คุณรู้ไหมว่า...ใครเป็นใคร..? บนโลกใบนี้

คุณรู้ไหมว่า...ใครเป็นใคร..? บนโลกใบนี้

ฺฺฺฺิิิิิิิิิิิิิิิฺิิิิBlaise Pascal : แบลส์ ปาสคาล (ค.ศ.1623-1662)


Blaise Pascal : แบลส์ ปาสคาล  นักคณิตศาสตร์  นักฟิสิกส์และนักปรัชญาชาวฝรั่งเศส ในศตวรรษที่ 17 ผู้คิดค้นทฤษฏีบท " สามเหลี่ยมปาสคาล " (Pascal's Triangle) และมีส่วนพัฒนาระบบไฮโดรลิก (วิศวกรรมของการใช้การเคลื่อนที่พลังงานและความดันของของเหลว) และคิดค้นเครื่องคิดเลข  และทฤษฏีความน่าจะเป็น (Theory of  Probability) และเขาเป็นผู้ให้มูลเหตุทางปรัชญาและศาสนา..ที่เน้นหนักไปที่เรื่อง " เหตุผลของหัวใจ " มากกว่าการใช้ตรรกวิทยาและการใช้สติปัญญาที่แห้งแล้ง

แบลส์ ปาสคาล เกิดวันที่ 19 มิถุนายน ค.ศ.1623 ใน Clermont-Ferrand แคว้นโอแวร์ญ (Auvergne region) ประเทศฝรั่งเศส  และด้วยวัยเพียง 3 ขวบ  เขาก็ต้องสูญเสียมารดาไปอย่างกระทันหัน  และย้ายไปอยู่กรุงปารีสกับบิดา Étienne Pascal  ซึ่งมีอาชีพเป็นผู้พิพากษาท้องถิ่น ในปี 1631  แต่กระนั้น..ปาสคาลก็เป็นเด็กอัจฉริยะ..มีความเฉลียวฉลาดเหนือกว่าเด็กทั่วๆไป  ซึ่งบิดาได้ตัดสินใจที่จะให้ความรู้แก่ปาสคาลด้วยการเรียนการสอนแบบ homeschool ที่บ้านด้วยตัวเอง  ซึ่งปาสคาลก็ได้แสดงให้เห็นความมีอัจฉริยะภาพในทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์  ด้วยวัยเพียง 12 ขวบ  เขาก็สามารถอ่านทฤษฏีเรขาคณฺิตของยูคลิต (Euclid)ได้ทั้งหมด พออายุ 14 ปี ปาสคาลก็ได้เข้าร่วมประชุมกับกลุ่มนักคณิตศาสตร์แห่งฝรั่งเศส  (ที่ต่อมา..ได้รวมกันก่อตั้งสถาบัน French Academic ขึ้นในปี 1666)  ซึ่งในขณะนั้น..ในสายตาของผู้ใหญ่..ปาสคาลมักถูกมองว่าเป็นเด็กแก่แดด (so precocious) อยู่เสมอ  และเมื่ออายุ 16 ปี เขาก็สามารถคิดค้นวิธีพิสูจน์เกี่ยวกับ " Mystic Hexagram " (รูปเรขาคณิตของดาว 6 แฉก) ที่เกิดจากสามเหลี่ยมด้านเท่า 2 รูปวางซ้อนกัน  และการพิสูจน์ภาคตัดทรงกรวย (ใน Essay on Conics)  และด้วยวัย 19 ปี เขาสามารถประดิษฐ์เครื่องคิดเลขแบบใช้ฟันเฟืองได้สำเร็จ (Pascal's calculator) ในปี 1645  และได้สามารถพัฒนาทฤษฏีบทที่สำคัญในวิชาเรขาคณิตโปรเจกทีฟ (Projective geometry) ที่นำไปสู่การค้นพบ " สามเหลี่ยมปาสคาล " (Pascal's Triangle) ในปี ค.ศ.1665 และทำให้ปาสคาลมีชื่อเสียงโด่งดังมาก..ในวงการนักคณิตศาสตร์ของฝรั่งเศส  แต่เป็นที่น่าเสียดาย..หลังจากที่เขาประสบอุบัติเหตุที่ Neuilly เขาได้เปลี่ยนความสนใจไปในทางศาสนาและปรัชญามากขึ้น  ไม่เช่นนั้นเขาคงเป็นนักคณิตศาสตร์ที่มีอนาคตรุงโรจน์ที่สุดคนหนึ่งของโลก


ภาพ  เครื่องคิดเลขแบบฟันเฟืองของแบลส์ ปาสคาล : 1645

นอกจากความสามารถในทางคณิตศาสตร์แล้ว  แบลส์ ปาสคาลยังชื่อเสียงในฐานะนักพนันอีกด้วย  และเมื่อชายชาวฝรั่งเศสที่ชื่อ เชอวาลีเยร์ เดอ แมร์  ได้มาปรึกษาปัญหากับปาสคาลในเรื่องการทอดลูกเต๋า  ซึ่งเขาก็ได้อธิบายว่า " ในการทอดลูกเต๋า 2 ลูกนั้น  ลูกเต๋าจะหงายได้ถึง 36 วิธี " และนี่เองที่เป็นจุดเริ่มต้นของทฤษฏีความน่าจะเป็น (Theory of  Probability) ของปาสคาล  และเขายังเป็นนักฟิสิกส์อีกด้วย  โดยเฉพาะการศึกษาในเรื่องน้ำหนักและความดันของอากาศ  ซึ่งเขาได้ประดิษฐ์บารอมิเตอร์แบบปรอทขึ้น  และนำบารอมิเตอร์นั้น..ขึ้นไปทดสอบบนยอดเขาเพเดอโดม  และค้นพบว่า..ยิ่งสูงขึ้นไปเท่าไหร่..ระดับของปรอทในหลอดแก้วก็จะยิงลดลง  ซึ่งเป็นการพิสูจน์ได้ว่า " อากาศมีน้ำหนัก "  และทฤษฏีทีทำให้ปาสคาลมีชื่อเสียง..อีกครั้ง  เมื่อเขาเสนอว่า " ของเหลวที่อยู่ในภาชนะที่มีช่องทะลุถึงกันได้  ความดันในของเหลวที่ระดับเดียวกันจะต้องมีค่าเท่ากัน..ในขณะไม่มีการไหล " กฎนี้ที่ต่อมาเรียกกันว่า " กฎของปาสคาล " ซึ่งเป็นหลักการที่ใช้ในแม่แรงไฮดรอริกที่เราเห็นอยู่ทั่วไปตามอู่ซ่อมรถยนต์ในปัจจุปัน

ภาพ  สามเหลี่ยมปาสคาล (Pascal's Triangle) ในปี ค.ศ.1665

งานเขียนสำคัญ : แบลส์ ปาสคาลได้เขียนหนังสือไว้หลายเล่ม เช่น (Treatise on the arithmetic triangle : 1653) หนังสือเกี่ยวกับสูตรสามเหลี่ยมเชิงคณิตศาสตร์ และงานเขียนที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดของเขาคือ จดหมายจากต่างจังหวัด (Letters provincials : 1656-57) ที่มีทั้งหมด 18 ฉบับ ซึ่งเขาได้ใช้นามแฝงว่า " Louis de Montalte " ที่กลายเป็นหนังสือต้องห้าม โดยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ได้สั่งให้เผาทำลาย  เพราะหนังสือนี้..โจมตีคำสอนและการเล่นโวหารของพระในคณะเยซูอิต(Jesuit) ในเรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์และเจตจำนงเสรี..ที่ไม่จำเป็นที่จะต้องมีพระเจ้า..เป็นผู้กำหนดให้..ซึ่งปาสคาลโต้แย้งว่า..คำสอนเหล่านี้..เป็นเพียงการใช้เหตุผลที่ซับซ้อน..และนอกลู่นอกทาง..ในการแสดงให้เห็นถึงความหย่อนศีลธรรมและความบาปในกลุ่มพระเยซูอิตเท่านั้น (ปาสคาลเป็นนักปรัชญาศาสนาที่ปกป้องแนวทางของศาสนาในเชิงศรัทธานิยม  โดยเขาได้กล่าวถึงเรื่องความเชื่อในพระเจ้าว่า..แม้อาจดูไม่มีเหตุผล  แต่ก็เป็การพนันขันต่อที่ฉลาด..ไม่ใช่หรือ ?) และในปั้นปลายขีวิต  เขาได้เขียนเรื่อง " ความคิด" (Pensees :1670) ซึ่งเป็นธรรมปรัชญา..ที่ยังเขียนไม่จบ..ซึ่งปาสคาลได้ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติทางศาสนามาจนตลอดชีวิตของเขา  หลังจากทำงานอย่างหนัก ปาสคาลก็ป่วยเป็นโรคไขสันหลังอักเสบและมีฝีในกระเพาะอาหาร ที่ทำให้เขาเสียชีวติลงในวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ.  1662  ด้วยอายุเพียง 39 ปีเท่านั้น

วาทะกรรม : " เรารู้ความเป็นจริง, ไม่ใช่ด้วยเหตุผลเท่านั้น  แต่ด้วยหัวใจด้วย "

หลู่ปัน : กางร่ม...สร้างปัญญา



ในสมัยซุนชิว  แคว้นหลู่มีช่างไม้คนหนึ่งชื่อ “ หลู่ปัน ” ตำนานว่า...เขาเป็นนักประดิษฐ์เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆมากมาย  จนได้รับการยกย่องจากชนรุ่นหลังว่าเป็นบูรพาจารย์แห่งช่างไม้ อ่านต่อที่นี่ http://piyarith-tell.blogspot.com/2014/09/blog-post.html 

Moliere : โมลิแยร์ (ค.ศ.1622-1673)



Moliere : โมลิแยร์ นามแฝงของ Jean Baptiste Poquelin นักเขียนบทละครชวนหัวและสุขนาฏกรรมผู้ยิ่งใหญ่ชาวฝรั่งเศส  และเป็นต้นแบบในการสร้างสรรค์ละครคอมเมดี้-บัลเล่ (comédies-ballet) ในศตวรรษที่ 17  ที่ยังคงได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบันนี้

โมลิแยร์  เกิดวันที่ 15 มกราคม ค.ศ.1622  ที่กรุงปารีส  ในครอบครัวชนชั้นกลาง  ด้วยวัยเพียง 10 ขวบ  โมลิแยร์ต้องสูญเสียแม่ไปอย่างกระทั้นหัน  และย้ายไปอยู่กับพ่อที่ Rue Saint-Honoré อันเป็นย่านที่พักอาศัยของคนร่ำรวยในกรุงปารีส  โดยบิดาต้องการให้เขาเป็นทนายความ  ดังนั้น  โมลิแยร์จึงได้เข้าศึกษาที่วิทยาลัยของคณะเยซูอิต (Jesuit Collège de Clermont) ที่ขึ้นชื่อว่า..เป็นสถาบันที่มีความเข้มงวดในเรื่องกฎระเบียบและในด้านวิชาการอย่างมาก  และเรียนด้านกฎหมาย และในปี 1642 เขาก็ได้ทำงานในสำนักงานทนายความ  แต่ไม่นาน.. โมลิแยร์ได้ตัดสินใจละทิ้งสังคมชั้นสูง..และหันไปประกอบอาชีพเป็นนักแสดงกับ Madeleine Béjart นักแสดงหญิง..จากครอบครัวนักบัลเล่ชาวสวิสที่มีชื่อเสียงโด่งดัง  และก่อตั้งโรงละคร The Illustre Théâtre ขึ้นในเดือนมิถุนายน ปี1643 ซึ่งเขาเป็นทั้งผู้กำกับและนักแสดงด้วย  และออกแสดงละครเร่ไปในชนบทต่างๆ  อันได้ก่อปัญหาหนี้สิ้นก้อนใหญ่กว่า 2000 livres ที่ทำให้โมลิแยร์ต้องติดคุกชดใช้หนี้สิน  และในช่วงเวลาที่อยู่ในคุกนี้เอง  ที่เขาได้เริ่มใช้นางแฝงว่า " โมลิแยร์ " (Molière) ซึ่งเป็นชื่อของหมู่บ้านเล็กๆใน Midi ใกล้ๆ Le Vigan และทั้งนี้..เหตุผลอีกอย่างหนึ่ง..ที่ทำให้โมลิแยร์เปลี่ยนชื่อ..เพราะบิดาของเขารู้สึกอับอายและอัปยศต่อการมีอาชีพเป็นนักแสดงของเขานั่นเอง  หลังจากออกจากคุกต่อมา..โมลิแยร์ได้ไปแสดงที่โรงละครถาวรในปารีส และก่อตั้งบริษัท Molière's company ในปี 1648  ที่ทำให้ชื่อเสียงของโมลิแยร์โด่งดัง..และประสบความสำเร็จอย่างมาก  จนได้รับความอุปถัมภ์ของพระเจ้าหลุย์ที่ 14 (Louis XIIII of France) และได้รับการยกย่องทั้งจากราชสำนัก  คนชนชั้นกลาง  และคนทั่วไป

ภาพ  พระเจ้าหลุย์ที่ 14 และโมลิแยร์  ในปี 1863  วาดโดย  Jean-Léon Gérôme

ผลงานสำคัญ : โมลิแยร์ได้ประพันธ์บทละครไว้มากมายกว่า 20 เรื่อง  ตั้งแต่ปี ค.ศ.1645-73 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นละครตลกและสุขนาฏกรรม  มีผลงานที่โด่งดัง..และเป็นที่รู้จักกันดี เช่น The School for Wives : 1662  ที่เล่าเรื่องการแต่งงาน..ที่ผิดพลาดของหญิงสาวผู้บริสุทธิ์ (Agnès) โดยเรื่องนี้..นักวิจารณ์ได้ยกย่องว่าเป็นผลงานที่ดีที่สุดของโมลิแยร์  และ Tartuffe : 1664 เล่นครั้งแรกที่พระราชวังแวร์ซาย (Versaillesfêtes) ต่อหน้าพระพักตร์พระเจ้าหลุย์ที่ 14  ซึ่งในเวลาต่อมา..ถูกศาสนจักรห้ามแสดงเผยแพร่.. เพราะละครได้ตีแผ่และโจมตีความหน้าไหว้หลังหลอกของพวกนักบวช (หรืออาร์คปิชอบแห่งปารีส)  และ The Misanthrope : 1666 เป็นละครล้อเลียนเสียดสีคนหน้าซื่อใจคตในสังคมชนชึ้นสูงอย่างเจ็บแสบ  และเรื่อง The Miser : 1668 ที่เล่าเรื่องของคนชนชั้นกลางขี้เหนียว (Harpagon) ที่ทำมาหากินบนหลังคน..ด้วยการให้กู้ยืมเงินและการฉ้อโกง (เป็นผลงานเรื่องแรกในนามบริษัท Molière's company) และผลงานชิ้นสุดท้ายของโมลิแยร์เรื่อง The Imaginary Invalid : 1673 ซึ่งเป็นละครบัลเล่..ที่เป็นกลายตำนาน..โดยในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1673 ในขณะที่เขาทำการแสดงหน้าเวที..โมลิแยร์ที่ป่วยเป็นวัณโรคอยู่..ได้ทรุดตัวล้มลงต่อหน้าผู้ชมมากมาย..และเสียชีวิตในไม่กี่ชั่วโมงต่อมา

วาทะกรรม " มีบางสิ่งบางอย่างที่มีเสน่ห์อย่างอธิบายไม่ถูก  เกี่ยวกับการตกหลุมรัก  และแน่ที่สุดว่า  ความสุขทั้งหมดของมันขึ้นอยู่กับความจริงที่ว่า  ความรักไม่ใช่สิ่งที่จะยืนยาวชั่วนิรันดร์ "    

Aurangzeb (Muhi-Ai-Din Muhammad) พระเจ้าออรังเซ็บ (ค.ศ.1618-1707)


Aurangzeb (Muhi-Ai-Din Muhammad) พระเจ้าออรังเซ็บ  จักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์โมกุลของอินเดีย  หรือที่รู้จักกันทั่วไปในพระนามว่า " Aurangzeb Alamgir " ที่แปลว่า " ออรังเซ็บผู้พิชิตโลก " พระองค์ทรงปกครองอินเดียนาน 49 ปี  ก่อนเข้าสู่ยุคการปกครองของอังกฤษในอินเดีย

พระเจ้าออรังเซ็บ เกิดวันที่ 3 พฤษจิกายน ค.ศ.1618 ในเมืองเล็กๆ Dahod รัฐคุชราด เป็นโอรสองค์ที่ 3 ของจักรพรรดิซาห์ ซาฮัน (Shah Jahan) ผู้ถูกบังคับให้สละราชสมบัติ  ทั้งนี้..สาเหตุเพราะ..ในช่วงปลายรัชกาลพระเจ้าซาห์ ซาฮัน  พระองค์ทรงโศกเศร้าอย่างมาก.. ที่สูญเสียพระมเหสีพระนางมุมตัล มาฮาล (Mumtaz Mahal) ไปในสงคราม  ทำให้พระเจ้าซาห์ ซาฮันไม่ทรงสนใจในกิจการบ้านเมืองอีก  และยังทรงใช้เงินในท้องพระคลังจำนวนมาก..สร้างวังหินอ่อนทัชมาฮาล (Taj Mahal) เพื่อเป็นอนุสรณ์รำลึกถึงพระนางมุมตัลพระมเหสี  จนกระทั้งโอรสทั้ง 3 เกรงว่าสมบัติจะหมดท้องพระคลัง  ด้วยเหตุนี้..จึงเกิดศึกสายเลือดแย่งชิงราชบัลลังค์กันขึ้น  และในที่สุด..พระเจ้าออรังเซ็บก็มีชัยชนะเหนือพี่น้องคนอื่นๆ และได้จับกุมตัวพระบิดาคุมขังไว้ที่ " ป้อมอัครา " (Agra Fort) นานถึง 8 ปี กระทั้ง..พระบิดาสิ้นพระชนม์ลงในปี  1666

ภาพ พระเจ้าออรังเซ็บทรงนัังบนบัลลังก์นกยูง

ในด้านการทหาร  พระเจ้าออรังเซ็บได้ใช้เวลาตลอดรัชสมัยของพระองค์ในการทำสงครามขยายเขตแดน  โดยในช่วงแรก..ราชวงศ์โมกุลมีกองทัพขนาดใหญ่ที่เข้มแข็ง  และเป็นที่หวาดกลัวของแว่นแคว้นต่างๆ  ซึ่งพระเจ้าออรังเซ็บได้ทำสงครามขยายเขตแดนจักรวรรดิโมกุไปกว้างไกลกว่า 3,200,000 กม.ในทางตอนใต้ของอินเดีย  มากกว่าในรัชสมัยใดๆ  นอกจากนี้..พระองค์ยังมีชื่อเสียงด้านความโหดเหี้ยมอีกด้วย  และด้วยสาเหตุ..ที่ใช้ทรัพย์สมบัติในท้องพระคลัง..เพื่อการทำสงครามจำนวนมาก  พระองค์จึงทรงเพิ่มการเก็บภาษี..ที่สร้างความอดอยากเข็ญให้กับประชาชนทั่วไป  และกองทัพก็เริ่มอ่อนล้า  อ่อนแอลง..เพราะทำสงครามยาวนานเกินไป

ถือเป็นสัญญาณแห่งการล่มสลายของราชวงศ์โมกุล (Mughal dynasty) รวมทั้งปัญหาที่ประเดประดังเข้ามารอบด้าน  เช่น  การเมืองภายในที่ยอบแยบ  สืบเนื่องจากขุนนางและข้าราชการมีการแบ่งฝ่ายแย่งอำนาจกันเอง..รับสินบนและกระทำการทุจริตไปทั่ว  โดยไม่สามารถควบคุมได้  ในด้านการต่างประเทศ  ชาติตะวัน เช่น โปรตุเกส  อังกฤษ ฮอลันดาและฝรั่งเศส.. ที่เรียกว่า " ภัยขาว " ต่างก็ทยอยกันเข้ามา..หมายเอาประโยชน์ทางการค้ากับอินเดีย  โดยการเสนอสินบนและเบี้ยบ้ายรายทางต่างๆให้กับขุนนางและข้าราชการที่ละโมบ  ที่นำไปสู่การบ่อนเซาะทำลายความมั่นคงของราชสำนักและประเทศชาติ  ซึ่งหลายครั้ง..เกิดการจลาจลต่อต้านชาวตะวันตกตามที่ต่างๆ  เพราะประชาชนอดรนทนไม่ไหวกับการเอารัดเอาเปรียบของข้าราชการและพวกชาวตะวันตก..จนเกิดความระส่ำระสายและความวุ่นวายลุกลามไปทั่วอาณาจักรโมกุล  อีกทั้งแคว้นต่างๆทางตอนใต้ก็จับมือกันแข็งเมือง  และตั้งเป็น "สหพันธ์มาระธา (Maratha confederacy)" และประกาศตนเป็นรัฐอิสระ..โดยไม่ขึ้นกับราชวงศ์โมกุลอีกต่อไป  และได้รวมตัวกันยกทัพมาตีอาณาจักรโมกุล  ในด้านศาสนา..เกิดกระแสผลักดันชาวมุสลิมให้ออกไปจากอินเดียโดยกลุ่มชาวฮินดู..ที่ทำให้เกิดการจราจลวุ่นวายหลายครั้ง  รวมทั้งการประหารผู้น้ำชาวสิกข์  ซึ่งทำให้เกิดความบาดหมางระหว่างชาวมุสลิมกับชาวสิกข์ต่อมาอีกยาวนาน...   จนกระทั้ง พระเจ้าออรังเซ็บสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ.1707 อาณาจักรโมกุลก็ล้มสลายลงในที่สุด

John Milton : จอห์น มิลตัน (ค.ศ.1608-1674)


John Milton : จอห์น มิลตัน กวีชาวอังกฤษ  นักโต้เถียง  หนุ่มหัวรุนแรง  และผู้เขียนวรรณกรรม  ที่นักประวัติศาสตร์เรียกเขาว่าเป็น " นักเขียนอังกฤษที่ยิ่งใหญ่ที่สุด " (greatest English author) ในศควรรษที่ 16  เขาต่อสู้เพื่อปกป้องเสรีภาพของปัจเจกชนทั้งในทางการเมือง  ศาสนาและเสรีภาพของหนังสือพิมพ์ด้วย

จอห์น มิลตัน เกิดวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ.1608 ที่ Bread Street ในลอนดอน  บิดาเป็นนักแต่งเพลงศาสนาและอาลักษณ์ที่มีฐานะดี  มิลตันมีความสามารถในการประพันธ์..ตั้งแต่วัยเยาว์  และได้รับการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (Christ's College Cambridge) ที่นั้น..เขาเริ่มฉายแววให้เห็นฝีไม้ลายมือในการเขียนบทกวี  และทักษะที่โดดเด่นในการเป็นนักโต้เถียง เช่น การทะเลาะโต้เถียงกับนักวิชาการภาษาอังกฤษ Bishop William Chappell จนเกือบถูกไล่ออกจากมหาวิทยาลัยในปีแรก  และการโต้เถียงหลายครั้ง..ในการอภิปรายภาษาละติน..ในหัวข้อที่ยากๆ  ซึ่งมิลตันมักแสดงออกด้วยท่าทีที่หยิงยโสเสมอ  แต่กระนั้น..เขาก็จบการศึกษาระดับปริญญาตรีในปี 1629  และปริญญาโทในปี 1632  และใช้เวลาอีก 6 ปีในการพักผ่อนที่ฮอนตัน (Horton, Berkshire : 1635) เพื่อเตรียมตัวเข้าสู่ชีวิตการเป็นนักกวี  ในช่วงเวลานี้เอง..ที่เขาได้ขลุกตัวอยู่ในหอสมุดแห่งชาติ (the British Library) และอ่านหนังสือมากมาย  ทั้งวรรณกรรมโบราณและสมัยใหม่  รวมทั้ง..เทววิทยา  ปรัชญา  การเมือง  ประวัติศาสตร์และวิทยาศาสตร์ด้วย  อันเป็นผลให้เกิดการพัฒนาทางปัญญาของมิลตันอย่างแท้จริง  และเริ่มเขียนบทกวี เช่น Arcades และ Comus : 1634 ที่หมายถึง..หน้ากากของเกียรติและความบริสุทธิ์

ภาพ จอห์น มิลตันกับบุตรสาวที่รักทั้ง 2 คน

ในปี 1638-39  จอห์น มิลตันได้ออกเดินทางไปฝรั่งเสศและอิตาลี  เพื่อหาประสบการณ์และแรงบัลดาลใจในการประพันธ์บทกวี  และได้เขียน Defension Secunda : 1654 ที่สนับสนุนระบบรัฐสภาภายใต้การนำของโอลิเวอร์  ครอมเวลล์  และในการเดินทางไปฟลอเรนซ์  โดยมิลตันได้มีโอกาสพบกับกาลิเลโอซึ่งถูกควบคุมตัวอยู่ที่ Arcetri ด้วย และเดินทางกลับอังกฤษในปี 1939  มิลตันก็เริ่มพูดและโต้เถียงเกี่ยวกับเรื่องการปฏิวัติ  และเขียน Of Reformation (การปฏิรูป :1641ซึ่งต่อมา..เขาได้เข้าร่วมกับรัฐบาลของครอมเวลล์ด้วย นอกจากนี้..เขายังได้ตีพิมพ์หนังสือเป็นชุดๆออกมาต่อต้านการปกครองของคณะสงฆ์ในขณะนั้นด้วย เช่น Of Prelatical Episcopacy : 1614 และ The Reason of Church-Government Urged against Prelaty : 1642  ซึ่งมิลตันได้แสดงตัวอย่างเปิดเผย..ที่จะสนับสนุนเสรีภาพในการนับถือศาสนา  และเสรีภาพของหนังสือพิมพ์ด้วย

(หมายเหตุ : จอห์น มิลตันอยู่ในยุคสมัยที่อังกฤษเกิดการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองและการปกครอง..หลายครั้ง จากระบอบกษัตริย์โดยพระเจ้าชาร์ลที่ 1 เปลี่ยนเป็นระบอบสาธารณรัฐโดยโอลิเวอร์  ครอมเวลล์ และกลับสู่ระบอบกษัตริย์อีกครั้งในสมัยพระเจ้าชาร์ดที่ 2 : ค.ศ.1660  )

ภาพ Frontispiece to Milton a Poem

และแม้ในปี ค.ศ.1654 จอห์น มิลตันได้กลายเป็นคนตาบอตอย่างสิ้นเชิง  ด้วยสาเหตุโรคต้อหิน (Glaucoma) ซึ่งทำให้เขาต้องแต่งบทกวีด้วยการบอกให้ผู้ช่วยจดบันทึก  แต่กระนั้น..เขาก็ยังผลิตผลงานชินเอกอุ..ออกมามากมาย  เช่น โคลงแบบซอนเน็ท ชื่อ On His Blindness ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับความตาบอดของเขา  และงานเขียนชิ้นสำคัญคือ สวรรค์หาย : Paradise Lost ซึ่งเป็นมหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่..แบบกลอนเปล่า ที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ.1667  ซึ่งเป็นหนังสือชุด 10 เล่ม อันเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการกบฏของลูซิเฟอร์ต่อพระเจ้า  และการที่อดัมกับเอวาถูกขับไล่ออกจากสวนเอเดน และเขียน Paradise Regain :1671 ที่พูดถึงการทดลองของพระคริสต์ (จากพระธรรมลูกา) และบทละครคราสสิคเรื่อง Samson Agonistes : (ความทนทุกข์ของแซมซัน) ที่พรรณาถึงความคิดคำนึงของแซมซันบุรุษจอมพลังในพระคัมภีร์พันธสัญญาเก่า เป็นต้น

จอห์น มิลตัน เสียชีวิตจากโรคไตวายเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ.1674  และร่างของเขาถูกฝังไว้ที่ St Giles Cripplegate ลอนดอน ซึ่งในภายหลัง..ได้มีการสร้างอนุสาวรีย์เพื่อเป็นเกียรติแก่เขา ในปี 1793 และชื่อของจอห์น มิลตัน ก็ยังได้รับการยกย่องว่าเป็นนักเขียนอังกฤษที่ยิ่งใหญ่ที่สุด..มาจนถึงปัจจุบัน

วาทะกรรม : " ไม่มีใครรักเสรีภาพอย่างเต็มอกเต็มใจเท่าคนดี  คนที่เหลือไม่ได้รักเสรีภาพ  แต่รักใบอนุญาตที่จะทำอะไรได้ตามใจชอบ..ต่างหาก "

ตัวอย่างบทกวีของจอห์น มิลตัน จาก Comus

ดวงดาว
ที่ธรรมชาติแขวนในสวรรค์
โคมบรรจุเต็ม
ด้วยน้ำมันนิรันดร์
ส่องแสงสว่าง
แก่นักเดินผู้หลงผิดและเปลี่ยวเปล่า

Oliver Cromwell : โอลิเวอร์ ครอมเวลล์ (ค.ศ.1599-1658)


Oliver Cromwell : โอลิเวอร์ ครอมเวลล์  นายพลชาวอักฤษผู้นำกองกำลังของฝ่ายรัฐสภาต่อสู้กับพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ในสงครามกลางเมืองของอังกฤษ (ค.ศ.1642-48) จนรัฐสภาได้รับชัยชนะ  และตั้งตนเองเป็นผู้อภิบาลแผ่นดิน (Lord Protector) และปกครองอังกฤษแบบสาธารณรัฐ..ในช่วงเวลาสั้นๆ

โอลิเวอร์ ครอมเวลล์  เกิดวัน 25 เมษายน ค.ศ.1599  ใน Huntingdon เคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ  ครอบครัวเป็นขุนนางตกยาก..ญาติห่างๆเชื้อสายตระกูลทิวดอร์แห่งเวลส์ (กษัตริย์แห่งอังกฤษ : Henry VII)  ในวัยเยาว์..ครอมเวลล์มีชีวิตที่ขัดสนอยู่มาก  เพราะครอบครัวมีรายได้เพียง £300 ต่อปี  แต่กระนั้น..ครอมเวลล์ก็มีความภูมิใจในฐานันดรของตน  และมีโอกาสได้เข้าศึกษาที่วิทยาลัย Sidney Sussex College, Cambridge แต่โชคร้าย..ที่ศึกษาไม่จบระดับปรีญญา..เพราะบิดาตายลงในปี ค.ศ.1617 เขาจึงต้องออกจากโรงเรียน..และแต่งงานกับ Elizabeth Bourchier ลูกสาวพ่อค้าที่ร่ำรวยในเอสเซ็กซ์ (Essex) ในปี 1620  เพื่อช่วยครอบครัวให้รอดพ้นจากความลำบากขัดสน  และยกฐานะตน..เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มพ่อค้าลอนดอน (London merchant)  และสร้างสายสัมพันธ์กับนักการเมืองอาชีพหลายๆคน เช่น  (Oliver St John) เป็นต้น   

ภาพ The trial of Charles I on 4 January 1649

ในปี ค.ศ.1628 โอลิเวอร์ ครอมเวลล์ได้เป็นผู้แทนราษฏรของ Huntingdon และเป็นสมาชิกรัฐสภาสามัญกระทั้ง..มีสงครามกลางเมือง (1642-1646) เกิดขึ้น  ครอมเวลล์ได้สร้างชื่อเสียงในฐานะผู้บัญชาการทหารม้าที่มีความสามารถสูง  ซึ่งเขาได้นำกองกำลังของรัฐสภาที่เรียกว่า " ราวด์เฮด " (Roundhead) ให้มีชัยชนะเหนือฝ่ายนิยมกษัตริย์ที่เรียกว่า " คาวาลิเอร์ " (Cavalier) ที่สมรภูมิมารส์ตันมัวร์ (Marston Moor :1644) ซึ่งนำไปสู่..การดำเนินคดีของฝ่ายรัฐสภาและครอมเวลล์ที่ร่วมกันลงนามในคำสั่งปลงพระชนม์พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ในปี ค.ศ.1649 ที่ครอมเวลล์ให้เหตุผลว่าเป็น.. " ความโหดเหี้ยมอันจำเป็น "

หลังจากนั้น..ก็เกิดความแตกแยกระหว่างรัฐบาลและสภา  ครอมเวลล์จึงได้ยุบสภาและรวบอำนาจไว้..และแต่งตั้งตนเอง..เป็นผู้นำสาธารณรัฐและผู้อภิบาลแผ่นดิน (Lord Protector : 1653) แทนที่สถาบันกษัตริย์และสภาขุนนาง  โดยปกครองแบบถึออำนาจสิทธิขาด..ซึ่งมีกองทัพหนุนหลัง  และมีผู้เสนอให้เขาสถาปนาตนเป็นขึ้นเป็นกษัตริย์  แต่ครอมเวลล์ปฏิเสธ  และปกครองอังกฤษด้วยระบบสาธารณรัฐ (Republican) ต่อไป  นอกจากนี้..ครอมเวลล์ยังใช้กองทัพเข้าปราบกบฏและจลาจลหลายครั้ง..อย่างโหดเหี้ยม  ทั้งในเวลล์ส  สก็อตแลนด์และไอร์แลนด์  และรวมเอารัฐทั้งสองเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอังกฤษ..ที่เรียกว่า " เครือจักรภพ "  กล่าวได้ว่า..ในสมัยของครอมเวลล์ได้ขยายดินแดนอังกฤษออกไปกว้างไกล..กว่าที่ยุคกษัตริย์เคยทำสำเร็จมาก่อน  ทำให้อังกฤษกลายเป็นชาติมหาอำนาจในยุโรป

ภาพ หน้ากากแห่งความตายของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ ที่ Warwick Castle

ในด้านศาสนา  โอลิเวอร์ ครอมเวลล์มีความเชื่อ..อย่างเคร่งครัดตามนิกายคาลวิน (Puritan)  แต่เขาก็สนับสนุนให้มีขันติธรรมทางศาสนา..และพยายามดำเนินนโยบายสายกลาง..เพื่อลดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มเพียวริแตนและเพรสไบทีเรียน  ครอมเวลล์ตายในวันที่ 3 กันยายน ค.ศ.1658  ด้วยวัย 59 ปี  เนื่องจากการติดเชื้อที่ทางเดินปัสวะอย่างรุนแรง..ร่างของเขาถูกฝังไว้ที่ Westminster Abbey  และเมื่อรอมเวลล์สิ้นชีวิต  บุตรชายชื่อริชาร์ด (1626-1712) ได้สืบทอดตำแหน่งผู้อภิบาลแผ่นดินต่อไป..แต่ไร้ความสามารถ  จึงถูกโค่นล้มอำนาจลง..จากฝ่ายนิยมกษัตริย์และฟื้นฟูสถาบันกษัตริย์ (Restoration)  ให้อังกฤษกลับมาปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชอีกครั้ง

วาทะกรรม " คนที่ซื่อสัตย์หยิบมือหนึ่ง  ดีกว่าคนจำนวนมาก "

Rene Descartes : เรเน่ เดส์การต์ส (ค.ศ.1596-1650)


Rene Descartes : เรเน่ เดส์การต์ส  นักปรัชญา  นักฟิสิกส์และนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส  ผู้ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งปรัชญาสมัยใหม่  และเป็นหัวหอกของกลุ่มลัทธิเหตุผลนิยม (Retionalism)  เจ้าของวลีดัง " I Think Therefore I am " (ฉันคิด  ฉันจึงมีตัวตน) และเขายังได้รับการยกย่องให้เป็น " บิดาแห่งเรขาคณิตวิเคราะห์ " ผู้วางรากฐานวิชาเรขาคณิตสมัยใหม่สำหรับศตวรรษที่ 17 อีกด้วย

เรเน่ เดส์การต์ส เกิดที่เมืองลาเฮย์ (La Haye) ในปี ค.ศ.1596 เป็นบุตรคนที่ 3 ของโคจิม (Joachim) ขุนนางจากตระกูลชนชั้นสูง ในช่วงแรก..เดส์การต์สได้เข้าศึกษาวิชาภาษาโบราณที่วิทยาลัยเยซูอิตที่ลาแฟล็ซ (La Fleche) และเข้าเรียนต่อในวิชากฏหมายที่ปัวตีเยรส์ (the University of Poitiersในปี ค.ศ.1618 เดส์การต์สได้เดินทางไปฮอลแลนด์และสมัครเข้าเป็นทหารสังกัดกองทัพดัตช์  ในช่วงเวลานี้เอง..ที่เขาได้รู้จักกับนักวิทยาศาสตร์ชาวฮอลแลนด์..ที่ได้จุดประกายความสนใจในวิชาคณฺิตศาสตร์..ให้กับเดส์การต์สอย่างมาก  ซึ่งในเวลาต่อมา..เขาได้ศึกษาวิชาปรัชญาและตรรกศาสตร์  โดยเฉพาะคณิตศาตร์เป็นวิชาที่เขาชอบมากที่สุด  ด้วยเหตุว่า " มันแน่นอนและชัดเจน " (certainty and self evident) ในปี 1620 เดส์การต์สได้ลาออกจากการเป็นทหารและออกเดินทางไปหลายๆประเทศ..เพื่อแสวงหารู้..และเดินทางกลับปารีสในปี 1625 เพื่อตั้งหลักแหล่ง..และเริ่มพัฒนาแนวคิดและหลักปรัชญาวิธีของตนเอง..ในปี ค.ศ.1649 เขาได้รับเชิญจากพระนางเจ้าคริสตินา (Queen Christina of Sweden) แห่งสวีเดน..ที่สนใจในวิชาปรัชญาและประสงค์จะเรียนรู้ปรัชญาจากเดส์การต์ส  โดยเขาได้พำนักอยู่ที่กรุงสตอกโฮล์ม (Stockholm) และเกิดป่วยอย่างกระทันหัน..เนื่องด้วยอาการปอดปวมและการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจอย่างรุนแรง (a erious respiratory infection) และเสียชีวิตลงในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1650

ภาพ เดส์การต์สและพระนางเจ้าคริสตินาแห่งสวีเดน

งานเขียนสำคัญ : ชิ้นแรกคือ " กฎสำหรับการสั่งจิต " (Rules for the Direction of the Mind :1628-9) ที่เขียนในระหว่างอยู่ในฮอลแลนด์ และว่าด้วยเรื่องโลก (Le monde : 1634) ในปี 1627 เดส์การต์สได้เขียน " วจนิพนธ์ว่าด้วยระเบียบวิธี " (Discours de la methode) ที่เป็นเสมือนคำนำ..สำหรับแนวคิด..ที่ว่าด้วยคณิตศาสตร์และฟิสิกส์  ที่เขาได้เริ่มใช้พิกัดคาร์ทีเซียน (Cartesian coordinates) และงานเขียนชิ้นอุโฆษของเดส์การต์ส คือ " สมาธิว่าด้วยปฐมปรัชญา " (Meditationes de Prima Philosophia : 1641) ที่สร้างกระแสคัดค้านจากนักคิดร่วมสมัย..หลายๆคน  และในปี 1644 เขาเขียน " หลักปรัชญา " (Principia Philosophiae) เพื่อใช้เป็นตำราทางเทววิทยา  และงานนิพนธ์ชิ้นสุดท้าย คือ  " กิเลสของวิญญาณ " (Les Passions de I'ame : 1649) เพื่อถวายให้เจ้าหญิงอลิซาเบ็ธแห่งโบฮีเมีย (Princess Elisabeth of Bohemia) และเพื่อตอบคำถามในเรื่องที่ว่าด้วย..ความสุข  ความรักและจริยธรรม

แนวความคิด : เรเน่ เดส์การต์ส คล้ายกับฟรานซิส  เบคอนที่ได้ตั้งข้อสงสัยต่อสิ่งที่ถูกยอมรับว่าเป็นความรู้  (เช่นความรู้ที่ได้มาด้วยผัสสะ/ประสาทสัมผัสต่างๆ) โดยเดส์การต์สเห็นว่าอุปสรรค์ที่ทำให้คนเราคิดไม่ตรงกันและไม่สามารถเข้าถึงความรู้ที่แท้จริงได้ ก็คือ " วิธีคิด " (ซึ่งแตกต่างจากเบคอนที่กล่าวว่าต้นต่อปัญหา คือ อคติ) โดยเดส์การต์สเชื่อมั่นว่า..วิธีทางนิรนัย (Deductive Logic) เพียงเท่านั้น..ที่เป็นบ่อเกิดของความรู้ ดังนั้น  จุดมุ่งหมายทางปรัชญาของเดส์การต์ส  ก็คือ  การพยายามเข้าถึงความรู้หรือความจริงได้ด้วยเหตุผล

ภาพ หน้าปกหนังสือ Cover of Meditations.

เนื่องด้วย..เดส์การต์สเป็นนักคณิตศาสตร์  เขาจึงได้ใช้วิธีการของเรขาคณฺิต..มาพัฒนาหลักปรัชญา..ของเขา  กล่าวคือ  วิชาเราขาคณิตนั้นเริ่มต้นจากสัจพจน์ (Axiom)  ซึ่งเป็นความจริงที่ทุกคนเห็นตรงกัน..โดยไม่มีข้อสงสัย  แล้วสัจพจน์ได้มาอย่างไร  เดส์การต์สกล่าวว่า " จิตของเรามีสมรรถภาพที่จะรู้ถึงสัจพจน์นี้ได้เอง  โดยไม่ต้องอาศัยประสบการณ์ หรือที่เรียกว่า รู้ได้ด้วยญาณทัศนะ (intuition) "  ต่อจากนั้นก็ใช้วิธีอ้างเหตุผลแบบนิรนัย (Deductive Logic) โดยพิสูจน์ทฤษฏีบทหรือมูลบท (postulate) ไปตามลำดับ..ที่ละขั้นๆ..จากง่ายไปหายากและซับซ้อนมากขึ้น  ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างสัจพจน์และมูลบทต่างๆนี้เรียกว่า " ความสัมพันธ์เชิงตรรกวิทยา " (logical relation) อันเป็นความคิดที่มีความสัมพันธ์กันตามกฎเกณฑ์ของเหตุผล  โดยไม่ต้องอาศัยประสบการณ์  และในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างข้อเท็จจริงที่ได้จากประสบการณ์นั้นเขาเรียกว่า  " ความสัมพันธ์เชิงวัตถุ " (material relation) ที่หมายถึง  การอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆที่เรารับรู้ได้ด้วยประสบการณ์  โดยมองเห็นมัน..ในฐานะที่เป็นสาเหตุ (cause) และผล (effect) ต่อกัน..  และเมื่อได้พิสูนจ์ทุกขั้นตอนอย่างถูกต้อง  และทุกคนเห็นตรงกัน..โดยไม่มีข้อสงสัยแล้ว  ความรู้ที่พิสูจน์มาได้นั้น..จึงถือว่าเป็นความจริงและเชื่อถือได้    

นอกจากนี้ เรเน่ เดส์การต์สยังเป็นผู้ก่อตั้งเรขาคณิตแบบวิเคราะห์ (Analytic geometry)  และปรับปรุงระบบสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์และศาสตร์เกี่ยวกับแสง  รวมทั้งยังมีอิทธิพลในการสร้างทฤษฏีใหม่ๆ..ทางดาราศาสตร์และพฤติกรรมของสัตว์..อีกด้วย

วาทะกรรม " ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจุบัน  ข้าพเจ้าเคยยอมรับว่าสิ่งที่เป็นจริงและแน่นอนที่สุดก็คือ  ความรู้ที่ได้จากผัสสะ  แต่หลายครั้งประสบการณ์ต่างๆ  ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นความหลอกลวงของผัสสะ  ดังนั้น  เราจึงไม่ควรไว้ใจกับสิ่งที่เคยหลอกลวงเรามาก่อน  "

Thomas Hobbes : ธอมัส ฮอบส์ (ค.ศ.1588-1679)


Thomas Hobbes : ธอมัส ฮอบส์  นักปรัชญาการเมืองอังกฤษ  เป็นผู้มีชื่อเสียงโดดเด่นที่สุดคนหนึ่งในหมู่นักคิดร่วมสมัยในศตวรรษที่ 17  และได้ชื่อว่าเป็นผู้ก่อตั้งปรัชญาการเมืองและรัฐศาสตร์สมัยใหม่

ธอมัส ฮอบส์ เกิดที่เมืองมาลมส์เบอรี่ (Malmesbury) ในวันที่ 5 เมษายน ค.ศ.1588  ในช่วงเวลาที่อังกฤษกำลังเผชิญกับสงครามจากกองเรืออาร์มาดา (Armada) ของสเปน  ซึ่งมารดาของฮอบส์เกิดความตื่นตระหนกอย่างมาก..จึงทำให้คลอดฮอบส์ก่อนกำหนด (ฮอบส์จึงเชื่อว่า..เขานั้นเกิดมาพร้อมกับความตื่นตระหนก : Terror ซึ่งกลายเป็นลักษณะนิสัยประจำตัวของเขาเรื่อยมา) บิดาของฮอบส์เป็นคนขี้เมา..ชอบก่อเรื่องทะเลาะวิวาท..และทำร้ายผู้อื่นจนบาดเจ็บสาหัส  จึงหนีหายสาบสูญไป  ทิ้งให้ฮอบส์กับพี่น้องอีกสองคนและแม่..ให้อยู่ในความอุปการะของลุง ฟรานซิสฮอบส์ (Francis Hobbes) ผู้มีอาชีพเป็นช่างทำถุงมือ  จนเมื่ออายุ 15 ปี ฮอบส์ได้เข้าศึกษาที่แมกดาเลน ฮอลส์ (Magdalen Hall) อ๊อฟซ์ฟอร์ดจนสำเร็จปริญญาตรี  และเริ่มอาชีพเป็นครู..โดยสอนหนังสือให้กับบุตรของวิลเลียม คาเวนดิช (William Cavendish) เอริล์ที่สองแห่งเดอเวนไชร์ (Devonshire) และสอนบุตรของเซอร์ เจอร์เวส คลินตัน (Sir Gervase Clinton) ด้วย  และในช่วงเวลานี้เอง..ที่ฮอบส์ได้มีโอกาสเรียนรู้วิชาเรขาคณิตของยูคลิด (Euclid's Element) ซึ่งเขาชอบมาก..และได้นำเอาวิธีการของเรขาคณิตมาพัฒนาทฤษฏีทางการเมืองของเขาในเวลาต่อมา

ภาพ Frontispiece from De Cive (1642)

งานเขียนสำคัญ : แปลผลงานของธูซิดิดิส (Thucydides : 1628) และหนังสือทางการเมืองเล่มแรกคือ องค์ประกอบของกฎหมาย (The Element of Law : 1640) ที่ฮอบส์ได้แสดงทัศนะสนับสนุนนโยบายของพระเจ้าชาร์ลที่ 1 ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับกลุ่มของโอลิเวอร์ ครอมเวลส์ (Oliver Cromwell) จนต้องลี้ภัยไปอยู่ฝรั่งเสศ 11 ปี  และเดินทางต่อไปยุโรป  โดยฮอบส์ได้เป็นครูสอนคณิตศาสตร์ให้แก่เจ้าชายแห่งเวลส์ (Prince of Wales) ซึ่งต่อมาได้ครองราชบัลลังค์อังกฤษเป็นพระเจ้าชาร์ลที่ 2 ในปี ค.ศ.1660 และพระองค์ได้พระราชทานบำนาญให้แก่ฮอบส์ปีละ 100 ปอนด์จนตลอดชีพของเขา  และงานเขียนที่คนรู้จักมากที่สุดคือ The Leviathan : 1668 ที่เป็นกระแสวิพากษ์วิจารณากันมาก..ทั้งในหมู่นักบวชคาทอลิกและพวกที่นิยมกษัตริย์  จนฮอบส์ต้องลี้ภัยไปฝรั่งเศสอีกครั้ง..ที่นั้นเขาได้เขียนหนังสืออีกเล่มชื่อ เบเฮมอท (Behemoth : 1682) ที่วิเคราะห์ประวัติศาสตร์รัฐสภาอันยาวนาน (Long Parliament) อันเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดสงครามกลางเมืองที่นองเลือด..เพราะพระเจ้าแผ่นดินมิได้ใช้พระราชอำนาจอย่างเต็มที่  และงานเขียนอีกสองเล่มคือ เด คอร์โปเร (De Corpore) และ เดโฮมิเน (De Homine) โดยอธิบายวิธีการของฮอบส์..ด้วยการแบ่งแยกเป็นปรากฎการณ์ทางวัตถุ (เด คอร์โปเร) และความรู้และความรู้สึก (เด โฮมิเน) และอธิบายปรากฎการณ์ทางสังคม (เดซิเว) ซึ่งทั้งหมดนี้..อธิบายในแง่ของการเคลื่อนไหว (Motion)  และในวัยชราอายุ 87 ปี  ฮอบส์ยังได้แปลมหากาพย์ของ Homer คือ illiad และ Odyssey จนเสร็จสมบูรณ์  ฮอบส์ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ.1679 รวมอายุได้ 91 ปี

ภาพ Frontispiece of Leviathan

ฮอบส์ได้อธิบายถึงการเคลื่อนไหว (Motion) แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ 1) การเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ (Vital Motion) เป็นการเคลื่อนไหวที่หยุดไม่ได้ตลอดชีวิต เช่น การหายใจ การกินอาหาร การขับถ่าย เป็นต้น  ซึ่งการเคลื่อนไหวเหล่านี้ไม่จำเป็นจะต้องมีมโนภาพหรือจินตนาการ (Imagination) และ 2) การเคลื่อนไหวที่เกิดจากการกระตุ้นหรือโดยสมัครใจ (animal motion or voluntary motion) เช่นการพูด การเคลื่อนไหวร่างกาย  การทำกิจกรรมต่างๆ เป็นต้น  โดยการเคลื่อนไหวลักษณะนี้..ต้องมีความคิดเกิดขึ้น..ภายในจิตใจของบุคคลก่อน  ซึ่งความรู้สึกหรือความนึกคิดนั้น..อาจเป็นผลมาจากผัสสะก็ได้ เช่น การเห็น  การได้ยิน  การสัมผัส เป็นต้น  โดยฮอบส์ได้นำหลักเกณฑ์ของ (Motion) ทั้ง 2 ข้อนี้มาอธิบายพฤติกรรมของมนุษย์ว่า..ล้วนเป็นผลที่เกิดมาจากแรงกระตุ้น (Endcavour) ทั้งสิ้น  ซึ่งจะมีผลต่อตัวปัจเจกบุคคล  สังคมและการเมือง  โดยฮอบส์เชื่อว่าธรรมชาติของมนุษย์นั้น..มีความต้องการที่ไม่สิ้นสุด..ที่เป็นแรงผลักดันภายในอยู่ร่ำไป  ด้วยเหตุนี้  ไม่ว่ามนุษย์จะกระทำการอันใด..ก็ด้วยมีเป้าหมายเสมอ เช่น  การแสวงหาอำนาจ  การต่อสู้และการเข่นฆ่ากัน  ดังที่ฮอบส์ได้กล่าวไว้ว่า " กิจกรรมของมนุษย์..เกิดจากแรงจูงใจของผลประโยชน์ส่วนตัวเท่านั้น "  นอกจากนี้..ฮอบส์ยังเสนอความคิดแบบสัญญาประชาคมและการก่อตั้งรัฐาธิปัตย์  เพราะฮอบส์เห็นว่า " มีอยู่ทางเดียวเท่านั้น คือ การก่อตั้งอำนาจร่วม (Common power) ซึ่งอาจจะปกป้องคนทั้งหลาย  จากการรุกรานภายนอก (foreigners) และยังเป็นการป้องกันไม้ให้คนในสังคมทำอันตรายต่อกันด้วย " ดังนั้น  รัฐจึงเกิดขึ้นก็เนื่องจากปัจเจกชนสมัครใจที่จะอยู่ภายใต้รัฐบาลที่มีสิทธิอำนาจในการปกครอง  เพื่อความสันติสุขในสังคม  ถ้าหากเราไม่มีรัฐ..ไม่มีกฎหมายที่เป็นธรรม  ปัจเจกชนจะอยู่อย่างวหวาดกลัว ยากจนและขาดแคลน เป็นต้น

หมายเหตุ : บริบทของยุคสมัย..มีอิทธิพลต่อแนวความคิดและการสร้างทฤษฏีทางการเมืองของฮอบส์ด้วย  เพราะฮอบส์มีชีวิตอยู่ในช่วงเวลาที่อังกฤษมีความแตกแยก..ทั้งทางสังคมและการเมืองสูง  อันเป็นผลมาจากการปฏิรูปทางศาสนาและความไม่รงรอยกันระหว่างพระเจ้าชาร์ลที่ 1 และกับฝ่ายรัฐสภา  ซึ่งมีโอลิเวอร์ ครอมเวลส์ เป็นผู้นำ..จนกระทั้งรุกรามไปสู่สงครามกลางมือง..ที่ฝ่ายรัฐสภาได้รับชัยชนะ  และพระเจ้าชาร์ลที่ 1 ถูกประหารชีวิต  ทำให้อังกฤษถูกปกครองโดยระบอบผู้ปกครองจักภพครอมเวลล์ (Cromwellian Protectorate) ในช่วงเวลาสั้นๆ  เพราะเมื่อริชาร์ด ครอมเวลล์ ผู้เป็นบุตรไม่สามารถรักษาอำนาจไว้ได้และถูกโค้นล้มไป  อังกฤษจึงกลับสู่ระบอบกษัตริย์อีกครั้ง  โดยสถาปนาพระเจ้าชาร์ดที่ 2 เป็นกษัตริย์ในปี ค.ศ.1660  แต่กระนั้น..อังกฤษก็ยังหาได้หมดจากปัญหาความแตกแยกทั้งทางศาสนาและการเมือง

ติดตามผ่าน FACEBOOK

Video Of Week : เส้นทางนักบุกเบิก สตีฟ จ๊อบส์

Live Currency Cross Rates


The Forex Quotes are powered by Investing.com.

ไขปริศนาคดีฆาตกรต่อเนื่องโดย นักฆ่าโซดิแอค

โพสต์แนะนำ

Anton Van Leeuwenhoeh : ลีเวนฮุ๊ค (ค.ศ.1632-1723)

Anton Van Leeuwenhoeh : ลีเวนฮุ๊ค  นักชีววิทยาชาวดัชท์  ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็น " บิดาแห่งจุลชีววิทยาการ " ( the Father of M...

บทความที่ได้รับความนิยม

Kategori

สนับสนุนเว็บไซด์

หนังคาวบอยดี.. ดูฟรี ออนไลน์

Kategori