Lousis XIV : พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งราชวงศ์บูร์บง (Maison de Bourbon) หรือที่รู้จักกันในพระนามหลุยส์มหาราช (Louis the Great) ในยุคที่ฝรั่งเศสกำลังเจริญรุ่งเรืองจนถึงขีดสุด โดยพระองค์ทรงครองราชย์ยาวนานถึง 72 ปี (ค.ศ.1643-1715) นับเป็นกษัตริย์ที่เสวยราชสมบัตินานที่สุดในประวัติศาสตร์ยุโรป
พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงประสูติเมื่อวันที่ 5 กันยายยน ค.ศ.1638 และทรงเป็นรัชยาทสืบราชบัลลังค์ฝรั่งด้วยวัยเพียง 5 พระชันษา (หลังจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ.1642) ดังนั้น พระราชินีแอนน์ (Anne of Austria : 1601-1666) พระมารดาจึงรับตำแหน่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทน และแต่งตั้งชาวอิตาเลียนชื่อ มาซาริน (Guilio Mazarin) เป็นอัครเสนาบดีใกล้ชิด..ในการปกครองประเทศ และมาซารินได้นำพาฝรั่งเศสเข้าพัวพันกับสงครามต่อต้านสเปน ที่ต้องใช้จ่ายเงิน..เพื่อการทำสงครามมากมาย ดังนั้น รัฐบาลจึงมีนโยบายให้เพิ่มภาษีอากร แต่โชคร้ายที่ในปี ค.ศ.1640 ฝรั่งเศสประสบปัญหาด้านกสิกรรม ชาวนายากจน อดอยาก และต้องสูญเสียที่ดิน จนในที่สุด..จึงเกิดกลุ่มกบฏฟรองด์ (Fronde : 1648-1653) ก่อสงครามกลางเมืองขึ้น ที่ต่อมาพัฒนาเป็นสงครามชิงอำนาจ..โดยกลุ่มขุนนางปาลมองด์ที่ทะเยอทะยาน และทำให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ต้องหลบหนีออกจากปารีสในฤดูหนาวปี ค.ศ.1648-49 และทรงใช้ชีวิตแบบผู้ถูกเนรเทศในชนบทที่ยากลำบาก ในช่วงวัย 11-13 พรรษา ด้วยเหตุนี้ พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 จึงเริ่มสะสมอำนาจและรอเวลา..ที่จะกลับคืนสู่ราชบัลลังค์อีกครั้ง
ในปี ค.ศ.1661 ภายหลังจากมาซารินสิ้นชีวิตลง พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ได้ทรงขึ้นครองราชย์ (ค.ศ.1643-1715) และเนื่องด้วยพระองค์มีบทเรียนมาแล้ว จากความมักใหญ่ใฝ่สูงของพวกขุนนางทรงศักดิ์ และประชาชนชาวปารีสที่ทรยศ พระองค์จึงทรงปกครองฝรั่งเศสแบบรวบอำนาจเด็ดขาด และทำให้ระบบขุนนางอ่อนแอลง โดยการปกครองแบบสมบูรณาสิทธิราชย์ที่ทรงอ้างถึงลัทธิ " เทวสิทธิ์ของกษัตริย์ " (divine-right monarch) ที่คนทั่วๆไปในสมัยนั้นเชื่อกันว่า กษัตริย์คือผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยพระเจ้า และพระราชอำนาจของกษัตริย์เป็นอำนาจสูงสุด ด้วยเหตุนี้ พระมหากษัตริย์จึงมีฐานันดรศักดิ์อยู่เหนือสิ่งใดๆทั้งปวง นอกจากนี้..พระองค์ยังทรงสร้างพระราชวังแวร์ซาย (Palace of Versailles) ขึ้นเพื่อเป็นที่ทำงานของคณะรัฐบาลของพระองค์และเป็นศูนย์กลางในการปกครอง โดยทรงย้ายราชสำนักจากพระราชวังลูฟว์ (Louvre Palace) มายังแวร์ซายซึ่งอยู่ห่างจากปารีส 12 ไมล์ ด้วยเพราะทรงไม่ไว้วางใจชาวปารีส
ภาพ ห้องกระจกในพระราชวังแวร์ซาย
นโยบายต่างประเทศ ในภาคเหนือขณะที่หมู่รัฐเยอรมันอ่อนแอ และแตกแยกเป็นแคว้นเล็กๆ พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงมีนโยบายสนับสนุนการแยกตัวของแคว้นต่างๆในรัฐเยอรมนี เพื่อรักษาพรมแดนทางด้านตะวันออกของฝรั่งเศสให้ปลอดภัย ในขณะที่..อังกฤษมีความวุ่นวายภายในประเทศ และดัชท์ก็กำลังทำสงครามกับอังกฤษ ในทางภาคใต้..สเปนก็กำลังอ่อนแอลง..พระเจ้าหลุยส์จึงทรงอ้างสิทธิ์ (Duchy of Brabant) เพื่อทวงคืนแว่นแคว้นคืนจากสเปน และทำสงครามจนสามารถยึดฟลานเดอร์ส (Flanders) และฟรอง-กองเต (Franche-Comté) จากสเปนได้ และสามารถบุกตีเนเธอร์แลนด์ได้สำเร็จในปี 1678 ในทางภาคเหนือ กองทัพที่มีแสงยานุภาพของฝรั่งเศสได้มีชัยชนะเหนือเยอรมนีและอิตาลี และได้ขยายราชอาณาจักรออกไปกว้างไกลกว่ายุคสมัยใด และทำให้ฝรั่งเศสกลายเป็นชาติมหาอำนาจทางทหารที่ยิ่งใหญ่ในยุโรป
นโยบายศาสนา พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงเป็นกษัตริย์ที่เคร่งศาสนามาก และทรงถือว่าประชาชนฝรั่งเศสจะต้องมีศรัทธาอันหนึ่งอันเดียวกันด้วย ดังนั้น พระองค์จึงทรงใช้สิทธิบังคับให้ประชาชนนักถือศาสนาคาทอริกเหมือนพระองค์
นโยบายเศรษฐกิจ พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงมีเสนาบดีคลังคนสำคัญชื่อ โคลแบรท์ (Jean-Baptiste Colbert) ช่วยในการสร้างระบบการพาชิณนิยมที่เข้มแข็งในฝรั่งเศส ด้วยการตั้งหอการค้าขึ้น (Council of Commerce) ในปี ค.ศ.1664 และ 1700 เพื่อมีหน้าที่ในการช่วยออกกฎหมายด้านการค้าและควบคุมดูแลการค้าทั่วไป เช่น การกำหนดอัตราดอกเบี้ย ให้ความช่วยเหลือในเรื่องการก่อตั้งบริษัทการค้า และสนับสนุนการค้าภายในประเทศ โดยมีคู่แข่งทางการค้าที่สำคัญ คือ ดัทช์ที่ผูกขาดการค้าถึง 3 ใน 4 ของการค้าทั้งหมด ด้วยกองเรือสินค้าของบริษัทอินเดียตะวันออก (Dutch East India Company) ดังนั้นฝรั่งเศสจึงตั้งบริษัทการค้าทางเหนือ (Company of the North) เพื่อค้าขายในแถบทะเลบอลติก (Baltic Sea) ที่ประสบความสำเร็จในช่วงปี ค.ศ.1675-1684 นอกจากนี้..ยังได้จัดตั้งกองพาณิชย์นาวีเพื่อปกป้องเรือส้นค้าฝรั่งเศสด้วย โดยบริษัทเหล่านี้ใช้เงินทุนส่วนใหญ่ของรัฐ ทั้งเงินในส่วนพระมหากษัตริย์ และการร่วมลงทุนจากพวกขุนนางข้าราชการและประชาชน ซึ่งในตอนแรกได้รับความนิยมจากประชาชนอย่างสูง แต่ด้วยการบริหารงานของเจ้าหน้าที่รัฐและข้าราชการที่มีความล่าช้ามาก ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ มีการคอรับชั่น และมักมีการแทรกแทรงจากรัฐบ่อยครั้ง จึงทำให้การค้าหยุดชงักและประสบความล้มเหลวในบั้นปลาย ในส่วนการค้าภายในประเทศ ได้มีการตั้งกำแพงภาษี..เพื่อป้องกันสินค้าเข้าจากต่างชาติ และรัฐยังได้สนับสนุนผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในลักษณะของสมาคมอาชีพ (Guild) โดยมีรัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และทำหน้าที่ควบคุมโรงงานอุตสาหกรรม เช่น การทอผ้า ทำเครื่องแก้ว ทำกระดาษ ทำสบู่ และอื่นๆ จนในที่สุดฝรั่งเศสกลา่ยเป็นศูนย์กลางของสินค้าอุตสาหกรรมเกือบทุกประเภทในยุโรป แต่ในด้านเกษตรกรรม..รัฐกลับไม่ให้ความสำคัญเท่าที่ควร
ภาพ การขยายดินแดนฝรั่งเศส (สีส้ม) ในรัชสมัยของ พระเจ้าหลุยส์ที่ 14
แต่ถึงอย่างไร..ก็ดี ฝรั่งเศสภายใต้รัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ก็มีความเจริญรุ่งเรืองและมีอำนาจอย่างมาก และขึ้นชื่อในเรื่องความหรูหรา ฟุ่มเฟือย โดยเฉพาะชีวิตในราชวังแวร์ซาย นอกจากนี้..พระเจ้าหลุยส์ยังเป็นผู้อุปถัมภ์ด้านศิลปวรรณกรรม โดยการสนับสนุนสถาบัน The Académie française และอุปถัมภ์นักเขียน เช่น Molière, Racine และ La Fontaine ด้านศิลปะ เช่น Charles Le Brun , Pierre Mignard , Antoine Coysevox และ Hyacinthe Rigaud ด้านดนตรีและคีตกวี เช่น Jean-Baptiste Lully , Jacques Champion de Chambonnières , และ François Couperin ที่ในปี ค.ศ.1661 ได้ก่อตั้ง Académie Royale de Danse และ Académie d'Opéra ในปี 1669 ที่ต่อมา..ได้กลาบเป็นสถาบันที่พัฒนาศิลปะการเต้นบัลเล่ที่สำคัญของโลก เป็นต้น
พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ.1751 ด้วยโรคติดเชื้อเรื้อรัง พระองค์ได้ทรงประกาศก่อนสิ้นพระทัยว่า " ข้าจะไปแล้ว แต่รัฐของข้าจะคงอยู่ตลอดไป " โดยพระองค์ทรงครองราชย์ยาวนานถึง 72 ปี กับ 100 วัน นับเป็นกษัตริย์ที่เสวยราชสมบัตินานที่สุดในประวัติศาสตร์ยุโรป พระศพของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ถูกฝังไว้ที่ Saint-Denis Basilica นอกกรุงปารีส ซึ่งในกาลต่อมา..หลุมพระศพของพระองค์ถูกบุกรุกทำลายในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส
EmoticonEmoticon