คุณรู้ไหมว่า...ใครเป็นใคร..? บนโลกใบนี้

คุณรู้ไหมว่า...ใครเป็นใคร..? บนโลกใบนี้

St. Thomas Aquinas : เซนต์ โทมัส อไควนาส (ค.ศ.1226-1274)


St. Thomas Aquinas : เซนต์ โทมัส อไควนาส  นักปรัชญาและนักบวช (คณะโดมินิกัน)ชาวอิตาลี  ผู้เป็นนักเทววิทยาคนสำคัญในประเพณีลัทธิอัสมาจารย์ที่รู้จักกันในนาม Doctor Angelicus (คุรุทูตสวรรค์) ผู้ศึกษาและเป็นผู้สอนวิชาเทววิทยาในมหาลัยปารีสและโรม  ในยุคสมัยที่แนวคิดแบบอริสโตเติล (กรีก) และอาหรับกำลังเข้ามามีอิทธิพลในอิตาลีและท้าท้ายความเชื่อของชาวคริสต์ในยุปโรป

งานเขียนสำคัญ  ในหนังสือเรื่อง Summa Contra (ค.ศ.1259-1264) ของเขาเสนอว่า  เหตุผลและศรัทธาเป็นสิ่งที่ไปด้วยกันได้  และหนังสือ Summa Theologica แปลว่า สาระโดยสังเขปของเทววิทยา(ค.ศ.1226-1273) ซึ่งอไควนาสเขียนไม่จบเป็นเรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติของพระเจ้า, ศีลธรรมและงานของพระเยซูคริสต์  โดยงานเขียนของเขาได้รับอิทธิพลแนวคิดทางวิทยาศาสตร์จากอริสโตเติล  ซึ่งมีอิทธิพลต่อโลกทัศน์ของนักศึกษาและหลายๆมหาวิทยาลัยในตะวันตก  จนกระทั้งถึงกลางศตวรรษที่ 17 ในปี ค.ศ.1879 พระสันตะปาปา Leo ที่ 13 ได้ตรวจทานและพิมพ์งานของอไควนาสใหม่  และใช้เป็นพื้นฐานของเทววิทยาแบบคาทอลิก  และในภายหลัง...พระสันตะปาปาเบเนอดิคท์ ที่ 15 ได้ประกาศว่า " คำสอนของอไควนาสเป็นคำสอนของคริสตจักรเอง "

ภาพ ชัยชนะของ โทมัส อไควนาส วาดโดย Bonaiuto

ในแง่ปรัชญาทางการเมือง  อไควนาสเห็นว่ารัฐบาลควรขึ้นอยู่กับกฎหมายและถูกชี้นำโดยศีลธรรม  ดังนั้น  การปกครองจะต้องมีหลักการที่สอดคล้องกับกฎธรรมชาติ  เช่น  การที่มนุษย์ต้องพึ่งพาช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  ไม่ทำร้ายกัน  ถ้าหากการปกครองขัดแย้งกับกฎธรรมชาติ  ประชาชนก็มีสิทธิที่จะปฏิเสธผู้ปกครองได้  เป็นต้น

วาทกรรม : " กฎที่มนุษย์สร้างขึ้น  จะเป็นกฎหมายก็ต่อเมื่อมันสอดคล้องกับเหุตผลที่ถูกต้อง  และด้วยวิธีนี้  ก็เป็นที่เห็นได้ชัดว่า  มันหลั่งไหลมาจากกฎธรรมชาติที่ถูกต้องและเป็นนิรันดร์ "

Bacon, Roger : โรเจอร์ เบคอน (ค.ศ.1220-1292)


Bacon, Roger : โรเจอร์ เบคอน นักปรัชญา  นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ  ผู้มีดีกรีการศึกษาปริญญาเอกทางเทววิทยา  และเป็นอาจารย์ในมหาลัยออกซ์ฟอร์ดและปรารีส  ผู้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับการแสวงหาความรู้โดยวิธีการทดลอง หรือที่เรียกว่า " วิทยาศาสตร์ประสบการณ์ " (Science of Experiment) และได้รับการนับถือว่าเป็นผู้บุกเบิกวิทยาศาสตร์สมัยใหม่

เบคอนเป็นคนหัวก้าวหน้ากว่าในยุคสมัยของตน (ในช่วงเวลาที่ศาสนจักรมีอำนาจมากและครอบงำทางคิดของคนทั่วไป) และแม้ว่า...เบคอนจะเป็นภิกขาจาร คณะฟรานซิสกัน  เขาก็ยังได้ศึกษาภาษากรีก  ฮีบรูว์และอาหรับ  เพื่อค้นคว้าในพระคัมภีร์ต่างๆจนแตกฉาน  และสนใจในวิทยาศาสตร์ธรรมชาติอย่างมาก  ดังนั้น  เขาจึงเป็นคนแรกๆที่พยายามอธิบายเทววิทยาและศาสนาด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์  โดยเขากล่าวว่า...ปัญญากับความเชื่อ/ศรัทธาเป็นสิ่งเดียวกัน  ด้วยเหตุนี้  เขาจึงถูกกล่าวหาว่าเป็นคนนอกรีตและดูหมิ่นศาสนา  จนเป็นเหตุให้ถูกศาสนจักรตัดสินจำคุกนานถึง 14 ปี

ภาพ สำเนาทฤษฎีการใช้เลนส์ซ้อนกันของเบคอน

เบคอนเขียนหนังสือไว้มากมาย  แต่งานเขียนที่สำคัญ คือ งานที่เขียนถวายพระสันตะปาปาเคลเมินท์ที่ 4 (ในปี1267-68) ที่ชื่อ  เรื่องงานชิ้นใหญ่ (Opus majus หรือ Greater Work), งานชิ้นเล็ก (Opus minor หรือ Lesser Work) และงานชิ้นกลาง (Opus tertium หรือ Third Work)  ซึ่งเป็นการวางแนวทางใหม่ในการศึกษาวิชาปรัชญาที่รวมเอาการศึกษาทางภาษาศาสตร์และวิทยาศาสตร์เข้าไว้ด้วยกัน  และงานเขียนอื่นๆ เช่น  ปรัชญาธรรมชาติ (Communium naturalium) ที่ถือเป็นงานเขียนที่ดีที่สุดของเขาด้วย

ในหนังสือ Opus tertium เบคอนได้เขียนไว้ว่า " วิทยาศาสตร์ทุกสาขาจะต้องมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันทั้งนั้น  และต่างก็ให้สาระสำคัญต่อส่วนรวม  วิทยาศาสตร์แต่ละสาขา  ต่างก็ดำเนินไปตามขอบเขตของธรรมชาติ  และไม่มีวิทยาศาสตร์สาขาใดที่จะแยกออกจากกันอย่างเด็ดขาดได้เลย  และเป็นที่รวมแห่งความรู้ของธรรมชาติโดยสมบูรณ์ " และเบคอนยังได้ให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการศึกษาวิทยาศษสตร์ไว้ว่า " สิ่งที่เป็นรากฐานในการศึกษาวิทยาศาสตร์ ก็คือ การทดลอง  และความรู้ทางคณิตศาสตร์  ถ้าปราศจากทั้ง 2 อย่างนี้แล้ว  ความรู้ทางวิทยาศาสตร์จะเจริญขึ้นไม่ได้ "

เบคอนยังได้รับการยกย่องว่าเป็นนักประดิษฐ์ด้วย  เช่นการทำแว่นขยาย  โดยการใช้เลนส์ซ้อนกัน  ซึ่งเบคอนเป็นผู้ที่เริ่มใช้กล้องโทรทัศน์ก่อนกาลิเลโอ  เขายังประดิษฐ์แว่นสายตาให้แก่ผู้ที่มีสายตายาว,  ค้นคว้าสูตรผสมดินปืน,  ค้นพบก๊าซไฮโดเจนจากการละลายในกรด,  คิดค้นเรื่องบอลลูน,  และกลไกที่ช่วยให้มนุษย์บินได้  และเขายังสนับสนุนในทฤษฎีเรื่องโลกกลม  และเสนอว่ามนุษย์เราสามารถเดินเรือรอบโลกได้  แต่กระนั้น...ความคิดของเบคอนก็ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควรจากคนในยุคสมัยเดียวกัน แต่ในเวลาต่อมา  แนวคิดของเขามีได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับนักประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์  กล้องส่องทางไกล  เครื่องจักรไอน้ำ  เครื่องบิน  ในยุคต่อๆมา

Kublai Khan : กุบไลข่าน (ค.ศ.1215-1294)


Kublai Khan : กุบไลข่าน หลานของเจงกิสข่าน หรือ  จักรพรรดิ์จูหวางตี้  ผู้ซึ่งพิชิตแผ่นดินจีนได้ทั้งหมดเป็นจักรพรรดิ์ชาวมองโกล  ผู้สถาปนาราชวงศ์หยวนในปี ค.ศ.1260  โดยการเอาชนะราชวงศ์ซ่งของจีน  และยึดครองเมืองเป่ยจิ่ง (ปักกิ่ง) และตั้งขึ้นเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิ  โดยขนานนามเสียใหม่ว่า " ต้าตู " หรือมหานคร  โดยกุบไลข่านทรงตั้งพระทัยที่จะเป็น " โอรสสวรรค์ " หรือเทียนจื่อ  และพยายามทำทุกอย่างที่จะให้ชาวจีนยอมรับพระองค์ในฐานะ " ผู้ปกครองสรรพสิ่งภายใต้สวรรค์ "  ดังนั้น  ชาวมองโกลจึงต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการปรับตัวจากนักรบเร่รอนมาเป็นชาวเมือง  ทั้งในวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน  แต่ก็ไม่อาจเข้ากับชาวฮั่นได้

กุบไลข่านได้เชิญนักปราชญ์ลัทธิขงจื้อให้เป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน  จนประสบความสำเร็จในการรวบรวมและพัฒนาจักรวรรดิจีนให้มีความเจริญรุ่งเรืองสูง  โดยกุบไลข่านให้ความสนพระทัยในเรื่องเกษตรกรรม  ซึ่งเป็นแกนชีวิตของชาวจีนทั่วทั้งอาณาจักร  และพระองค์ได้วางมาตรการต่างๆ  เพื่อส่งเสริมความเจริญเติบโตของเกษตรกรรมด้วย  และยังให้ความสำคัญในทางเศรษฐกิจและการเมือง  อีกทั้งให้ความสนใจในด้านการคมนาคมและการขนส่ง  มีการสร้างสถานีไปรษณีย์และการส่งสารทางไปรษณีย์ตามถนนต่างๆทั้งทั้งอาณาจักรด้วย  ด้วยเหตุนี้  อาณาจักรจงกั๋วจึงสามารถแผ่ขยายอำนาจจากปักกิ่งไปจรดทะเลดำทางทิศตะวันตก (เปอร์เซียและรัสเซีย)

ภาพ  อาณาจักรจงกั๋ว (สีเขียว) ของกุบไลข่าน  ค.ศ.1294

ต่อมาในปี ค.ศ. 1252 เมื่อชาวมองโกลเข้าไปในธิเบต  กุบไลข่านได้มีความเลื่อมใสพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก  พระองค์ทรงรับเอาพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำจักรวรรดิ  และทรงอุปถัมภ์ศิลปวิทยาการต่างๆด้วย  มาร์โค  โปโล  พ่อค้านักเดินเรืองชาวอิตาลีเล่าว่าเขาได้พำนักในราชสำนักของกุบไลข่านนานถึง 17 ปี  และได้เขียนบันทึกถึงความยิ่งใหญ่ของจีนที่ทำให้โลกตะวันตกสนใจในแผ่นดินจีนมากขึ้น

เมื่อกุบไลข่านสิ้นพระชนม์  ราชวงศ์หยวนปกครองอาณาจักรจีนต่อมาอีกเป็นเวลา 109 ปี    โดยมีกษัตริย์มองโกลขึ้นสืบต่อราชบัลลังก์ทั้งสิ้น 11 พระองค์  แต่ด้วยเหตุที่ไม่มีประเพณีหรือกฎมณเฑียรบาลกำหนดเรื่องการสืบตำแหน่งข่านหรือกษัตริย์มองโกล  จึงมีปัญหาในเรื่องการแย้งชิงราชบัลลังก์ที่มักตัดสินกันด้วยดาบอยู่เสมอ  ดังนั้น  ราชวงศ์หยวนจึงสูญสิ้นไปในที่สุด

Rumi, Salal AI-Din AI : รูมี (ประมาณ 1207-1273)


Rumi, Salal AI-Din AI : รูมี กวีชาวเปอร์เซีย  นักปรัชญา  นักกฎหมาย  นักรหัสนัย  ธรรมจารย์ทางจิตวิญญาณ  และผู้มีอัฉริยภาพในทางกวีนิพนธ์  เขาก่อตั้งนิกายเมาฬาวี  อันเป็นลัทธิซูฟี Sufism สายหนึ่ง  ซึ่งเป็นมุสลิมนอกกระแสหลักของศาสนาอิสลาม ที่เน้นทางภาวนา เพื่อเข้าถึงรหัสยนัยหรือความเร้นลับในสิ่งมหัศจรรย์  คือ  เข้าถึงองค์พระผู้เป็นเจ้า  

รูมีสอนที่โรงเรียนสอนศาสนาอิสลามและเขียนบทกวีที่เกี่ยวกับความรัก  ชีวิตและธรรมชาติที่เป็นที่นิยมอ่าน  รวมทั้งการอ่านออกเสียงและการเต้นรำแบบหมุนตัวตามคติซูฟี  ซึ่งมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมของชาวตุรกีสืบมาจนถึงปัจจุบัน  ผลงานเขียนของรูมีได้รับปารแปลเป็นภาษาอังกฤษและเป็นที่นิยมอ่านในโลกของคนใช้ภาษาอังกฤษด้วย

วรรณกรรมสำคัญของรูมี  ได้แก่  Masnawi Man’nawi (มัษนาวี)  Diwan Shams Tabrizi (กวีนิพนธ์แห่งชัมส์  ตับริซี)  และ  Fih Ma Fih รวมงานร้อยแก้วอีกกว่า ๗๑ ชิ้น โดยรูมีได้สรุปงานแห่งชีวิตของตัวเองไว้ดังนี้

                              ผลิตผลแห่งชีวิตของข้ามิได้มีมากกว่าสามบรรทัดนี้

                              ข้าเป็นวัตถุดิบ

                              ข้าถูกปรุงสุก

                              ข้าลุกไหม้ด้วยความรัก

ภาพ รูมีและหลุมฝังศพของเขา  บนธนบัตรใบละ 5,000 ของตุรกี

เมื่อรูมีถึงแก่กรรมวันอาทิตย์ที่  ๑๗  ธันวาคม  ๑๒๗๓  ในเวลาอาทิตย์อัสดงในเมืองโคเนีย  ชาวเมือง  ไม่ว่ามุสลิม  ยิวและคริสเตียน  คนจน คนรวย  ผู้คงแก่เรียน  ผู้ไม่รู้หนังสือ  ต่างมาร่วมงานศพเขาและคร่ำครวญอาลัย    อะห์มัด  อัฟลากี  (Ahmad Aflaki, ? - ๑๓๕๙)  ผู้เป็นสาวกจดจารไว้ว่าผู้คลั่งศาสนาบางคนคัดค้านต่อผู้ที่ไม่ใช่มุสลิม ซึ่งมาร่วมงานศพของรูมี  แต่ชาวยิวและคริสเตียนกล่าวว่า...หากเพื่อนชาวมุสลิมเข้าถึงพระศาสดามุฮัมมัดผ่านรูมีฉันใด  พวกเขาก็เข้าถึงโมเสสและพระเยซูผ่านรูมีได้ ฉันนั้น  ฉะนั้น  บางทีกวีนิพนธ์ของรูมีอาจนับเป็นวิสัยทัศน์แห่งการรู้แจ้งและเป็นเสียงแห่งความเป็นหนึ่งเดียวกันสำหรับโลกที่แบ่งแยกและศตวรรษแห่งความรุนแรงนี้

                             ข้าเป็นดวงเดือนทุกแห่งหนและมิเป็นของที่ใด

                             อย่าแสวงหาข้าจากภายนอก  ข้าสถิตอยู่ในชีวิตของเจ้าเอง

                             ใครใครเรียกเจ้าออกไปหาตัวเขา  ข้าเชิญเจ้าเข้ามาหาตัวเอง

                             กวีนิพนธ์เป็นดุจเรือและความหมายของมันเป็นดั่งทะเล

                             รีบมาลงเรือเถิด  ปล่อยให้ข้าแล่นเรือลำนี้ !

ติดตามผ่าน FACEBOOK

Video Of Week : เส้นทางนักบุกเบิก สตีฟ จ๊อบส์

Live Currency Cross Rates


The Forex Quotes are powered by Investing.com.

ไขปริศนาคดีฆาตกรต่อเนื่องโดย นักฆ่าโซดิแอค

โพสต์แนะนำ

Anton Van Leeuwenhoeh : ลีเวนฮุ๊ค (ค.ศ.1632-1723)

Anton Van Leeuwenhoeh : ลีเวนฮุ๊ค  นักชีววิทยาชาวดัชท์  ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็น " บิดาแห่งจุลชีววิทยาการ " ( the Father of M...

บทความที่ได้รับความนิยม

Kategori

สนับสนุนเว็บไซด์

หนังคาวบอยดี.. ดูฟรี ออนไลน์

Kategori