Gottfried Wilhelm Von Leibniz : คอทท์ฟีด วิลเฮล์ม ฟอน ไลบ์นิช นักคณิตศาสตร์และนักปรัชญาชาวเยอรมัน กลุ่มเหตุผลนิยม (Rationalism) ได้รับการยกย่องเป็นผู้คิดค้นคณิตศาสตร์แคลคูลัสกณิกนันต์ (Differential and Integral Calculus) ที่เป็นอิสระและแตกต่างจาก ไอแซ็ก นิวตัน และเขาเป็นผู้คิดค้นสัญกรณ์หรือเครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ต่างๆ..ที่ถูกใช้ต่อๆกันอย่างกว้างขวาง และเป็นคนพัฒนาระบบเลขฐานสองที่กลายรากฐานของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนี้
คอทท์ฟีด วิลเฮล์ม ฟอน ไลบ์นิช เกิดวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ.1716 ในเมืองไลพ์ซิก (Leipzig) เขตแซกโซนี (Electorate of Saxony) ประเทศเยอรมนี ครอบครัวมีเชื้อสายสลาฟ (Slavic) บิดาเป็นศาสตราจารย์ด้านปรัชญาที่มหาวิทยาลัยไลพ์ซิก ซึ่งเสียชีวิตลง..ตอนไลบ์นิชอายุ 6 ขวบ ดังนั้น ในวัยเยาว์..ไลบ์นิชจึงอยู่ในการอบรมเลี้ยงดูของมารดา และศึกษาด้วยตัวเองเป็นส่วนใหญ่ โดยบิดาได้ทิ้งห้องสมุดส่วนตัว..ไว้ให้เป็นมรดก และเมื่อไลบ์นิชอายุ 7 ขวบ เขาก็เริ่มอ่านหนังสือทางปรัชญาและเทววิทยาของนักคิด..ที่มีชื่อเสียงหลากหลายคน ซึ่งทำให้..ไลบ์นิชกลายเป็นหนอนหนังสือและเป็นเด็กค่อนข้างเก็บตัว และเนื่องด้วย..หนังสือส่วนใหญ่ในห้องสมุด..เป็นหนังสือภาษาละติน ด้วยเพียงวัย 12 ปี เขาจึงมีความเชียวชาญในภาษาละตินอย่างมาก
ในปี ค.ศ.1661 เมื่ออายุ 15 ปี ไลบ์นิชได้เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยไลพ์ซิก ในสาขาวิชาปรัชญา กฎหมายและคณิตศาสตร์ และจบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านปรัชญา ในปี 1663 และในปีต่อมา.. เขาได้รับปริญญาโทด้านปรัชญา (1664) และได้รับปริญาเอกด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัย Altdort ในปี 1666 ด้วยวัยเพียง 20 ปี จากวิทยานิพนธ์ที่ชื่อ " Inaugural Disputation on Ambiguous Legal Cases " (ตัวอย่างปัญหาปรัชญาในกฎหมาย) และในปีค.ศ.1666 เขาเริ่มรับราชการในหน่วงงานรัฐ..ด้านศาสนาและวัฒนธรรมที่ Nuremberg และได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ประเมินในศาลอุทธรณ์ ในปี 1669 และได้รับเชิญเป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัยหลายแห่ง แต่ไลบ์นิชปฏิเสธเพราะเห็นว่า..การเป็นอาจารย์สอนในมหาวิยาลัยเป็นการปิดกั้นเสรีภาพทางความคิด ในปี 1672 เขาได้เดินทางไปปารีส ฝรั่งเศส และพำนักอยู่หลายปี..ที่นั้นไลบ์นิชได้พบกับ Christiaan Huygens นักคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ผู้มีชื่อเสียงชาวดัทช์..ที่เป็นผู้สอนและผลักดันไลบ์นิชให้ศึกษาด้านคณิตศาสตร์อย่างจริงจังมากขึ้น ซึ่งในกาลต่อมา..ทำให้ไลบ์นิชสามารถพัฒนาวิชาคณิตศาสตร์แคลคูลัสกณิกนันต์ (Differential and Integral Calculus) ได้สำเร็จ และมีความเป็นอิสระและแตกต่างจาก ไอแซ็ก นิวตัน ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางในเวลาต่อมา นอกจากนี้เขายังเป็นเพื่อนสนิทกับ Ehrenfried Walther von Tschirnhaus นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมันผู้คิดค้นวิชาคณิตศาสตร์ Tschirnhaus transformation อีกด้วย และในปี ค.ศ.1675 ไลบ์นิชได้รับเชิญให้เป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ของ French Academy of Sciences ซึ่งทำให้เขามีชื่อเสียงมากขึ้น..ในฐานะปราชญ์ พหูสูต นอกจากนี้..เขายังได้ประดิษฐ์เครื่องคิดเลข Stepped reckoner : 1672-1694 และนำเสนอต่อราชสมาคมลอนดอน ซึ่งเป็นเครื่องคำนวณที่แม่นยำมาก แต่สิ่งที่ทำให้ไลบ์นิชภาคภูมิใจมากที่สุด ก็คือ การที่เขาได้ช่วยเหลือเจ้าหญิงโซฟีแห่งปรัสเซีย (Sophie of Prussia) ให้ก่อตั้งสถาบัน Berlin Academy of Sciences จนสำเร็จในปี ค.ศ.1700
ภาพ เครื่องคิดเลข Stepped reckoner ของไลบ์นิช : 1672-1694
ผลงานเขียนสำคัญ : ในช่วงชีวิตของไลบ์นิช์ ตั้งแต่ปี 1666-1714 เขาได้ตีพิมพ์แผ่นพับและบทความวิชาการไว้จำนวนมาก แต่..งานเขียนชิ้นอุโฆษ..2 ชิ้น ที่ทำให้คนทั่วไปรู้จักไลบ์นิช ก็คือ 1) Dissertation on the Art of Combinations : 1666 (วิทยานิพนธ์เรื่อง..ศิลปะแห่งการผสานรวมกัน) ที่นำเสนอวิธีการวิเคราะห์ความสัมพันธ์..ในเรื่องตัวอักษรและความคิดของมนุษย์ (The alphabet of human thought) ซึ่งเป็นตรรกะและภาษาสากล..อันเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการคิดค้นสัญกรณ์ทางคณิตศาสตร์และการพัฒนาทางภาษาศาสตร์ด้วย และงานเขียนชิ้นที่ 2) Monadologie : 1714 ที่เสนอว่าทุกสิ่งประกอบด้วยหน่วยเล็กๆที่เรียกว่า " โมนาด " (Monads) อันนับไม่ถ้วนและมีจำนวนอเนกอนันต์ ซึ่งเป็นแนวคิดทางอภิปรัชญาที่สำคัญของไลบ์นิชในเรื่อง Reality " ความจริงแท้คือจิต " หรือ โมนาดอันเป็นสิ่งที่อยู่เหนือประสาทสัมผัส โดยโมนาดแต่ละตนจะทำหน้าที่และเคลื่อนไหวแตกต่างกัน เป็นอิสระจากกัน ตามกัมมันตภาพ (Activity) และจลนภาพในตัวมันเอง แต่ในอีกทางหนึ่งก็มีความเกี่ยวพันและมีปฏิกิริยาต่อกัน (interaction) ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงและทำลายได้ โดยมีโมนาดสูงสุด คือ " พระเจ้า " (The absolute is God) เป็นต้น
ภาพ สมุดบันทึกของไลบ์นิช ในช่วงปี 1669-1704 ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติโปแลนด์
ชีวิตส่วนตัว : ถึงไลบ์นิชไม่ใช่หนุ่มที่หน้าดี แต่ก็เป็นคนมีเสน่ห์ มีมารยาทดี มีอารมณ์ขันและจินตนาการ และมีเพื่อนเยอะ..อีกทั้งยังมีคนชื่นชมไปทั่วยุโรป และถึงแม้..เขาจะมีข้อพิพาทกับไอแซก นิวตัน, จอห์น คิลล์ และคนอื่นๆ ในข้อพิสูจน์ที่ว่า..ใครคนใด ?..ค้นพบวิชาแคลคูลัสก่อนกัน (ที่ในตอนนั้น มีหลายคนที่ได้คิดค้นและพัฒนาคณิตศาสตร์แคลคูลัสในเวลาไล่เลี่ยกัน) และมีการโต้ตอบข้อพิพาทกันไปมา.. แต่ไลบ์นิชก็ไม่ได้ใส่ใจในข้อพิสูจน์..เรื่องนี้มากนัก และไลบ์นิชอยู่เป็นโสด..โดยไม่ได้แต่งงาน และมีทายาทเพียงคนเดียวคือ ลูกเลี้ยงของน้องสาวเขา ในบั้นปลายชีวิต ไลบ์นิชต้องทนทุกข์ทรมานอย่างมาก..จากโรคข้ออักเสบและเกาต์ กระทั้งวันที่ 14 พฤศจิกายน ค.ศ.1716 ไลบ์นิชก็ถึงแก่กรรมด้วยอายุ 70 ปี ที่ฮันโนเวอร์ (Hanover or Hannover) ในปรัสเซีย และเป็นเรื่องน่าเศร้า..ที่ในพิธีศพของไลบ์นิช ไม่มีใครในราชสำนักบัณฑิตฝรั่งเศส (French Academy of Sciences) มาร่วมพิธีศพของเขาแม้แต่คนเดียว แม้แต่..ราชสมาคมลอนดอนและราชบัณฑิตยสถานเบอร์ลิน..ก็ไม่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ข่าวการมรรณกรรมของเขาด้วยซ้ำไป และป้ายหลุมศพของไลบ์นิชก็ไม่มีคำจารึกใดๆเป็นเวลานาวกว่า 50 ปี กระทั้ง..ได้รับการยกย่องจากราชสมาคมวิทยาศาสตร์ฝรั่งเศส ในภายหลัง
หมายเหตุ : ไลบ์นิชได้รับการยกย่องว่าเป็นนักปรัชญา..หนึ่งในสามหัวหอกคนสำคัญ ของกลุ่มเหตุผลนิยม (Rationalism) คือ 1.เดส์การต์ 2.สปีโนซา 3.ไลบ์นิช ในศตวรรษที่ 17 ซึ่งปรัชญาของพวกเขามีอิทธิพลต่อยุคแสงสว่างทางปัญญา (Enlightment) ในยุโรป
วาทะกรรม : " รัก คือการวางความสุขของเราไว้ในความสุขของคนอีกคนหนึ่ง "
EmoticonEmoticon