ในวัยเยาว์..พระชนมายุได้เพียง 3 พรรษา พระราชินีเอลิซาเบ็ธ..ทรงถูกประกาศว่าเป็นพระราชธิดานอกกฎหมาย และพระองค์ได้รับการอบรมเลี้ยงดูรวมกัน...กับเจ้าชายเอ็ดเวิร์ดน้องต่างมารดาของพระนางเจน ซีมัวร์ (Queen Jane Seymour) แต่กระนั้น...ก็ทรงได้รับการศึกษาอย่างดีเลิศ เช่น ภาษาลาติน, กรีก, สเปนและฝรั่งเศส รวมทั้งประวัติศาสตร์, ปรัชญาและคณิตศาสตร์ด้วย
ในด้านศาสนา เมื่อพระราชินีเอลิซาเบ็ธที่ 1 ขึ้นครองราชย์สิ่งแรกที่พระนางทรงกระทำ คือ การสนับสนุนการก่อตั้งสถาบันโปรเตสแตนต์อังกฤษ (กฎหมายสนับสนุนคาทอลิกในสมัยของพระนางแมรี่ที่ 1 ได้ถูกยกเลิกไป..และสถาปนานิกาย Church of England ขึ้นแทน : 1559-1563) และเพื่อจะหาเส้นทางสายกลาง...ให้เป็นที่พอใจของทั้งสองกลุ่ม..ทั้งคาทอลิกและโปรเตสแตนต์ พระนางเอลิซาเบ็ธทรงยอมอยู่ใต้กฎหมาย " Supremacy Bill " ที่ออกใหม่ ในเดือนเมษายน ค.ศ.1559 โดยพระนางเอลิซาเบ็ธทรงมีตำแหน่งศาสนาใหม่ว่า " Queen Supreme Governor " ซึ่งมีฐานะด้อยลงและมิได้เป็น " Supreme Head " หรือ " ประมุขศาสนาสูงสุด " ดังสมัยก่อนหน้านี้ และทรงแต่งตั้งแมธทิว ปาร์คเกอร์เป็นอาร์คบิชอปแห่งแคนเทอเบอรี่ แต่ถึงกระนั้น..ก็ยังไม่เป็นที่พอใจของพวกหัวรุนแรงทั้งสองกลุ่ม ดังนั้น พระราชินีเอลิซาเบ็ธที่ 1และรัฐบาลจึงได้ขอร้อง...ให้ทั้งสองกลุ่มเห็นแก่...ประเทศอังกฤษที่ต้องเผชิญกับปัญหาทางศาสนามาหลายครั้งแล้ว
ในด้านการต่างประเทศ พระราชินีเอลิซาเบ็ธที่ 1 ทรงโชคดีที่ทรงมีที่ปรึกษาราชการผู้มีคุณธรรม เช่น เซอร์วิลเลียม เซซิล บารอนแห่งเบอร์ลีย์ที่ 1 (รัฐมนตรีต่างประเทศ) และฟรานซิส วอลซิงแฮม เป็นต้น ในทางเหนือ พระนางเอลิซาเบ็ธทรงสนับสนุนการปฏิรูปสก๊อตแลนด์ อันช่วยให้พระราชินีแมรีแห่งสก็อตแลนด์กลับคืนอังกฤษในปี 1561 (ซึ่งอ้างสิทธิเหนือราชบัลลังค์อังกฤษ และปฏิเสธสัญญาเอดินเบอร์ก) แต่เมื่อแผนการล้มล้างพระราชินีเอลิซาเบ็ธ...ด้วยการสนับสนุนอย่างลับๆ..ของพระราชินีแมรีแห่งสก็อตแลนด์ถูกเปิดเผยขึ้น จึงเป็นเหตุให้พระราชินีแมรี่แห่งสก็อต (Mary Queen of Scots) ถูกประหารชีวิตในปี 1586 แต่อังกฤษก็ยังดำเนินนโยบายกับสก็อตแลนด์เป็นอย่างดี ด้วยการเซ็นสัญญาเบอร์กวิก (Treaty of Berwick : 1586) นอกจากนี้...พระนางเอลิซาเบ็ธยังส่งเสริมให้ชาวอังกฤษออกสำรวจและแสวงหาอาณานิคมในดินแดนโลกใหม่ และสนับสนุนฝ่ายกบฎชาวฮอลันดาต่อต้านสเปน โดยมีการ " แต่งตั้งโจรสลัด " อย่างเป็นทางการ เช่น จอห์น ฮอว์ลีน และ ฟรานซิส เดรก เพื่อคอยปล้นสดมเรือสิ้นค้าของสเปน ในปี 1588 อันก่อให้เกิดสงครามทางทะเลกับกองเรืออามันดาของสเปน และอังกฤษก็มีชัยชนะในสงครามที่ยิ่งใหญ่นี้ และอังกฤษได้ก่อตั้งบริษัทอินเดียตะวันออก (East India Company) ในปี 1600 เป็นต้น
ภาพ Coat of arms ของพระราชินีเอลิซาเบ็ทที่ 1
เป็นคำขวัญว่า "Semper eadem" แปลว่า ความเสมอกัน
ในด้านการปกครอง พระราชินีเอลิซาเบ็ธที่ 1 ทรงใช้ระบบการปกครองแบบ " กษัตริย์ในรัฐสภา (King in Parliament) " โดยพระนางทรงทรงเชื่อว่า..การปกครองโดยรัฐสภาจะป้องกันการกบฎหรือความไม่สงบอื่นๆได้ และพระนางเอลิซาเบ็ธทรงพยายยามดำเนินนโยบายที่เป็นสายกลางมากกว่า พระราชบิดา พระอนุชา และ พระเชษฐภคินี ในการดูแลข้าราชบริพาร พระนางทรงขายที่ดินของวัดที่ยึดมาได้ให้กับขุนนางในราคาต่ำ (เมื่ออังกฤษแยกศาสนาออกจากโรม) ซึ่งทำให้อังกฤษมีอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น แต่..ในด้านการงบประมาณ...พระนางก็ทรงขึ้นอัตราภาษีเพื่อระดมเงินไปใช้ในการทำสงครามในต่างประเทศ เช่น เนเธอร์แลนด์, ฝรั่งเศสและไอร์แลนด์ จึงก่อให้เกิดความอดอยาก...เศรษฐกิจตกต่ำ และความไม่สงบในสังคม...ในช่วงปี ค.ศ.1597 รัฐบาลจึงแก้ไขด้วยการออก " กฎหมายคนจน " (Poor Law) ในปี 1597 โดยการเรียกเก็บภาษีเพิ่มจากท้องถิ่นไปอุดหนุนคนยากจน
แต่ถึงอย่างไร...พระราชินีเอลิซาเบ็ธก็ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีพระปรีชาสามารถในการปกครองอย่างมาก...ทรงทำให้อังกฤษกลายเป็นชาติมหาอำนาจที่ขยายแสงยานุภาพไปทั่วโลก ในรัชสมัยของพระองค์...คือ ยุคทองของอังกฤษ..ที่มีความเจริญรุ่งเรืองทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง การทหาร วัฒนธรรม วรรณกรรมและดนตรี ศีลปินเอกในสมัยนี้ คือ เช็คสเปียร์, สเปนเซอร์และคริสต์โตเฟอร์ มาร์โลว์ เป็นต้น
พระราชินีเอลิซาเบ็ธที่ 1 ทรงมีคำขวัญที่ทรงใช้อยู่เสมอ..คำหนึ่งคือ " video et taceo " แปลว่า " ข้าพเจ้ารู้แต่ข้าพเจ้าไม่พูด " ซึ่งทำให้พระนางรอดพ้นจากศัตรูทางการเมืองและการเรียกร้องของรัฐบาลในการอภิเษกสมรสหลายครั้ง ซึ่งพระนางเอลิซาเบ็ธไม่ได้ทรงทำการเสกสมรสกับผู้ใด ทำให้พระนางมีชื่อเสียงว่าเป็น " พระราชินีผู้ทรงพรหมจรรย์ " ด้วยเหตุนี พระราชินีเอลิซาเบ็ธจึงไม่มีรัชธายาท และมื่อพระราชินีเอลิซาเบ็ธที่ 1 ทรงสวรรคตในวันที่ 24 มีนาคม 1603 ราชวงศ์ทิวดอร์ก็สิ้นสุดลงไปด้วย และพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งราชวงศสจ๊วดได้ขึ้นสืบต่อราชบัลลังก์อังกฤษสืบต่อไป
EmoticonEmoticon