คุณรู้ไหมว่า...ใครเป็นใคร..? บนโลกใบนี้

คุณรู้ไหมว่า...ใครเป็นใคร..? บนโลกใบนี้

Galileo, Galilei : กาลิเลโอ (ค.ศ.1564-1642)


Galileo, Galilei : กาลิเลโอ นักคณิตศาสตร์  ดาราศาสตร์และฟิสิกส์ชาวอิตาลี  ผู้พัฒนากล้องดูดาว (Telescope) จนสำเร็จ ในศตวรรษที่ 16  ผู้ได้รับสมญานามว่า " The Wrangler " (นักโต้เถียง)  โดยเขาได้พิสูจน์และหักล้างทฤษฏี Law of Motion ของอริสโตเติลลง  อันเป็นแนวทางให้แก่การค้นพบของไอแซค นิวตัน ในภายหลัง

กาลิเลโอ เกิดวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1564  ในครอบครัวผู้ดีตกยาก จากเมืองปิซา ประเทศอิตาลี ในวัยเยาว์เขามีความสามารถเป็นพิเศษในทางดนตรี  ศิลปะและคณิตศาสตร์  แต่บิดาของกาลิเลโอต้องการให้เขาเป็นแพทย์..จึงส่งเขาไปเรียนที่มหาวิทยาลัยปิซา ไม่นานนัก...เขาก็หันไปเรียนในทางคณิตศาสตร์ควบคู่กับวิทยาศาสตร์  และในปี 1585 กาลิเลโอก็มีปัญหาขัดสนเรื่องเงินทอง..จึงออกมหาวิทยาลัยปิซา  กลับไปอยู่ที่ฟลอเรนทีน อคาเดมี (Florentine Academy) ในเมืองฟลอเรนซ์  โดยศึกษาด้วยตนเอง  และเริ่มวิพากษ์วิจารณ์ทฤษฏี Law of Motion ของ Aristotle เป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ.1586 กาลิเลโอได้พิมพ์ผลงานเรื่องตาชั่ง..ที่เรียกว่า  Hydrostatic Balance และงานเขียนเรื่องจุดศูนย์ถ่วงของของแข็ง (Center of Gravity of Solid) อันทำให้เขามีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมากขึ้น  และได้รับเชิญให้ดำรงตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์สอนวิชาคณิตศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยเมืองปิซา  ด้วยอายุเพียง 24 ปี  ทั้งที่ยังไม่เคยได้รับปริญญาบัตรใดๆ

ภาพ  กาลิเลโอต่อหน้าการไตสวนของศาลศาสนาโรมัน วาดโดย Cristiano Banti's : 1857

ในช่วงค.ศ.1589-91 ขณะสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยปิซา  กาลิเลโอได้ทำการทดลองทฤษฏีของอริสโตเติลที่กล่าวว่า " ของที่น้ำหนักเบากว่าจะตกถึงพื้นช้ากว่าของที่หนัก " โดยเขาได้นำเอาก้อนตะกั่วกลมหนัก 20 ปอนด์และ 10 ปอนด์  ขึ้นไปบนหอเอนเมืองปิซา  และโยนก้อนตะกั่วทั้งสองลงมาพร้อมกัน  และปรากกฏผลว่า..ก้อนตะกั่วทั้งสองตกลงพื้นพร้อมกัน  ท่ามกลางสายตาของนักศึกษา  ศาสตาจารย์และประชาชนอีกมากมาย  ซึ่งประสบผลสำเร็จ..ในการพิสูจน์ให้เห็นว่าทฤษฏีของอริสโตเติลนั้นไม่ถูกต้อง

สรุปการทดลอง : เทหวัตถุทั้งหมดจะตกลงมาในระยะทางเท่ากัน..ในเวลาที่เท่ากัน  โดยไม่ต้องคำนึงถึงน้ำหนักหรือระยะทาง..:เพราะอัตราเร่งของเทหวัตถุจะเป็นปฏิภาคกับเวลาด้วย  และก่อให้เกิดหลักของความเฉื่อย (Principle of Inertia) ที่ไอแซกนิวตันนำไปตั้งเป็นกฏที่มีหลักการว่า " เทหวัตถุจะคงอยู่ในสภาวะนิ่งหรือเคลื่อนไหวจนกว่าจะมีแรงอื่น  มากระทำให้เปลี่ยนสภาวะไป " (A body remains at rest or moves along a straight line with constant velocity as long as no external force acts upon it) ในหนังสือ Principia

ในปี ค.ศ.1609 เมื่อกาลิเลโออยู่ในเมืองเวนิส  เขาได้สนใจกับข่าวช่างทำแว่นตาชาวดัทช์ชื่อ แฮนส์ ลิปเปอร์เช (Hans Lippershey) ที่ได้ประดิษฐ์กล้องส่องทางไกลขึ้น  เขาเห็นว่าเครื่องมือนี้น่าจะเป็นประโยชน์ในทางดาราศาสตร์ได้มาก  กาลิเลโอจึงเริ่มศึกษาเรื่องคุณสมบัติของแสง  และการใช้เลนส์รวมแสง..จนสามารถประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ (Telescope) ที่มีกำลังขยาย 3 เท่าได้สำเร็จ

นอกจากนี้  กาลิเลโอยังเป็นคนแรกที่  และค้นพบภูเขาและหลุมอุกกาบาตบนดวงจันทร์  และค้นพบจุดดำบนดวงอาทิตย์  และพบว่ากาแลกซี่ (Galaxy) หรือทางช้างเผือก (Milk Way) และเนบิวลา (Nebula) นั้นไม่ใช่อะไรอื่น  นอกจากกลุ่มดาวฤกษ์จำนวนมากนับแสนล้านดวงนั่นเอง  และเขายังค้นพบวงแหวนของดาวเสาร์ (Saturn's Ring)  และค้นพบดวงจันทร์ 4 ดวงที่โครจรอบดาวพฤหัส (Jupiter) และเขายังสนับสนุนทฤษฏีของโคเปอร์นิคัสที่ว่า  ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาลด้วย

ภาพ กาลิเลโอกำลังสอนให้ดยุคแห่งเวนิสใช้กล้องดูดาว วาดโดย Giuseppe Bertini

ในปี ค.ศ.1615 กาลิเลโอถูกเรียกไปกรุงโรม   เพื่อแก้ข้อกล่าวหากับพระสันตะปาปา  ในที่สุดโป๊ปได้สั่งห้ามไม่ให้เขาสอนหรือเผยแพร่งานด้านดาราศาสตร์ หรือ ทฤษฏีอื่นๆที่ขัดกับคำสอนของศาสนจักรเป็นอันขาด (แม่ว่ากาลิเลโอจะไม่เห็นด้วยก็ตาม) และในปี 1633 เขาถูกศาลศาสนาลงโทษกักบริเวณอีกครั้ง  และเพราะเหตุที่กาลิเลโอถูกลงโทษนี่เอง..ที่เป็นผลให้วงการวิทยาศาสตร์ของอิตาลี  ไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร

ในปั้นปลายชีวิต  กาลิเลโอได้ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่ศิษย์คนโปรดคือ ทอริเซลลิ (Torricelli) และวิเวียนนิ (Viviani) และเริ่มล้มป่วยออดๆแอดๆด้วยอาการ suffering fever and heart palpitations เรื่อยมา  จนถึงแก่กรรมในปี ค.ศ. 1642  ร่างของเขาถูกนำไปฝั่งไว้ที่สุสาน ณ โบสถ์ Church of Santa Croce ในกรุงฟลอเรนซ์

วาทะกรรม : " หากเป็นเรื่องในทางวิทยาศาสตร์  การอ้างความเป็นผู้รู้ของคนพันคน  ไม่มีค่าเท่ากับการให้เหตุผลที่ถ่อมตัวของปัจเจกชนเพียงคนเดียว "


EmoticonEmoticon

ติดตามผ่าน FACEBOOK

Video Of Week : เส้นทางนักบุกเบิก สตีฟ จ๊อบส์

Live Currency Cross Rates


The Forex Quotes are powered by Investing.com.