คุณรู้ไหมว่า...ใครเป็นใคร..? บนโลกใบนี้

คุณรู้ไหมว่า...ใครเป็นใคร..? บนโลกใบนี้

Kepler, Johann : โยฮานน์ เคพเลอร์ (ค.ศ.1571-1630)


Kepler, Johann : โยฮานน์ เคพเลอร์  นักคนิตศาสตร์และดาราศาสตร์ชาวเยอรมัน  ในวัยเด็กอายุ 4 ขวบเขาป่วยเป็นกาฬโรค(Plagued)  จึงเป็นเหตุให้เคพเลอร์สายตาไม่ค่อยดีและแขนข้างหนึ่งพิการ  แต่กระนั้น...เขาก็จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยทูบิงเกน (Tubingen) ในปี 1593  และได้รับตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยกราช (Graz) เป็นเวลา 7 ปี  ในประเทศออสเตรีย  และในปี ค.ศ.1600 เคพเลอร์ได้รับเชิญจากจักรพรรดิ์รูดอล์ฟที่ 2 ให้ไปร่วมทำงานค้นคว้าทางดาราศาสตร์ที่หอดูดาว เบนาเทค (Benatek) กรุงปร๊าค  และรับตำแหน่งหัวหน้าโครงการฯ...สืบต่อจาก ทิโค บารห์ (Tycho Brahe) ในที่สุด

ผลงานที่สำคัญ  เคพเลอร์จัดทำและพิมพ์ตารางทางดาราศาสตร์ Rudolphine table ที่มีความถูกต้องแม่นยำ  เสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ.1627 โดยใช้เวลานานถึง 27 ปี  ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อนักเดินเรือและนักสำรวจในศตวรรษต่อมาอย่างมาก  และเคพเลอร์ยังเขียนหนังสือ เช่น " การโคจรของดาวเคราะห์เป็นไปในรูปวงรีไม่ใช่วงกลม " (The orbits of planets are ellipses, not cricles) ซึ่งปรากฎอยู่ในหนังสือเล่มใหม่ของเขาที่ชื่อ " Astronomia Nova " ที่พิมพ์ในปี ค.ศ.1609  และเขายังรวบรวมและแปลงานของนักดารารศาสตร์กรีก เช่น ปโตเลมี, อาร์คิมิดิล, อพอลโลนิอัส ไว้หลายเล่มอีกด้วย (คนส่วนใหญ่ในสมัยนั้นยังมีความเชื่อว่า...ดวงอาทิตย์โคจรลอบโลก)

ภาพ  โมเดลจำลองระบบของพลังงานแสงอาทิตย์ ในปี 1596

แต่สิ่งที่ทำให้เคพเลอร์มีชื่อเสียงที่โด่งดังในวงการดาราศาสตร์ของโลกจนถึงปัจจุปัน  คือ กฎ 3 ข้อของเคพเลอร์ที่ว่าด้วยการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ ( Kepler's three laws of planetary motion) หรือที่เรียกกันสั่นๆว่า " กฎของเคพเลอร์ "  ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้....

1) กฎของการโคจรเป็นวงรี (Law of elliptic orbits) กล่าวว่า " ดาวเคราะห์ทุกดวงเคลื่อนที่เป็นรูปวงรีรอบดวงอาทิตย์ "

2) กฎของเนื้อที่ (Law of areas) กล่าวว่า " ถ้าลากเส้นตรงจากดาวเคราะห์มายังดวงอาทิตย์  เส้นนี้เมื่อเลื่อนไปจะมีเนื้อที่เท่ากัน  ถ้าเวลาที่เลื่อนไปนั้นเท่ากัน..."

3) กฎ (Harmonic Law) กล่าวว่า " มีความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ระหว่างเวลาที่ดาวเคราะห์หมุนรอบดวงอาทิตย์  กับระยะทางโดยเฉลี่ยของดาวดวงนั้นจากดวงอาทิตย์  คือกำลังสองของเวลาที่หมุนไปจะเป็นสัดส่วนกันกับกำลังสามของระทางโดยเฉลี่ย..."

ซึ่งงานค้นคว้าทางดาราศาสตร์ของเคพเลอร์ได้เป็นรากฐาน...และแนวทางให้กับการค้นคว้าของนิโคลาส  โคเปอร์นิคัส  และปรากฎให้เห็นอย่างชัดเจนในสมัยของไอแซค  นิวตันในเวลาต่อมา

ติดตามผ่าน FACEBOOK

Video Of Week : เส้นทางนักบุกเบิก สตีฟ จ๊อบส์

Live Currency Cross Rates


The Forex Quotes are powered by Investing.com.

ไขปริศนาคดีฆาตกรต่อเนื่องโดย นักฆ่าโซดิแอค

โพสต์แนะนำ

Anton Van Leeuwenhoeh : ลีเวนฮุ๊ค (ค.ศ.1632-1723)

Anton Van Leeuwenhoeh : ลีเวนฮุ๊ค  นักชีววิทยาชาวดัชท์  ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็น " บิดาแห่งจุลชีววิทยาการ " ( the Father of M...

บทความที่ได้รับความนิยม

Kategori

สนับสนุนเว็บไซด์

หนังคาวบอยดี.. ดูฟรี ออนไลน์

Kategori