บาโช เกิดปี 1644 ในเมืองอุเอโนะจังหวัดอิงะ (Iga) ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดมิเอะ (Mie prefecture) บิดาเป็นซามูไรระดับล่าง..ที่ทำงานอยู่ในโรงครัว ต่อมา..เมื่อบาโชเริ่มโตเป็นหนุ่ม หลังจากการใช้ชีวิตหลายปี..ภายใต้วิถีชีวิตซามูไร เขาได้ค้นพบว่า..การเป็นนักประพันธ์นั้นเหมาะกับเขามากกว่า บาโชจึงได้ละทิ้งวิถีชีวิตซามูไร ประจวบเหมาะ..ในปี ค.ศ. 1666 เมื่อบาโชอายุ 22 ปี เจ้านายเก่าที่เขาเคยรับใช้ได้สิ้นชีวิตลง บาโชจึงเลือกกลับไปบ้าน..แทนที่จะรับตำแหน่งต่อในฐานะซามูไร หลังจากนั้น..เขาย้ายไปเอโดะในปี ค.ศ. 1675 (ปัจจุบันคือโตเกียว) ต่อมาในปี ค.ศ. 1678 ที่เอโดะ เขาได้รับตำแหน่งให้เป็นปรมาจารย์ไฮกุ [Haiku master (Sosho)] และเริ่มใช้ชีวิตแบบนักกวีอาชีพ ในปี ค.ศ. 1680 เขาได้ย้ายไปยังฟุกุงะวะ (ส่วนหนึ่งของเอะโดะ) และได้เริ่มปลูกต้นบาโช (芭蕉 Bashō ต้นกล้วย) ที่เขาชื่นชอบไว้ในสวนบริเวณบ้าน ซึ่งในภายหลัง..เขาได้ใช้นามแฝงว่า " บาโช " ด้วย
ภาพ ลายมือของท่านบาโชในบทกวี กบตัวน้อย
ที่สระน้ำโบราณ
กบตัวน้อยกระโจนลงไป
เสียงน้ำกระจาย จ๋อม
กบตัวน้อยกระโจนลงไป
เสียงน้ำกระจาย จ๋อม
ในช่วงชีวิต บาโชได้ออกเดินทางท่องเที่ยวไปทั่ว ทั้งสถานที่ที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์และสถานที่ที่สวยงามของญี่ปุ่น ซึ่งมีปรากฏอยู่ในงานประพันธ์ของเขา และในการเดินทางบาโชได้พบสานุศิษย์และเพื่อนร่วมเดินทางมากมาย และเขาสอนพวกสานุศิษย์ด้วยเร็งงะ (連歌 renga : บทกวีดังเดิมของญี่ปุ่น)
หนังสือที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ เส้นทางสายเล็ก ๆ ไปสู่ทางเหนือ (The Narrow Road Through the Deep North, 奥の細道 Oku no Hosomichi) ที่เขียนขึ้นภายหลัง..จากการเดินทางของบาโชและลูกศิษย์ ที่เริ่มออกเดินทางจากเอะโดะในวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1689 ตามเส้นทางไปโทโฮะกุและโฮะกุริกุ จากนั้นจึงกลับสู่เอะโดะในปี ค.ศ. 1691 ซึ่งการเดินทางในหนังสือนี้จบลงที่โองะกิและมิโนะ (ปัจจุบันคือ จังหวัดกิฟุ)
บาโชเสียชีวิตด้วยอาการมีแผลในกระเพาะอาหาร..ในช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิในปี ค.ศ. 1694 ที่โอซาก้า ท่ามกลางลูกศิษย์ที่ห้อมล้อมเขาอยู่ด้วยความโศกเศร้าอาลัย ก่อนสิ้นใจ บาโชได้เขียนไฮกุ สุดท้ายไว้ว่า
ในการเดินทางฉันป่วย
ความฝันวิ่งอยู่รอบกาย
ในทุ่งที่ปกคลุมด้วยหญ้าแห้ง
หมายเหตุ : บทกวีไฮกุมีรูปแบบพิเศษ เพราะมีฉันทลักษณ์ที่แตกต่างจากบทกวีทั่วไป คือ เน้นการลดทอนให้น้อยลง เหลือเพียงตัวอักษร 3 วรรค ยาว 5-7-5 รวมเป็นตัวอักษรเพียง 17 ตัวเท่านั้น ทั้งนี้..เพราะไฮกุ..มุ่งสะท้อนถึงความเรียบง่าย ความไร้แบบแผน และความเป็นจริงของธรรมชาติ..และภาวะของจิตใจ ความรู้สึก อย่างตรงไปตรงมา ด้วยกลวิธีที่สั้นกระชับ และฉับพลัน สรุปหลักการ คือ การนำเสนอภาวะแห่งสัจจะ..ที่เป็นจริงและสวยงาม ในชั่วขณะหนึ่ง นั่นเอง
EmoticonEmoticon