกองเรือโจรสลัดของฟรานซิส เดรค เพื่อคอยปล้นสะดมเรือของสเปน  ซึ่งนำไปสูการตอบโต้ของสเปน..โดยการสั่งห้ามไม่ให้เรือสินค้าของอังกฤษเข้าไปยังเนเธอร์แลนด์หรือดัตช์  และสร้างความขัดแย้งและเป็นศัตรูต่อกันเรื่อยๆมา  จนกระทั้ง..เกิดสงครามยุทธนาวีครั้งยิ่งใหญ่กับกองเรืออาร์มาดา ในปีค.ศ.1588 ซึ่งอังกฤษเป็นฝ่ายชนะสงครามในครั้งนั้น  เป็นต้น

Tokugawa, Ieyasu : โตกูกาว่า อีเอยาสุ (ค.ศ.1543-1616)


Tokugawa, Ieyasu : โตกูกาว่า อีเอยาสุ  หัวหน้าตระกูลไดเมียวที่ทรงอำนาจที่สุดในญี่ปุ่น  โดยการรบชนะหัวหน้าตระกูลใหญ่อื่นๆ  และรวมประเทศญี่ปุ่นเข้าด้วยกันให้เป็นปึกแผ่น  และตั้งตัวเป็นผู้นำทางทหารที่เรียกว่า " โชกุน " (shogun) ในปี 1603  ซึ่งทำให้ญี่ปุ่นมีความเจริญรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมและเป็นยุคสมัยที่สงบสุขอย่างยาวนาน

โตกูกาว่าได้สถาปนานครเอโดะ  ให้เป็นที่มั่นที่แข็งแรงของรัฐบาลบาคุฟุของเขา  และปกครองด้วยระบบขุนนางสวามิภักดิ์หรือฟิวดัล (feudalism) ที่มีการจัดระเบียบอย่างเข้มงวด (ในเวลานั้นญี่ปุ่นยังคงใช้ระบบการปกครองแบบมี 2 รัฐบาลคู่กัน คือ 1.รัฐบาลราชสำนักเดิม และ 2.รัฐบาลบาคุฟุ) ซึ่งโตกูกาว่ามีอำนาจปกครองญี่ปุ่นแท้จริงเพียง 1 ใน 4 ของประเทศ..โดยมีศูนย์กลางที่ปราสาทใหญ่เอโดะ  ส่วนที่เหลืออีก 3 ใน 4 หรือมีอยู่ประมาณ 250 สภาอยู่ใต้อำนาจของไดเมียวท้องถิ่น  โดยมีการจัดอันดับชั้นของไดเมียวไว้อย่างเข้มงวด  ซึ่งทำให้ญี่ปุ่นมีระบบการปกครองที่เข้มแข็ง

ภาพพิมพ์อุกิโยะ แสดงถึงสภาพสงครามที่ Azukizaka ในปี 1563–64

ในด้านนโยบายต่างประเทศ  โตกูกาว่าได้ดำเนินนโยบายด้วยการอยู่อย่างสันโดษ..และปิดประเทศยาวนานถึง 2  ศตวรรษ  เพื่อป้องกันญี่ปุนจากอิทธิพลภายนอก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากพวกที่เผยแพร่ศาสนาคริสต์ (ในปี 1613 : โตกูกาว่าได้ออกกฤษฏีกาขับไล่ชาวคริสต์ออกนอกญี่ปุ่นทั้งหมดเกือบ 90% จะเหลือก็จำนวนน้อยที่หลบซ่อนอยู่ )

ในสมัยเอโดะ  โตกูกาว่าได้แบ่งคนออกเป็น 4 ชนชั้นหรือ 4 ระดับอย่างเคร่งครัด  เรียกกันว่า " มิบุงเซ " ซึ่งประกอบด้วย

1) นักรบ (บุชิ) หรือซามูไร (ประมาณร้อยละ 5 %) เป็นข้าราชการพลเรือนและได้รับเบี้ยเลี้ยงจากรัฐ
2) พ่อค้า (โชนิง) เฟื่องฟูขึ้นจากการทำการค้าขายกับชาวจีนและชาวดัชท์
3) ช่างฝีมือ (โชะกุนิง)
4) ชาวไร่ชาวนา (โนมิง) ประมาณร้อยละ 80 ของประชากรทั้งหมด

ทั้งนี้  พ่อค้าและช่างฝีมือนั้น..บางครั้งก็เรียกรวมกันว่าคนเมืองหรือชาวเมือง (โจนิง) และอยู่ใต้การปกครองของเหล่าซามูไร  มีเพียงชาวนาเท่านั้นที่อาศัยอยู่ในชนบท  ซึ่งทั้งหมดปกครองด้วยระบบรวมศูนย์อำนาจ (centralization) ไว้ที่เมืองใหญ่ (เกียวโต)  ที่รายล้อมด้วยปราสาทไดเมียวในท้องถิ่นต่างๆ

ยุคสมัยเอโดะกล่าวได้ว่า...เป็นยุคที่วัฒนธรรมของราษฎรสามัญเจริญจนถึงขีดสุด  ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่17 จนถึงต้นศตวรรษที่ 18  เป็นยุคทองของศิลปะวัฒนธรรม เก็นโระขุ (Genroku) ที่ผสมผสานกันระหว่างนักรบซามูไรและสามัญชน  อันมีเอกลักษณ์ เช่น เกอิชา  ละครหุ่น  ละครคาบูกิ  การชงชาและหัตถกรรมต่างๆ  ภาพอุคิโยะ บุงจิง-งะ  และมีศิลปินกำเนิดจากชนชั้นสามัญชนมากมาย  เช่น  นักเขียนอย่าง อิฮะระ ไซคะขุ (Ihara Saikaku) นักกลอนไฮกุ มัตสุโอะ บาโช (Matsuo Basho) นักแต่งบทละคร ชิคะมะทสึ มะซะเอะมง (Chikamatsu MonZaemon) เป็นต้น

โตกูกาว่า อีเอยาสุ เสียชีวิตลงในปี ค.ศ.1616 ด้วยวัย 74 ปี  ในขณะที่ญี่ปุ่นเข้าสู่ยุคสมัยที่มีเอกภาพมากที่สุดยุคหนึ่ง  บุตรชายของเขาคือ โตกุกาวะ ฮิเดทาดะ ได้ขึ้นสืบทอดตำแหน่งโชกุนต่อ..โดยตระกูลโตกูกาว่าและลูกหลานได้สืบทอดอำนาจปกครองญี่ปุ่นนานถึง 264 ปี  ก่อนที่จะถูกนักรบซามูไรกลุ่มอื่นโค่นอำนาจลในปี ค.ศ.1867

เรื่องสั้น : นิทช์เช่..ในทัศนะหนึ่ง


บนเก้าอี้ยาวบุรุษฟั่นเฟือนคนหนึ่งนอนซุกตัวอยู่ใต้ผ้าห่มหนาและทอดสายตาเหม่อมองออกไปข้างหน้าด้วยความครุ่นคิด  มีหลายๆสิ่งผ่านเข้ามาในห้วงคำนึงที่ขาดๆหายๆ  และจางหายไปในความเลื่อนลอย  แต่เขาผู้นี้ก็ไม่เคยหยุดคิดเลย  สติสัมปชัญญะที่กระพร่องกระแพร่งยังคงทำงานอย่างหนัก  และแม้ว่าเขาจะหยุดเขียนหนังสือมานานแล้ว  เพราะอาการทางประสาทที่กำเริบบ่อยๆในช่วงหลังนี้ อ่านต่อที่นี่ http://piyarith-tell.blogspot.com/2013/09/blog-post.html

Akbar : พระเจ้าอัคบาร์ (ค.ศ.1542-1605)


Akbar : พระเจ้าอัคบาร์มหาราช  หรือพระนามเต็มว่า " จาลาลุดดิน มูฮัมหมัด อัคบาร์ " (Jalaluddin Muhammad Akbar) จักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของราชวงศ์โมกุล (Mughal Dynasty) ตั้งแต่ปี ค.ศ.1556-1605  พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีปรีชาสามารถทั้งการรบ  การปกครอง  และศิลปวิทยาแขนงต่างๆ  โดยพระเจ้าอัคบาร์ได้ขยายเขตแดนออกไปกว้างไกล  จากทางทิศตะวันตกที่ปากีสถานไปจรดทิศตะวันออกบริเวณอ่าวเบงกอลหรือบังคาเทศ  และยังสามารถรุกขยายอาณาเขตลงไปยังแผ่นดินใต้..จนไปถึงที่ราบสูงเดคคานด้วย

ในการปกครอง พระเจ้าอัคบาร์ทรงใช้การปกครองแบบรัฐบาลกลาง (Akbar's system of central government) และตั้งหน่วยงานอื่นๆเพื่อสนับสนุนการบริหาร เช่น กรมสรรพากรดูแลด้านการเงินและการจัดเก็บภาษี  กรมการทหารดูแลเรื่องความมั่นคงและงานข่าวกรอง กรมตุลาการดูแลการทำงานของศาลและสวัสดิภาพครัวเรือนและความเชื่อทางศาสนาด้วย  อีกทั้งยังได้ขยายการวางรากฐานกำแพงเมืองหลวงใหม่ออกไป 23 ไมล์ ทางตะวันตกของอัครา  เป็นต้น

ภาพพระเจ้าอัคบาร์ในกองทัพโมกุลที่เกรียงไกร

พระเจ้าอัคบาร์ได้สร้างอาณาจักรโมกุลอินเดียให้กลายเป็นยุคทองแห่งการค้าขาย..เช่น  พัฒนาระบบเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและมีเสถียรภาพ  โดยการสนับสนุนพ่อค้าและประเทศคู่ค้า..ด้วยการให้ความคุ้มครองและความปลอดภัยสำหรับการทำธุรกรรมและการค้า ทรงสร้างเหรียญกษาปณ์...และกำหนดภาษีในราคาที่ต่ำเพื่อกระตุ้นให้เกิดการค้าขายต่างประเทศ  และตั้งกองตำรวจเพื่อดูแลความปลอดภัยในเส้นทางการค้าและการสื่อสาร..ให้กับพ่อค้าและนักเดินทาง  ที่นำไปสูการขยายตัวในเชิงพาณิชย์อย่างมาก  และยังมีกลยุทธในการยึดครองเมืองทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เช่น Multan และ Lahore ในแคว้นปัญจาบ  และสร้างป้อมขนาดเล็กที่เรียกว่า " Thanas" ตลอดชายแดนไปจนถึงเปอร์เซียและเอเซียกลาง

พระเจ้าอัคบาร์ได้ปฏิรูปการเก็บภาษี..ด้วยการกระจายการประเมินภาษีประจำปี..ในผลผลิตภาคการเกษตร  ซึ่งเรียกใหม่ว่าระบบ " dahsala " โดยคำนึงถึงราคาพืชผลในท้องถิ่นและการจัดกลุ่มพื้นที่การผลิตที่คล้ายกันในการประเมิน และแม้พระองค์จะเป็นมุสลิมสุหนี (Sunni Islam) แต่พระอัคบาร์ก็ทรงมีนโยบายให้เสรีภาพต่อศาสนาต่างๆ และยังทรงสนใจศึกษาในศาสนาต่างๆด้วย  และส่งเสริมให้เกิดความสามัคคีในชุมชนระหว่างชาวฮินดูและมุสลิม เป็นต้น

ในวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ.1605 พระเจ้าอัคบาร์ทรงประชวรด้วยโรคบิด (dysentery) และสิ้นพระชนม์ในเดือนเดียวกัน  ร่างของพระองค์ถูกนำไปฝังที่สุสานใน Sikandra, Agra.

หมายเหตุ : ราชวงศ์โมกุลหรือ "มูกอล" คือ ชนชาวมุสลิมเชื่อสายมองโกลที่นับถือศาสนาอิสลาม  ซึ่งเป็นเผ่าพันธุ์ผสมระหว่างมองโกลและเตอร์ก...ในสมัยเจงกิสข่านที่ได้เคยขยายดินแดนครอบคลุมไปถึงอินเดีย  เอเซียกลางและยุโรปตะวันออก

Montaigne, Michel Eyquem De : มองเตญ (ค.ศ.1533-1592)


Montaigne, Michel Eyquem De : มองเตญ รัฐบุรุษ นักกฎหมายชาวฝรั่งเศส  และนักเขียนทรงอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็น " บิดาแห่งวิมตินิยมสมัยใหม่ " เขามีชื่อเสียงจากการทำให้ความเรียง...เป็นที่นิยมในฐานะวรรณกรรม  ด้วยงานเขียนอัตชีวประวัติเล่มมหึมาของเขาที่เป็นความเรียงชื่อ (Essais ภาษาฝรั่งเศสแปลว่า " การทดลอง " หรือ "ความพยายาม ") ซึ่งเขียนด้วยมุมมองในสิ่งต่างๆ..จากทัศนะของคนเมืองที่ช่างสงสัย  และเป็นที่รู้จักกันมากที่สุดจาก..คำว่า " ข้ารู้สิ่งใดหรือ ? " ( Que saia-je?/เกอ เส เฌอ? เป็นภาษาฝรั่งเศส) ซึ่งเป็นการตั้งข้อสังเกต..และคำถามเชิงวิมติวาท..ต่อผู้คนและยุคสมัย..อย่างแหลมคม  ที่ตราบจนทุกวันนี้..Essais ยังเป็นความเรียงที่ทรงอิทธิพลกว้างขวางที่สุดในยุโรปเท่าที่เคยเขียนกันมา

มองเตญได้พยายามตรวจสอบโลกผ่านเลนส์..ของสิ่งเดียวที่เขาไว้วางใจ..นั่นคือ  การตรึงตรองและสติปัญญาของเขาเอง  และการประกาศว่า " ตัวข้าคือสาระของหนังสือของข้า " อย่างอหังการนั้น  ถูกวิจารณ์และมองว่าเป็นการตามใจตัวเอง..มากไป  แต่กระนั้น..ความเรียงของเขาก็เข้าถึงนักอ่านสมัยใหม่..ได้มากกว่านักเขียนในยุค Renaissance  คนอื่นๆ  และยังคงมีความทันสมัยอย่างน่าทึ่ง และมีอิทธิพลต่อนักเขียนทั่วโลก เช่น เรอเน เดสการ์ตส์, ปาสกาล, รูสโซ่, ราล์ฟ วาลโด อีเมอร์สัน, ฟรีดิริช นีทซ์เช่, ฯลฯ รวมทั้งเช็คเสปียร์ด้วย

ภาพ นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยทั่วโลก..ปัจจุบันยังคงศึกษางานเขียนมองเตญ

มองเตญยังสนับสนุนความมีเสรีแบบธรรมชาติและคัดค้านเรื่องระเบียบวินัยในรูปแบบต่างๆ  และทัศนะทางการศึกษาของเขา..ก็เป็นทัศนะแบบเสรีนิยมที่ล่ำหน้ากว่าคนในยุคเดียวกัน  มองเตญมองว่า..จุดมุ่งหมายของการศึกษานั้น..ควรมีเป้าหมาย..เพื่อช่วยให้มนุยษ์เข้าใจในสิ่งต่างๆอย่างที่มันเป็นอยู่จริง  เพื่อที่เราจะได้รู้จักดำเนินชีวิตที่มีความผสมผสานกลมกลืนกับธรรมชาติได้ดี..ยิ่งขึ้น  โดยมองเตญได้ให้ความสำคัญในการสร้างความสามารถในการวิเคราะห์..ในตัวบุคคล  เป็นหลัก  ไม่ใช่แค่การท่องจำข้อมูลต่างๆ  และมองเตญเชื่อว่า..บทเรียนที่มนุษย์เราควรจะได้เรียนรู้จากชีวิตและธรรมชาติ..นั้นมีค่ายิ่งกว่าหนังสือใดๆในโลกนี้

มองเตญได้รับเลือกเป็นนายกเทศมนตรีเมืองบอร์โดซ์ช่วงปี ค.ศ.1580-1583 และมักได้รับความชื่นชมในฐานะรัฐบุรุษมากกว่า..ในปีค.ศ. 1592 เขาเสียชีวิตจากอาการ Peritonsillar abscess ด้วยวัย 56 ปี  ที่ Château de Montaigne และภายหลังร่างของเขาถูกนำไปฝั่งที่โบสถ์ church of Saint Antoine at Bordeaux

วาทะกรรม " ผมชอบการสังสรรค์กับพวกชาวนา  เพราะว่าพวกเขาไม่ได้รับการศึกษา..มากเพียงพอที่จะรู้จักการให้เหตุผลอะไรอย่างผิดๆ "

Elizabeth I : สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบ็ธที่ 1 (ค.ศ.1533-1603)


Elizabeth I : สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบ็ธที่ 1 พระราชธิดาของพระเจ้าเฮนรีที่ 8 กับพระนางแอน โบลีน (Anne Boleyn) พระราชินีเอลิซาเบ็ธที่ 1 ขึ้นครองราชย์เป็นพระราชินีแห่งอังกฤษและไอร์แลนด์ในปี ค.ศ.1558  เมื่อพระชนม์ 25 พรรษา  ในช่วงเวลาที่แผ่นดินอังกฤษมีความวุ่นวายทั้งทางศาสนาและการเมือง

ในวัยเยาว์..พระชนมายุได้เพียง 3 พรรษา  พระราชินีเอลิซาเบ็ธ..ทรงถูกประกาศว่าเป็นพระราชธิดานอกกฎหมาย  และพระองค์ได้รับการอบรมเลี้ยงดูรวมกัน...กับเจ้าชายเอ็ดเวิร์ดน้องต่างมารดาของพระนางเจน ซีมัวร์ (Queen Jane Seymour) แต่กระนั้น...ก็ทรงได้รับการศึกษาอย่างดีเลิศ  เช่น  ภาษาลาติน, กรีก, สเปนและฝรั่งเศส  รวมทั้งประวัติศาสตร์, ปรัชญาและคณิตศาสตร์ด้วย

ในด้านศาสนา   เมื่อพระราชินีเอลิซาเบ็ธที่ 1 ขึ้นครองราชย์สิ่งแรกที่พระนางทรงกระทำ คือ การสนับสนุนการก่อตั้งสถาบันโปรเตสแตนต์อังกฤษ (กฎหมายสนับสนุนคาทอลิกในสมัยของพระนางแมรี่ที่ 1 ได้ถูกยกเลิกไป..และสถาปนานิกาย Church of England ขึ้นแทน : 1559-1563) และเพื่อจะหาเส้นทางสายกลาง...ให้เป็นที่พอใจของทั้งสองกลุ่ม..ทั้งคาทอลิกและโปรเตสแตนต์  พระนางเอลิซาเบ็ธทรงยอมอยู่ใต้กฎหมาย " Supremacy Bill " ที่ออกใหม่  ในเดือนเมษายน ค.ศ.1559  โดยพระนางเอลิซาเบ็ธทรงมีตำแหน่งศาสนาใหม่ว่า  " Queen Supreme Governor " ซึ่งมีฐานะด้อยลงและมิได้เป็น " Supreme Head " หรือ " ประมุขศาสนาสูงสุด "  ดังสมัยก่อนหน้านี้ และทรงแต่งตั้งแมธทิว ปาร์คเกอร์เป็นอาร์คบิชอปแห่งแคนเทอเบอรี่ แต่ถึงกระนั้น..ก็ยังไม่เป็นที่พอใจของพวกหัวรุนแรงทั้งสองกลุ่ม   ดังนั้น  พระราชินีเอลิซาเบ็ธที่ 1และรัฐบาลจึงได้ขอร้อง...ให้ทั้งสองกลุ่มเห็นแก่...ประเทศอังกฤษที่ต้องเผชิญกับปัญหาทางศาสนามาหลายครั้งแล้ว

ในด้านการต่างประเทศ  พระราชินีเอลิซาเบ็ธที่ 1 ทรงโชคดีที่ทรงมีที่ปรึกษาราชการผู้มีคุณธรรม  เช่น  เซอร์วิลเลียม เซซิล  บารอนแห่งเบอร์ลีย์ที่ 1 (รัฐมนตรีต่างประเทศ) และฟรานซิส วอลซิงแฮม เป็นต้น ในทางเหนือ  พระนางเอลิซาเบ็ธทรงสนับสนุนการปฏิรูปสก๊อตแลนด์  อันช่วยให้พระราชินีแมรีแห่งสก็อตแลนด์กลับคืนอังกฤษในปี 1561 (ซึ่งอ้างสิทธิเหนือราชบัลลังค์อังกฤษ  และปฏิเสธสัญญาเอดินเบอร์ก)  แต่เมื่อแผนการล้มล้างพระราชินีเอลิซาเบ็ธ...ด้วยการสนับสนุนอย่างลับๆ..ของพระราชินีแมรีแห่งสก็อตแลนด์ถูกเปิดเผยขึ้น  จึงเป็นเหตุให้พระราชินีแมรี่แห่งสก็อต (Mary Queen of Scots) ถูกประหารชีวิตในปี 1586   แต่อังกฤษก็ยังดำเนินนโยบายกับสก็อตแลนด์เป็นอย่างดี  ด้วยการเซ็นสัญญาเบอร์กวิก (Treaty of Berwick : 1586) นอกจากนี้...พระนางเอลิซาเบ็ธยังส่งเสริมให้ชาวอังกฤษออกสำรวจและแสวงหาอาณานิคมในดินแดนโลกใหม่  และสนับสนุนฝ่ายกบฎชาวฮอลันดาต่อต้านสเปน  โดยมีการ " แต่งตั้งโจรสลัด "  อย่างเป็นทางการ เช่น จอห์น ฮอว์ลีน และ ฟรานซิส เดรก เพื่อคอยปล้นสดมเรือสิ้นค้าของสเปน ในปี 1588 อันก่อให้เกิดสงครามทางทะเลกับกองเรืออามันดาของสเปน  และอังกฤษก็มีชัยชนะในสงครามที่ยิ่งใหญ่นี้  และอังกฤษได้ก่อตั้งบริษัทอินเดียตะวันออก (East India Company) ในปี 1600 เป็นต้น

ภาพ Coat of arms ของพระราชินีเอลิซาเบ็ทที่ 1 
เป็นคำขวัญว่า "Semper eadem" แปลว่า ความเสมอกัน

ในด้านการปกครอง พระราชินีเอลิซาเบ็ธที่ 1 ทรงใช้ระบบการปกครองแบบ " กษัตริย์ในรัฐสภา (King in Parliament) "  โดยพระนางทรงทรงเชื่อว่า..การปกครองโดยรัฐสภาจะป้องกันการกบฎหรือความไม่สงบอื่นๆได้  และพระนางเอลิซาเบ็ธทรงพยายยามดำเนินนโยบายที่เป็นสายกลางมากกว่า  พระราชบิดา  พระอนุชา และ พระเชษฐภคินี  ในการดูแลข้าราชบริพาร  พระนางทรงขายที่ดินของวัดที่ยึดมาได้ให้กับขุนนางในราคาต่ำ  (เมื่ออังกฤษแยกศาสนาออกจากโรม)  ซึ่งทำให้อังกฤษมีอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น  แต่..ในด้านการงบประมาณ...พระนางก็ทรงขึ้นอัตราภาษีเพื่อระดมเงินไปใช้ในการทำสงครามในต่างประเทศ เช่น เนเธอร์แลนด์, ฝรั่งเศสและไอร์แลนด์  จึงก่อให้เกิดความอดอยาก...เศรษฐกิจตกต่ำ  และความไม่สงบในสังคม...ในช่วงปี ค.ศ.1597  รัฐบาลจึงแก้ไขด้วยการออก " กฎหมายคนจน " (Poor Law) ในปี 1597 โดยการเรียกเก็บภาษีเพิ่มจากท้องถิ่นไปอุดหนุนคนยากจน

แต่ถึงอย่างไร...พระราชินีเอลิซาเบ็ธก็ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีพระปรีชาสามารถในการปกครองอย่างมาก...ทรงทำให้อังกฤษกลายเป็นชาติมหาอำนาจที่ขยายแสงยานุภาพไปทั่วโลก  ในรัชสมัยของพระองค์...คือ  ยุคทองของอังกฤษ..ที่มีความเจริญรุ่งเรืองทั้งทางเศรษฐกิจ  การเมือง  การทหาร  วัฒนธรรม  วรรณกรรมและดนตรี  ศีลปินเอกในสมัยนี้ คือ เช็คสเปียร์, สเปนเซอร์และคริสต์โตเฟอร์  มาร์โลว์ เป็นต้น

พระราชินีเอลิซาเบ็ธที่ 1 ทรงมีคำขวัญที่ทรงใช้อยู่เสมอ..คำหนึ่งคือ " video et taceo " แปลว่า " ข้าพเจ้ารู้แต่ข้าพเจ้าไม่พูด "  ซึ่งทำให้พระนางรอดพ้นจากศัตรูทางการเมืองและการเรียกร้องของรัฐบาลในการอภิเษกสมรสหลายครั้ง  ซึ่งพระนางเอลิซาเบ็ธไม่ได้ทรงทำการเสกสมรสกับผู้ใด  ทำให้พระนางมีชื่อเสียงว่าเป็น " พระราชินีผู้ทรงพรหมจรรย์ "  ด้วยเหตุนี  พระราชินีเอลิซาเบ็ธจึงไม่มีรัชธายาท  และมื่อพระราชินีเอลิซาเบ็ธที่ 1 ทรงสวรรคตในวันที่ 24 มีนาคม 1603 ราชวงศ์ทิวดอร์ก็สิ้นสุดลงไปด้วย  และพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งราชวงศสจ๊วดได้ขึ้นสืบต่อราชบัลลังก์อังกฤษสืบต่อไป

เรื่องสั้น : คามิล คลอเดล : แด่...อิสรภาพที่ไม่มีวันมาถึง

 คามิล  คลอเดล และ โอกุสต์  โรแดง
ผมเขียนเรื่องนี้..ไว้หลายเดือนแล้ว  เลยอยากนำมาแบ่งปันกับเพื่อนๆ


                                 “ พวกแกเป็นใคร ? ”
                                “ ออกไปจากห้องของฉันนะ  ออกไป...”  คามิลร้องตวาดไล่  ผู้มาเยือนในชุดแต่งกายประหลาด  เสื้อแขนยาวตัวใหญ่  สวมหมวกแปลกๆและรองเท้าบู๊ต  ท่าทางดูน่ากลัว
                                “ อย่ามาแตะต้องตัวฉันนะ ”  เธอขู่คำรามและถอยหลังหนีไปที่มุมห้อง  ตั้งท่าเตรียมพร้อมต่อสู้  เพียงชั่วอึดใจ...เสียงกรีดร้อง  เอ็ดอึง  ปึงปังก็ดังขึ้น

                                บุรุษพยาบาลสองคนต้องใช้เวลาอยู่พักใหญ่...กว่าจะกลุ้มรุมกันจับตัวคามิลได้สำเร็จ  และนำเธอออกมาจากห้องในอพาร์ทเม้นท์ชั้นล่างทางหน้าต่าง...ด้วยความทุลักทุเล

                                คามิล  คลอเดล  ถูกส่งตัวไปที่โรงพยาบาลโรคจิตวิลอีแวร์ด  ใน Neuilly-sur-Marne ไม่นานหลังจากพ่อของเธอได้เสียชีวิตลงในปี ค.ศ.1913  โดยการผลักไสของแม่และน้องชาย  นับเป็นการปิดฉากชีวิตที่วิปลาสของนักประติมากรหญิงชาวฝรั่งเศส  ผู้มีเสน่ห์และเปี่ยมด้วยพลังแห่งการสร้างสรรค์  แห่งศตวรรษที่ 19  และทำให้...เธอต้องสูญสิ้นซึ่งอิสรภาพตลอดไป
 อ่านต่อที่นี่ http://piyarith-tell.blogspot.com/2014/11/blog-post.html

Francis Bacon, Viscount St. Albans : ฟรานซิส เบคอน (ค.ศ.1516-1626)


Francis Bacon, Viscount St. Albans : ฟรานซิส เบคอน  นักปรัชญาและผู้บุกเบิกวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ในศตวรรษที่ 18 เขาได้ยืนยันถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์ประสบการณ์ (science of experience) และเป็นหัวหอกสำคัญของกลุ่มลัทธิประสบการณ์นิยม (Empiricism) ในอังกฤษ

เบคอนเกิดในครอบครัวขุนนางชั้นสูง  เขาเรียนจบทางกฎหมายจากปารีส  และเคยเป็นอัครมหาเสนาบดีของพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แต่..ต้องลาออกจากราชการในเวลาต่อมา (คลิกอ่านเบื้องหลังที่นี่)  เบคอนเป็นที่จดจำในฐานะ...ผู้เสนอแนวคิดใหม่..ในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์  ซึ่งต่างไปจากแนวคิดของอริสโตเติล (ด้วยวิธีอุปนัยแบบไม่เลือกตัวอย่างการพิจารณา)  แต่ในหนังสือ Novun Organum : 1620  เบคอนได้เสนอวิธีการอุปนัยใหม่..ที่เรียกว่า " เครื่องมือใหม่ " (New organon) โดยการเลือกตัวอย่างหรือข้อมูลที่เหมาะสมมาใช้ในการพิจารณา  เพราะเป็นวีธีที่ดีที่สุด...ในการค้นหาความรู้และความจริงผ่านกระบวนการเชิงประจักษ์  ดังที่เขาเคยกล่าวว่า " วิทยาศาสตร์ทุกสาขาย่อมวางรากฐานอยู่บนความชัดเจน (Experience) ซึ่งประกอบด้วยการประมวลข้อเท็จจริงอันได้มาทางผัสสะ  ผ่านระบบระบบการค้นคว้าสืบสวนทางเหตุผล (Induction) วิธีวิเคราะห์ (Analysis) วีธีเปรียบเทียบ (Comparison) และวิธีการสังเกตและทดลอง (Experiment)" ซึ่งได้กลายเป็นหลักการสำคัญของวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน  หรือที่เรียกว่า...วิธีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์แบบ  Induction (การศึกษาแบบสังเกตการณ์  ก่อนนำมาสรุปเป็นเหตุเป็นผล หรือ ทฤษฏีบท)

ภาพรูปปั้นของ ฟรานซิส เบคอน ที่ South Square, London

งานเขียนสำคัญ

  1. พาร์ดิชั่นของวิทยาศาสตร์ (De Augmentis Scientiarum)
  2. วิธีการใหม่ (Novum Organum)
  3. ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ (Historia Naturalis)
  4. บันไดแห่งสติปัญญา (Scala Intellectus)
  5. ความคาดหวังของปรัชญาที่ 2 (Anticipationes Philosophiæ Secunda)
  6. อันดับที่ 2 ของปรัชญาหรือ การใช้งานทางวิทยาศาสตร์ (Philosophia Secunda AUT Scientia Activæ)


ฟรานซิส เบคอนเสียชีวิตที่  Arundel mansion at Highgate outside London ในเดือนกันยายน  ปี ค.ศ.1626 ด้วยความพยายามเก็บรักษานกแช่แข็งไว้ในหิมะ..ซึ่งนำไปสู่อาการปวดปวมและเสียชีวิต...อย่างประหลาดในที่สุด

วาทะกรรม " คนฉลาดจะสร้างโอกาสได้มากกว่าโอกาสที่จะมองหาเขาเอง "

Mikhail Bakunin : มิคเฮล บากูนิน (ค.ศ.1516-1576)


Mikhail Bakunin : มิคเฮล บากูนิน  นักปรัชญาการเมืองและนักปฏิวัติชาวรัสเซีย  ผู้ก่อตั้งลัทธิอนาธิปไตยฝ่ายซ้าย (left anarchism)  และเสนอทฤษฏีแนวคิดแบบ อนาธิปไตยสังคม (Social anarchism) ที่มีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างมาก...ในกลุ่มปัญญาชนและพวกหัวรุนแรงในยุโรปกลางและยุโรปตะวันตก

บากูนินเกิดในตระกูลขุนนางที่มั่งคั่ง  แต่กระนั้น...เขากลับเป็นปฏิปักษ์ต่อระบบซาร์/จักรพรรดิและระเบียบทางสังคม, เศรษฐกิจและการเมืองแบบเก่า  และในฐานะนักสสารนิยมแบบสุดขั้ว  เขาได้ต่อต้านศาสนาอย่างรุนแรง  และเห็นว่าศาสนาที่มีการจัดตั้งขึ้นนั้น..เป็นการกดขี่ประชาชนอีกรูปแบบหนึ่ง  และเพราะการทำกิจกรรมเคลื่อนไหวเพื่อการปฏิวัติในต่างประเทศ..จึงทำให้ทรัพย์สมบัติของบากูนินถูกรัฐบาลรัสเซียยึด  และภายหลังจากการหนีออกจากไซบีเรีย  เขาได้เสนอ...คติคอมมิวนิสต์แบบอนาธิปไตย (anarcho-communism) ที่เน้นให้ประชาชนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกัน  มีความเสมอภาคทางการเมือง, เศรษฐกิจ, สังคม, การมีเสรีภาพส่วนบุคคลอย่างสมบูรณ์...และการยกเลิกรัฐและการควบคุมทางการเมืองภายในสังคม

ภาพ บากูนินกำลังกล่าวกับสมาชิก IWA ที่บาเซิล ในสภาคองเกรส ปี 1869

บากูนินยืนยันว่า " ยุคแห่งเสรีภาพ " จะบังเกิดแก่มวลชนและทุกคนได้..ก็หลังจากการกำจัดอำนาจเก่าและรัฐกระฎุมพีดั้งเดิมให้หมดสิ้นไป  แต่กระนั้น..บากูนินก็ไม่เห็นด้วยกับคำสอนของลัทธิมาร์ก..เกี่ยวกับความจำเป็นของระบอบเผด็จการชนชั้นกรรมมาชีพ..ที่เป็นกลไกหลักในเคลื่อนไหว...เพื่อสร้างระเบียบใหม่ของสังคมนิยม  และเขาไม่เห็นด้วยกับนักปฏิวัติชาวรัสเซียคนอื่นๆ..ที่สนับสนุนการก่อการร้ายและการใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ..ของลัทธิอำนาจนิยม (authoritarianism) และระบอบเผด็จการ (dictatorship) หลังการปฏิวัติ  ด้วยเหตุนี้  ไม่นาน...บากูนินจึงเริ่มทะเลาะไม่ลงรอย..กับพวกมาร์กซิลส์ที่เคยเป็นพันธมิตรกัน...จนถึงขั้นแตกหักในปี ค.ศ. 1872 ซึ่งคาร์ล มาร์กซ์และแองเกลส์ได้โจมตีว่า..บากูนินเป็นพวก " หัวรุนแรงแบบนายทุนน้อย " และพวกมากร์กซิสต์ได้ขับไล่บากูนินไปด้วยข้อหาว่า..ฉ้อฉล  ทำให้บากูนินไม่สามารถเข้าร่วมการประชุมสากลครั้งที่ 1 (First International) ที่กรุงเฮก  ในสวิตเซอร์แลนด์ได้

บากูนินใช้เวลาส่วนใหญ่ของชีวิตในต่างประเทศ  หลังจากออกจากรัสเซียในปี ค.ศ.1840  เพื่อไปอยู่ในยุโรปกลางและยุโรปตะวันตกและรวมขบวนการปฏิวัติ...  ที่นั้นเขาได้สร้างสายสัมพันธ์อันแนบชิดกับพวกปัญญาชนและนักปฏิวัติที่กลายเป็น...กลุ่มตัวแทนความคิดของเขาคือ  nihilism (คัดค้านค่านิยมดั่งเดิม)  และ populism (ประชานิยม)  ซึ่งมีอิทธิพลในฝรั่งเศส  อิตาลีและสเปนด้วย  งานเขียนสำคัญของบากูนินมี The Social Revolution (1871) และ The State and Anarchism (1871) และ God and the State (1877) เป็นต้น

วาทะกรรม " ถ้าหากมีรัฐ  เสรีภาพของปัจเจกชนก็สิ้นสุดลง "

John Calvin : จอห์น คัลวิน (ค.ศ.1509-1564)


John Calvin : จอห์น คัลวิน นักบวชและนักเทววิทยาชาวฝรั่งเศส  ผู้มีบทบาทสำคัญในการปฏิรูปคริสตศาสนา (Reformation) ในนครเจนีวา  เขาเกิดในครอบครัวชนชั้นกลาง  ได้รับการศึกษาในทางศาสนาและกฎหมายในมหาวิทยาลัย (the University of Orléans)  และได้รับอิทธิพลในเรื่องการปฏิรูปศาสนามาจากมาร์ติ ลูเธอร์  และได้เข้าร่วมขบวนการเคลื่อนไหวปฏิรูปศาสนา  โดยเริ่มโจมตีหลักการทางศาสนาแบบเก่าๆในฝรั่งเศส ซึ่งในขณะนั้น..พระเจ้าฟรานซิสที่ 1 (King Francis I) มีนโยบายปราบปรามพวกลูเธอร์แรนอย่างรุนแรง  ในที่สุด ค.ศ.1553 จอห์น คัลวิน ต้องหลบหนีการปราบปรามจากฝรั่งเศสไปอยู่ที่เมืองบาเซิล (Basle) สวิตเซอร์แลนด์  ในปี 1536 ได้ไปช่วยงายการจัดตั้งนิกายโปรเตสแตนส์ที่เจนีวา และปี 1538 (Strassburg) เมืองสแตรสเบิร์ก

จอห์น คัลวินเขียนหนังสือรวมหลักความเชื่อที่ชื่อว่า Institutes of the Christian Religion (ค.ศ.1535) ที่กล่าวถึงอำนาจสูงสุดของพระเจ้า  และความเป็นสัพพัญญู...ที่พระเจ้าทรงทราบถึงเหตุการณ์ทุกอย่างในโลก  โดยกลุ่มคัลวินได้ให้ความสำคัญในพระคัมภีร์เก่า (The Old Testament)  และมีแนวคิดใหญ่ๆ 3 ประการคือ  1) เชื่อในเรื่องการคัดสรร (The Theory Election) ของพระเจ้า..ที่ทรงเลือกบุคคลที่เหมาะสมไว้ให้ได้รับความรอด  2) การกำหนดชีวิตไว้ล่วงหน้า (The Predestination) ถึงเป้าหมายในชีวิตของคนทุกคน  3) ความเชื่อเรื่องบาปดั่งเดิม (The Original Sin) ที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษ คือ อาดัมและเอวา  ซึ่งหลักการทั้ง 3 ข้อนี้ คือ หลักคำสอนของนิกายคัลวิน  (Calvinism)

ภาพ พระคัมภีร์ฉบับคัลวิน

จอห์น คัลวินได้เป็นผู้ปกครองเมืองเจนีวา ในปี ค.ศ.1541  เขาได้อ้างรัฐธรรมนูญปกครองให้ราษฏรทุกคนนับถือศาสนาคริสต์นิกายคัลวิน  โดยได้จัดตั้งคณะกรรมการเอกชนขึ้นชุดหนึ่ง  เรียกว่าคณะกรรมการ คอนซิสตอรี (The Consistory) ทำหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องระเบียบวินัยของประชาชน..อย่างเคร่งครัด  ที่ครอบคลุมในการดำเนินการใช้ชีวิตประจำวัน..ทุกๆเรื่อง เช่น  เครื่องแต่งกาย  การกินอยู่  เรื่องการประพฤติทางเพศและการสมรส  และห้ามการบันเทิงสาธารณะทุกประเภท  ทั้งนี่...ยังคัดค้านการเชื่อถือโชคลางของนิกายคาทอลิกในยุคนั้นด้วย  ฯลฯ   ซึ่งถ้าใคร..ฝ่าฝืนกฎเกณฑ์เหล่านี้..ถือว่ามีความผิดร้ายแรง   ดังนั้น  เมืองเจนีวาจึงเป็นเมืองที่สงบสุข  จนได้รับสมญาว่า " กรุงโรมของพวกโปรเตสแตนส์ " (The Protestant Rome)   แต่...ในขณะเดียวกัน..ก็เป็นการริดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนด้วย

หมายเหตุ : ลัทธิคัลวิน (Calvinism)ได้แพร่หลายไปในหลายๆประเทศ เช่น ในฝรั่งเศสเรียกลัทธินี้ว่า ฮิวเกอโนต์ (Huquenote) ในเนเธอร์แลนด์เรียกว่า นิกายดัทช์รีฟอร์มเชิร์ท (Dutch Reformed Church) ในสก็อตแลนด์ที่นำมาเผยแพร่โดยจอห์น น็อกซ์ (John Knox) เกิดเป็นลัทธิโปรเตสแตสท์ใหม่ขึ้น ชื่อว่า เพรสไบทีเรียน (Presbyterian)  ในอังกฤษเรียกว่า พิวริตัน (Puritan) และในโบฮีเมียรและฮังการรี เป็นต้น

ติดตามผ่าน FACEBOOK

Video Of Week : เส้นทางนักบุกเบิก สตีฟ จ๊อบส์

Live Currency Cross Rates


The Forex Quotes are powered by Investing.com.

ไขปริศนาคดีฆาตกรต่อเนื่องโดย นักฆ่าโซดิแอค

โพสต์แนะนำ

Anton Van Leeuwenhoeh : ลีเวนฮุ๊ค (ค.ศ.1632-1723)

Anton Van Leeuwenhoeh : ลีเวนฮุ๊ค  นักชีววิทยาชาวดัชท์  ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็น " บิดาแห่งจุลชีววิทยาการ " ( the Father of M...

บทความที่ได้รับความนิยม

Kategori

สนับสนุนเว็บไซด์

หนังคาวบอยดี.. ดูฟรี ออนไลน์

Kategori