คุณรู้ไหมว่า...ใครเป็นใคร..? บนโลกใบนี้

คุณรู้ไหมว่า...ใครเป็นใคร..? บนโลกใบนี้

Umar IBN AI-Khattab : อุมัร กาหลิบ ที่ 2 (ค.ศ.586-644)


Umar IBN AI-Khattab : อุมัร กาหลิบ ที่ 2  กำเนิดที่เมืองเมกกะ ในปี 513  มีชื่อจริงว่า " อุมัร อิบนุ อัลค็อฏฏอบ อิบนุ นุไฟล อัลกุรอซีย์ " หรือมีฉายาว่า " อบูหัฟศิน " เขาได้ทำสงครามขยายดินแดนอาหรับไปอย่างกว้างขวาง  ซึ่งทำให้ในยุคสมัยของอุมัร กาหลิบ...เป็นรัฐอิสลามที่ประสบความสำเร็จในด้านการทหารเป็นอย่างสูง  โดยสามารถโค่นล้มมหาอำนาจเปอร์เซียลงได้สำเร็จ  อีกทั้งยังปลดปล่อยดินแดนซีเรียและปาเลสไตน์จากอำนาจของไบแซนไทน์  และสามารถพิชิตอียิปต์และเมืองอเล็กซานเดรียด้วย

อุมัย กาหลิบได้นำเอาระบบศักราชฮิจเราะฮ์ (หมายถึง ช่วงเวลาแห่งการอพยพของนบีมูฮัมมัด  และเหล่าเศาะฮาบะฮ์สาวก จากนครเมกกะ สู่ มะดีนะฮ์)  และเขายังได้นำระบบการใช้เงินบำนาญแก่ผู้ที่สูงอายุ  และจัดตั้งแผนกการคลังเพื่อทำหน้าที่ในการบริหารเงินรายได้ของรัฐที่มาจากส่วรกลางและส่วนภูมิภาค  จนทำให้..อุมัรกาหลิบได้รับการยกย่องว่าเป็นนักบริหารและนักปรครองที่ทรงธรรม

ในด้านการแพร่ศาสนา  เช่นกัน  อุมัรได้เผยแพร่ศาสนาอิสลามไปยังกว้างขวาง  ไปจนถึงอียิปต์  ซีเรียและในดินแดนเปอร์เซีย

อุมัรกาหลิบสิ้นชีวิตลงโดยการถูกลอบสังหารจากชาวเปอร์เซียคนหนึ่งที่มีชื่อว่า อบูลุลู ในปี ค.ศ.643  ในขณะที่เขากำลังละหมาดอยู่ในมัสยิด  

Mohammed หรือ Mohammad : พระมหะหมัด (ประมาณ ค.ศ.570-632)


Mohammed หรือ Mohammad : พระมหะหมัด หรือ พระนบีมุฮัมมัด  ผู้ประกาศศาสนาอิสลาม  เป็นชาวอาหรับที่เกิดในเมืองเมกกะ  ซึ่งในคืนหนึ่งบนยอดเขาฮีรอ  ท่านได้รับนิมิตจากทูตสวรรค์ว่า...ท่านเป็นผู้นำสารของพระเจ้า  เพื่อช่วยให้มนุษยชาติรอดพ้นจากหายนะ  ดังนั้น  พระมหะหมัดจึงเริ่มประกาศและเทศนาต่อประชาชนในราวปี ค.ศ.613 ในนครเมกกะ  ซึ่งในตอนนั้น  เป็นเรื่องยากมาก  เพราะชาวเมืองเมกกะส่วนมากยังนับถือรูปเคารพของพระเจ้าต่างๆมากมายถึง 360 พระองค์  ด้วยเหตุนี้  พระมหะมัดจึงเรียกร้องให้ประชาชนทำลายรูปเคารพของพระเจ้าต่างๆลงเสีย  และท่านยังสอนให้คนรวยแบ่งปันกับคนจน  และประกาศว่าคนทุกคนทั้ง...คนรวยและคนจน  และทาส...ก็มีสิทธิเข้าถึงพระเจ้าได้ทุกคน  ซึ่งเป็นการท้าทายต่อความเชื่อของศาสนาเก่าในยุคสมัยนั้น  ทำให้ศัตรูวางแผนสังหารท่าน  พระมหะมัดจึงต้องลี้ภัยจากเมืองเมกกะไปเมืองเมตินาในปี ค.ศ.622 และได้สะสมสานุศิษย์และกองกำลังเพื่อต่อสู้กับเจ้าครองนครเมกกะ  จนพิชิตเมืองเมกกะได้ในปี 629  และพระองค์ทรงได้ครอบครองทั้งแหลมอาระเบียในราวปี ค.ศ. 630 และท่านนบีมุฮัดหมัดยังได้มอบพระคัมภีร์อัลกุรอ่าน (Quran) ไว้เป็นมรดกที่วางรากฐานของศาสนาอิสลามต่อไป  ซึ่งในเวลาต่อมาได้แพร่หลายไปอย่างกว้างขวาง  และทำให้อาณาจักรอิสลามเจริญรุ่งเรื่องในคริสตศตวรรษที่ 9 อย่างมาก

ภาพ พระมหะมัดกำลังเทศนาต่อประชาชน  วาดโดย Grigorievich 

พระมหะมัดได้ปกครองเมืองเมกกะจนถึงพระชนมายุ 60 ปีพอดี  และเนื่องจากพิธีกรรมที่ท่านทำในยุคหลังนี้  เมืองเมกกะจึงกลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามจนถึงในปัจจุบัน  ซึ่งเป็นยอดของความปรารถนาของชาวอิสลามมิกชนทุกคน  ที่จะได้ไปนมัสการยังสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในนครเมกะ  ประเทศซาอุดิอารเบีย  สักครั้งหนึ่งในชีวิต

พระนบีมุฮัดหมัดได้สิ้นพระชนม์ที่เมืองเมตินา  ในปี 632 เมื่อพระชนมายุได้ 61 ปี

Arthur, King : กษัตริย์อาเธอร์ (คริสต์ศตวรรษ์ที่ 6)


Arthur, King : กษัตริย์อาเธอร์  ผู้นำทางทหารที่มีชื่อเสียงแห่งยุโรป  ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 6  โดยการปกป้องเกาะบริเตนและเอาชนะพวกแองโกลแซกซอน (Anglo-Saxon)  ซึ่งมีหลักฐานบันทึกไว้ด้วยภาษาละตินในคริสต์ศตวรรษที่ 9  โดยเป็นลายมือของนักบวชชาวเวลส์ชื่อ Nennius ที่ได้บันทึกรายละเอียดการรบ 12 ครั้งของอาเธอร์เอาไว้  ในจำนวนนี้รวมถึงยุทธการมอนส์บาโดนิคัส หรือ เรื่องการสู้รบที่ภูเขาบาดอนด้วย ซึ่งระบุไว้ว่า อาเธอร์ได้ต่อสู้ตามลำพังด้วยมือเปล่า และสังหารศัตรูไปถึง 960 คน และในบันทึก Annales Cambriae และอื่นๆ ซึ่งเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ยังไม่สามารถยืนยันความจริงได้


ภาพ กษัตริย์อาเธอร์และดาบวิเศษเอ็กซ์คาริเบอร์

เรื่องราวของกษัตริย์อาเธอร์ส่วนใหญ่ปรากฏอยู่ในตำนานพื้นบ้าน  วรรณกรรมของชาวเวลซ์ (Welsh) และมีชื่อเสียงอย่างมาก  จากผลงานเขียนของ เจฟฟีร์แห่งมอนมอธ (Geoffrey of Monmouth) ในเรื่อง Historia Regum Britanniae (ประวัติกษัตริย์แห่งบริเตน) โดยเฉพาะตำนานในเรื่อง พ่อมดเมอร์ลิน (Merlin) กลุ่มอัศวินโต๊ะกลม (Knights of the Round Table) ดาบวิเศษเอ็กซ์คาริเบอร์ (Excalibur) และอื่นๆ  แต่กระนั้น นักประวัติศาสตร์มากมาย...ก็ยังคงถกเถียงกันอยู่ว่า...กษัตริย์อาเธอร์มีตัวตนอยู่ในประวัติศาสตร์จริงหรือไม่ ?

Bodhidharma : พระโพธิธรรม (ตั๊กม้อ) คริสต์ศตวรรษที่ 6


Bodhidharma : พระโพธิธรรม (ตั๊กม้อ) พระภิษุในพุทธศาสนา บิดาแห่งศาสนาเซน ตามตำนานเล่าว่า  ตั๊กม้อเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 3 ของพระเจ้าแผ่นดิน แคว้นคันธารราษฎร์ ประเทศอินเดีย ท่านเป็นคนที่ฉลาดปราดเปรื่องตั้งแต่วัยเยาว์  และได้ศึกษาคัมภีร์ในศาสนาต่างๆจนแตกฉาน  ตั๊กม้อได้เดินทางไปเผยแพร่พุทธศาสนาในประเทศจีนในปี ค.ศ.520  ในสมัยพระจักรพรรดิ์อู่ตี้  และพำนักอยู่ที่จีนนานกว่า 9 ปี  ซึ่งพระโพธิธรรมได้เป็นผู้ให้กำเนิดพุทธศาสนานิกายเซน  ที่ต่อมาได้แพร่หลายทั้งในแผ่นดินจีนและญี่ปุ่น  และพระตั๊กม้อยังได้สถาปนาวัดเส้าหลินขึ้น  จนมีชื่อเสียงจนมาถึงปัจจุบัน

ชีวประวัติของท่านตั๊กม้อถือเป็นตำนาน ที่ยังขาดหลักฐานยืนยันที่แน่นอน เช่น ตำนานหนึ่งเล่าว่า ท่านได้ตัดหนังตาทิ้ง เนื่องจากโมโหที่เผลอหลับไปขณะทำสมาธิ เมื่อหนังตานั้นตกถึงพื้น ก็ได้เติบโตกลายเป็นต้นชา ด้วยเหตุนี้  ภิกษุในนิกายเซนจึงนิยมดื่มน้ำชา เพราะจะได้ไม่ง่วงในเวลาทำสมาธิ  นั่นเอง

Sui Wen Ti : สุย เหวิน ตี้ (ค.ศ.541-604)


Sui Wen Ti : สุย เหวิน ตี้ผู้สถาปนาราชวงศ์สุยของจีน  ได้ชื่อว่าเป็นกษัตริย์ที่มีพระปรีชาสามารถและทรงคุณธรรม  เหวินตี้ได้รวบรวมแผ่นดินจีนให้เป็นเอกภาพอีกครั้ง และขยายอาณาเขตไปอย่างกง้างขวาง โดยการพิชิตโฮ่วเหลี่ยงซึ่งตั้งอยู่ตอนกลางของแม่น้ำฉางเจียง  ถึงปีค.ศ.589 ก็ยกทัพไปพิชิตภาคใต้ได้จนหมดสิ้น  โดยที่อาณาจักรเฉินแทบจะไม่ได้ต่อต้านเลย  ซึ่งทำให้ในรัชสมัยของพระองค์แผ่นดินจีนได้รวมเป็นปึกแผ่นอีกครั้ง  หลังจากยุคมิคสัญญีที่มีแต่ความแตกแยกและไร้เสถียรภาพมาเป็นเวลายามนานถึง 3 ศตวรรษ   ในการปกครอง  เหวินตี้ใช้รูปแบบการปกครองแบบรัฐรวมศูนย์อำนาจที่เข้มแข็ง (ซึ่งได้กลายเป็นพื้นฐานของการปกครองอาณาจีนของจักพรรดิ์ราชวงศ์ต่างๆที่สืบต่อกันมาจนถึงศตวรรษที่ยี่สิบ) ในด้านงานราชการ  เหวินตี้ได้ส่งข้าราชการที่ผ่านการสอบคัดเลือกแข่งขันไปบริหารเมืองต่างๆ  แทนตระกูลท้องถิ่นที่สืบเชื้อสายกันมา  และพระองค์ยังทรงนำระบบการจัดสรรแบ่งบันที่นาอย่างเป็นธรรมมาใช้  และสร้างประมวลกฎหมายใหม่  ปรับปรุงระบบภาษี  ดำเนินกิจการยุ้งฉางแบบมีการควบคุมราคา  เมื่อพระองค์เข้าสู่วัยชราทรงหันมาเลื่อมใสในพุทธศาสนาและสร้างศาสนสถานหลายแห่ง

ในปีค.ศ. 604 เหวินตี้ประชวร(ในระหว่างที่เรียกให้ราชโอรสให้มาเข้าเฝ้า) และได้สิ้นพระชนม์ชีพไปอย่างกระทันหัน  ทำให้มีข้อสันนิษฐานกันว่า  หยางกวางพระโอรสได้กระทำ " ปิตุฆาต " เพื่อตนจะได้ขึ้นสืบราชสมบัติและราชวงศ์สุยแทน  ซึ่งหยางกวางได้สถาปนาตนเป็นพระเจ้าหยางตี้  ในเวลาต่อมา

Justinian I : พระเจ้าจัสติเนียนที่ 1 (ค.ศ. 483-565)


Justinian I : พระเจ้าจัสติเนียนที่ 1 แห่งจักรวรรดิ์ไบแซนไทน์ (Byzantine Empire) ผู้ทรงมุ่งมั่นที่จะยึดแคว้นของจักรวรรดิ์โรมันเดิมที่ถูกพวกอนารยชนบุกทำลายกลับคืนมา  นับจากปี ค.ศ. 527 โดยพระเจ้าจัสติเนียนได้ยกกองทัพเข้าชิงเอาดินแดนในแอฟริกาเหนือและบางส่วนของเสปนกับอิตาลีได้สำเร็จ  และขยายอาณาจักรก้วางใหญ่ออกไปกว่าจักรวรรดิโรมันตะวันออกเดิม  ในการพัฒนาบ้านเมือง  พระองค์ทรงสร้างโครงการใหญ่โตมากมายให้กับประชาชน ทั้งตกแต่งนครคอนสแตนติโนเปิลและพระราชวังให้สวยงาม  สร้างห้องสมุด  และที่อาบน้ำสาถารณะ  สร้างวิหารฮอลี่ วิสดัม (Holy Wisdom) อันใหญ่โตที่เซนโซเฟีย  ซึ่งใช้ทองคำแท่งทำเป็นเพดานและใช้ช่างกว่า 10,000 คน และสร้างนานถึง 5 ปี  ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่ใหญ่โตสวยงามและมีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

ภาพ อาณาจักรของพระเจ้าจัสติเนียนที่ 1
จักรวรรดิโรมันตะวันออก (สีม่วง) และ vassals (สีชมพู) ใน 555 AD  
  

ผลงานที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ทรงบัญชาให้รวบรวมประมวลกฎหมายโรมัน หรือที่เรียกกันว่า " กฎหมายจัสติเนียน " (Code of Justinian) นับตั้งแต่มีกฎหมายสิบสองโต๊ะก่อนหน้านี้  ซึ่งพระองค์ทรงจัดตั้งให้มีคณะกรรมการโดยมีนักกฎหมายชื่อ ตริโบเนียน เป็นประธาน รวมทั้งตัวพระองค์ด้วยได้ร่วมกันพิจารณาขำระสะสางและร่างประมวลกฎหมายใหม่ขึ้น  จนแล้วเสร็จและได้ตราเป็นกฎหมายออกใช้เมื่อปี 529  (ว่ากันว่ากฎหมายฉบับนี้ แสดงออกถึงการปกป้องทรัพย์สินของปัจเจคบุคคล  ดำรงไว้ซึ่งอภิสิทธิ์ของชนชั้นสูง และสนับสนุนระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ซึ่งได้เป็นรากฐานของกฎหมายในหลายๆประเทศในยุโรป...ในเวลาต่อมา

และด้วยเพราะพระเจ้าจัสติเนียนทรงพยายามถอนรากถอนโคนการทุจริตฉ้อฉล  จนเป็นเหตุให้เกิดการกบฎในเมืองคอนสแตนติโนเปิล (อินตันบูล) แต่พระเมหสีของพระองค์(พระนางธีโอโดรา ก็ข่วยปราบกบฎได้สำเร็จ  ในภายหลัง  พระนามของพระเจ้าจัสติเนียนจึงได้กลายเป็นรากศัพท์ของคำว่า " ยุติธรรม " (Justice ) ในปัจจุบัน

Kalidasa : กาลิทาส (ราวคริสต์ศตวรรษที่ 5)


Kalidasa : กาลิทาส  มีความหมายว่า " ทาสรับใช้เจ้าแม่กาลี " เขาเป็นกวีมหากาพย์และนักเขียนบทละครชาวอินเดีย  ผู้เป็นกวีประจำราชสำนักพระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 2 หรือพระเจ้าวิกรรมาทิต  ซึ่งกาลิทาสเขียนกวีเป็นภาษาสันสกฤตที่อิงกับหลักทางปรัชญาฮินดูและศาสนาฮินดู  และกาลิทาสยังได้รับการยกย่องว่าเป็นนักเขียนชาวอินเดียยุคคลาสสิคที่ยิ่งใหญ่ที่สุด  อีกด้วย

ภาพ ราวีจาวาร์มา  มหาภรตะ

บทละครที่มีชื่อเสียง 3 เรื่องของกาลิทาส ได้แก่ มาลวิกาคฺนิมิตฺร (มาลวิกา และ อัคนิมิตร), วิกฺรโมรฺวศียะ (วิกรม และอุรวศิ) และอภิชฺญานศากุนฺตลํ (ศกุนตลา)

นอกจากนี้ยังมีบทร้อยกรองที่รู้จักกันดีอีกจำนวนไม่น้อย ได้แก่ รฆุวงศ์ (ประวัติของพระราม) เมฆทูต และฤตุสํหาร เป็นต้น

ผลงานของกาลิทาสได้รับการเปลเป็นภาษาต่างๆ มากมาย ทั้งเยอรมัน อังกฤษ ฝรั่งเศส แม้กระทั่งในภาษาไทยด้วย

ติดตามผ่าน FACEBOOK

Video Of Week : เส้นทางนักบุกเบิก สตีฟ จ๊อบส์

Live Currency Cross Rates


The Forex Quotes are powered by Investing.com.

ไขปริศนาคดีฆาตกรต่อเนื่องโดย นักฆ่าโซดิแอค

โพสต์แนะนำ

Anton Van Leeuwenhoeh : ลีเวนฮุ๊ค (ค.ศ.1632-1723)

Anton Van Leeuwenhoeh : ลีเวนฮุ๊ค  นักชีววิทยาชาวดัชท์  ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็น " บิดาแห่งจุลชีววิทยาการ " ( the Father of M...

บทความที่ได้รับความนิยม

Kategori

สนับสนุนเว็บไซด์

หนังคาวบอยดี.. ดูฟรี ออนไลน์

Kategori