มาร์ติน ลูเธอร์ เป็นลูกของกรรมกรเหมือนแร่ เคยเรียนปรัชญาและกฎหมายมาก่อน..ต่อมามีศรัทธาในศาสนา เขาจึงได้บวชเป็นบาทหลวงในวัดนิกายออกัสติเนียน(Augustinian Monastery) และศึกษาเรียนต่อทางเทววิทยาที่มหาวิทยาลัยวินเทนแบร์ก (Wittenburg University) ซึ่งเขาได้เป็นอาจารย์ด้านคัมภีร์ศึกษาที่นั่น ต่อมา..เมื่อเขาเดินทางไปโรม มาร์ติน ลูเธอร์ตกใจอย่างมากกับความเสื่อมเสียทางศีลธรรมของพวกบาทหลวงในสมัยนั้น โดยเฉพาะในเรื่องการขายใบไถ่บาป (Sale of Indulgences) เขาจึงต่อต้านอย่างรุนแรงและได้ประการข้องเรียกร้อง 95 ข้อ(The Ninety-five Theses) ปิดไว้ที่ประตูวิหารวินเทนแบร์ก เพื่อให้มีการปฏิรูปศาสนจักรให้บริสุทธิ์ และไม่ยอมรับในอำนาจของพระสันตะปาปา ซึ่งคำประท้วงของมาร์ติน ลูเธอร์ได้สร้างกระแสวิพากษ์วิจารณ์และเป็นที่สนใจของชาวยุโรปอย่างมาก อันเป็นเหตุให้ พระสันตะปาปาลีโอที่ 10 ประกาศคว่ำบาตรเขา และทำให้มาร์ติน ลูเธอร์ต้องลี้ภัยไปอยู่ที่แคว้นแซกโซนี่
วาทะกรรม : " ข้าฯ กลัวจิตใจของตนเองมากกว่าของสันตะปาปาและคาร์ดินัลทั้งหลาย ข้าฯ มีสันตะปาปาที่ยิ่งใหญ่อยู่ในตัว, นั่นคือ ตัวตนของข้าเอง"
หมายเหตุ 1 : คริสตศาสนาเริ่มมีความเสื่อมตั้งแต่ศควรรษที่ 13 เป็นต้นมา..เริ่มจากที่ศาสนจักรและพระเข้าไปร่วมในสงครามครูเสด (The Crusade War) หรือการที่พระ, บาทหลวงมีชีวิตความเป็นอยู่ที่หรูหรา ร่ำรวย..ซึ่งไม่เหมาะสมกับสถานะการเป็นนักบวช การประพฤติผิดศีลธรรม(ทางเพศ) การทุจริตในงานศาสนา เช่น การซื้อขายตำแหน่งพระราชาคณะ หรือแต่งตั้งพระในตำแหน่งต่างๆโดยไม่คำนึงถึงความรู้ แต่อาศัยความเป็นเครือญาติหรือความสนิทสนมส่วนตัว ในด้านอื่นเช่น..การที่โบสถ์มีรายได้จากภาษีต่างๆ จากค่าธรรมเนียมศาล จากเงินค่าธรรเนียมการประกอบพิธีทางศาสนาและการขายใบไถ่บาป (เริ่มในคศตวรรษที่14) และการครอบครองในที่ดินมากมาย (ในศตวรรษที่16 ศาสนจักรมีที่ดิน 1 ใน 4 ของประเทศเยอรมัน และ 1 ใน 5 ของประเทศฝรั่งเศส) ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ศาสนจักรมีอำนาจทางการเมืองต่อฝ่ายอาณาจักร เป็นต้น
หมายเหตุ 2: เรื่องใบไถ่บาป (ในปี ค.ศ.1517 พระในนิกายโดมินิกัน นามว่าจอห์น เทตเซล (John Tetzel) ได้ออกเดินทางมาขายใบไถ่บาปในดินแดนเยอรมัน เนื่องจากพระสันตะปาปาลีโอที่ 10 (Pop Leo X) ต้องการเงินจำนวนมากเพื่อซ่อมแซมวิหารเซนต์ปีเตอร์ (St.Peter Cathedral) จึงใช้วิธีขายใบไถ่บาป (Indulgence) ให้แก่คริสตศาสนิกชนในดินแดนต่างๆ...โดยเฉพาะในประเทศเยอรมัน)
EmoticonEmoticon