คุณรู้ไหมว่า...ใครเป็นใคร..? บนโลกใบนี้

คุณรู้ไหมว่า...ใครเป็นใคร..? บนโลกใบนี้

Tokugawa, Ieyasu : โตกูกาว่า อีเอยาสุ (ค.ศ.1543-1616)


Tokugawa, Ieyasu : โตกูกาว่า อีเอยาสุ  หัวหน้าตระกูลไดเมียวที่ทรงอำนาจที่สุดในญี่ปุ่น  โดยการรบชนะหัวหน้าตระกูลใหญ่อื่นๆ  และรวมประเทศญี่ปุ่นเข้าด้วยกันให้เป็นปึกแผ่น  และตั้งตัวเป็นผู้นำทางทหารที่เรียกว่า " โชกุน " (shogun) ในปี 1603  ซึ่งทำให้ญี่ปุ่นมีความเจริญรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมและเป็นยุคสมัยที่สงบสุขอย่างยาวนาน

โตกูกาว่าได้สถาปนานครเอโดะ  ให้เป็นที่มั่นที่แข็งแรงของรัฐบาลบาคุฟุของเขา  และปกครองด้วยระบบขุนนางสวามิภักดิ์หรือฟิวดัล (feudalism) ที่มีการจัดระเบียบอย่างเข้มงวด (ในเวลานั้นญี่ปุ่นยังคงใช้ระบบการปกครองแบบมี 2 รัฐบาลคู่กัน คือ 1.รัฐบาลราชสำนักเดิม และ 2.รัฐบาลบาคุฟุ) ซึ่งโตกูกาว่ามีอำนาจปกครองญี่ปุ่นแท้จริงเพียง 1 ใน 4 ของประเทศ..โดยมีศูนย์กลางที่ปราสาทใหญ่เอโดะ  ส่วนที่เหลืออีก 3 ใน 4 หรือมีอยู่ประมาณ 250 สภาอยู่ใต้อำนาจของไดเมียวท้องถิ่น  โดยมีการจัดอันดับชั้นของไดเมียวไว้อย่างเข้มงวด  ซึ่งทำให้ญี่ปุ่นมีระบบการปกครองที่เข้มแข็ง

ภาพพิมพ์อุกิโยะ แสดงถึงสภาพสงครามที่ Azukizaka ในปี 1563–64

ในด้านนโยบายต่างประเทศ  โตกูกาว่าได้ดำเนินนโยบายด้วยการอยู่อย่างสันโดษ..และปิดประเทศยาวนานถึง 2  ศตวรรษ  เพื่อป้องกันญี่ปุนจากอิทธิพลภายนอก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากพวกที่เผยแพร่ศาสนาคริสต์ (ในปี 1613 : โตกูกาว่าได้ออกกฤษฏีกาขับไล่ชาวคริสต์ออกนอกญี่ปุ่นทั้งหมดเกือบ 90% จะเหลือก็จำนวนน้อยที่หลบซ่อนอยู่ )

ในสมัยเอโดะ  โตกูกาว่าได้แบ่งคนออกเป็น 4 ชนชั้นหรือ 4 ระดับอย่างเคร่งครัด  เรียกกันว่า " มิบุงเซ " ซึ่งประกอบด้วย

1) นักรบ (บุชิ) หรือซามูไร (ประมาณร้อยละ 5 %) เป็นข้าราชการพลเรือนและได้รับเบี้ยเลี้ยงจากรัฐ
2) พ่อค้า (โชนิง) เฟื่องฟูขึ้นจากการทำการค้าขายกับชาวจีนและชาวดัชท์
3) ช่างฝีมือ (โชะกุนิง)
4) ชาวไร่ชาวนา (โนมิง) ประมาณร้อยละ 80 ของประชากรทั้งหมด

ทั้งนี้  พ่อค้าและช่างฝีมือนั้น..บางครั้งก็เรียกรวมกันว่าคนเมืองหรือชาวเมือง (โจนิง) และอยู่ใต้การปกครองของเหล่าซามูไร  มีเพียงชาวนาเท่านั้นที่อาศัยอยู่ในชนบท  ซึ่งทั้งหมดปกครองด้วยระบบรวมศูนย์อำนาจ (centralization) ไว้ที่เมืองใหญ่ (เกียวโต)  ที่รายล้อมด้วยปราสาทไดเมียวในท้องถิ่นต่างๆ

ยุคสมัยเอโดะกล่าวได้ว่า...เป็นยุคที่วัฒนธรรมของราษฎรสามัญเจริญจนถึงขีดสุด  ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่17 จนถึงต้นศตวรรษที่ 18  เป็นยุคทองของศิลปะวัฒนธรรม เก็นโระขุ (Genroku) ที่ผสมผสานกันระหว่างนักรบซามูไรและสามัญชน  อันมีเอกลักษณ์ เช่น เกอิชา  ละครหุ่น  ละครคาบูกิ  การชงชาและหัตถกรรมต่างๆ  ภาพอุคิโยะ บุงจิง-งะ  และมีศิลปินกำเนิดจากชนชั้นสามัญชนมากมาย  เช่น  นักเขียนอย่าง อิฮะระ ไซคะขุ (Ihara Saikaku) นักกลอนไฮกุ มัตสุโอะ บาโช (Matsuo Basho) นักแต่งบทละคร ชิคะมะทสึ มะซะเอะมง (Chikamatsu MonZaemon) เป็นต้น

โตกูกาว่า อีเอยาสุ เสียชีวิตลงในปี ค.ศ.1616 ด้วยวัย 74 ปี  ในขณะที่ญี่ปุ่นเข้าสู่ยุคสมัยที่มีเอกภาพมากที่สุดยุคหนึ่ง  บุตรชายของเขาคือ โตกุกาวะ ฮิเดทาดะ ได้ขึ้นสืบทอดตำแหน่งโชกุนต่อ..โดยตระกูลโตกูกาว่าและลูกหลานได้สืบทอดอำนาจปกครองญี่ปุ่นนานถึง 264 ปี  ก่อนที่จะถูกนักรบซามูไรกลุ่มอื่นโค่นอำนาจลในปี ค.ศ.1867


EmoticonEmoticon

ติดตามผ่าน FACEBOOK

Video Of Week : เส้นทางนักบุกเบิก สตีฟ จ๊อบส์

Live Currency Cross Rates


The Forex Quotes are powered by Investing.com.