คุณรู้ไหมว่า...ใครเป็นใคร..? บนโลกใบนี้

คุณรู้ไหมว่า...ใครเป็นใคร..? บนโลกใบนี้

Herodotus เฮโรโดตัส (484-424 ก่อน ค.ศ.)


Herodotus เฮโรโดตัส นักประวัติศาสตร์ชาวกรีก ผู้เขียนประวัติสงครามกรีกและเปอร์เซีย 9 เล่ม ได้รับการยกย่องว่าเป็น " บิดาของวิชาประวัติศาสตร์ " เฮโรโดตัสได้เดินทางอย่างกว้างขวางในอียิปต์ เอเซีย ยุโรปตะวันออกและอิตาลี ซึ่งในระหว่างการเดินทางเขาได้รวบรวมข้อมูลต่างๆที่ได้พบเห็นไว้เป็นจำนวนมาก  และได้นำมาใช้ในการพรรณาทางประวัติศาสตร์ได้อย่างยิ่งใหญ่ และเขายังเป็นผู้จัดอันดับ 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณขึ้นเป็นครั้งแรกด้วย ซึ่งยังคงป็นหลักฐานที่ใช้อ้างอิงมาจนถึงปัจจุบันนี้  นอกจากนั้นเขายังมีชื่อเสียงว่าเป็นนักภูมิศาสตร์และนักชาติพันธุ์วิทยาด้วย

วาทกรรม " ความโชคร้ายมากที่สุด ของมนุษย์ คือ การเป็นคนฉลาดที่หามิอิทธิพลใดๆไม่ "

Euripides ยูรีพิดิส (484-407 ก่อน ค.ศ.)


Euripides ยูรีพิดิส นักเขียนบทละครโศกนาฎกรรม 1 ใน 3 ผู้ยิ่งใหญ่ของชาวกรีก  ซึ่งมีอิทธิพลต่อบทละครในยุคหลังๆอย่างมาก เขาเขียนบทละครถึง 92 เรื่อง แต่น่าเสียดาย  ที่เหลือตกทอดมาถึงในปัจจุบันเพียง 18 หรือ 19 เรื่องเท่านั้น  ยูรีพิดีสชอบเขียนละครในแนวที่สมจริง ส่วนใหญ่  มักเป็นเรื่องเกี่ยวกับอารมณ์และความรู้สึกของปัจเจกชนมากกว่า โดยสะท้อนให้เห็นชะตากรรมอันน่าเศร้าของตัวละครอันเกิดจากความยากจน  ความบกพร่องทางจิตใจ  และอารมณ์รุนแรงที่อยู่เหนือการควบคุมของมนุษย์ และการตกเป็นเหยื่อในสังคมอาทิเช่น ( Tragiccomedies) มี Iphigenia in Aulis และ Alcestis เป็นต้น

วาทกรรม " ความรัก คือทั้งหมดที่มนุษย์เรามี, คือวิถีทางเดียว, ที่เราแต่ละคนจะช่วยเหลือกันและกันได้ "

Sophocles โซโฟคลิส (495-406 ก่อ ค.ศ.)


Sophocles โซโฟคลิส นักเขียนบทละคร 1 ใน 3 ของนักเขียนโศกนาฎกรรมที่ยิ่งใหญ่ของชาวกรีก (อีก 2 คนคือ Aeschylusc และ Euripides) ซึ่งเขาได้พัฒนาละครแบบโศกนาฎกรรม โดยการเพิ่มให้มีนักแสดงคนที่สามในการแสดงละครเวที  และเขาเป็นผู้ได้ริเริ่มสร้างฉากประกอบเวทีด้วย  เขาเขียนบทละครไว้ราว 120 เรื่อง ซึ่งในปัจจุบันนี้  มีต้นฉบับเหลือสืบทอดมาเพียง 7 เรื่องคือ Antigone, Oedipus Tyrannus, Electra, Ajax, Trachniae, Philoctetes และ Oedipus at Colonus ในบทละครของโซโฟคลิส หลายๆเรื่อง เขาชอบเขียนให้มนุษย์มีบทบาทมากกว่าเทพเจ้า และตัวละครของเขาส่วนใหญ่เป็นวีรบุรุษที่ต้องเผชิญกับความทุกข์ยากและชะตากรรม แต่ในขณะเดียวกันก็มีบทกวีที่สง่างามรวมอยู่ด้วย  และเขายังเขียนบทละครที่เสียดสีล้อเลียนสังคมไว้ด้วย 

วาทกรรม : " มีคำๆเดียว ที่ปลดปล่อยเราจากน้ำหนักและความเจ็บปวดทั้งหมดของชีวิต : คำนั้น คือ ความรัก " 

Pericles เพริคลิส (495-429 ก่อน ค.ศ.)


Pericles เพริคลิส รัฐบุรุษกรีก นักกล่าวปราศัย ผู้มีอิทธิพลต่อกรุงเอเธนส์อย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงระหว่างสงครามเปอร์เซีย (Persian Wars) และ สงครามเพโลโพนีเซียน (Peloponnesian Wers)  เพริคลิสได้ชื่อว่าเป็นนักการเมืองที่ฉลาดหลักแหลม  นักการทหารที่เข้มแข็ง เขาได้สร้างวิหาร Athena Nike, Propylaea, Parthenon และเพริคลิสยังได้ส่งเสริมในศิลปะและวรรณกรรม ละครและปรัชญาให้กลับมาเฟื่องฟู  จนทำให้กรุงเอเธนส์กลายเป็นศูนย์การศึกษาและวัฒนธรรมของโลกยุคโบราณ และทำให้กรีกมีความก้าวหน้าทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง ฯลฯ



Pericles กำลังกล่าวปราศัยในพิธีงานศพช่วงสิ้นปีแรกของสงคราม Peloponnesian Wers
ซึ่งทำให้ Pericles เป็นนักการเมืองมีชื่อเสียงอย่างมาก ในเวลาต่อมา 

Cyrus The Great ไซรัสมหาราช (575-529 ก่อน ค.ศ.)


Cyrus 2 ไซรัสมหาราชหรือพระเจ้าไซรัสที่ 2 เป็นปฐมกษัตริย์แห่งจักรวรรดิอาคีเมนิด (Achaemenid Empire) หรือจักรวรรดิเปอร์เซีย (อิหร่าน) ผู้รวบรวมบางส่วนของดินแดนกรีกและตะวันออกกลางไว้ด้วยกัน รวมทั้งบาบิโลนและบากเตรียด้วย พระเจ้าไซรัสทรงเอาชนะดินแดนต่างๆได้ด้วยทั้งวิธีการทูตและการทหารและเป็นผู้สร้างอารยธรรมที่ขยายตัวในอีก 2 ศตวรรษต่อมา และพระองค์ยังได้สร้างตราจารึกทรงกระบอก เรียกว่า " กระบอกพระเจ้าไซรัส " (Cyrus Cylinder) ซึ่งมีเนื้อหาถือกันว่าเป็นประกาศสิทธิมนุษยชนฉบับต้นๆของโลกนี้ เลยทีเดียว 


กระบอกพระเจ้าไซรัส 

Aeschylus อาชิลัส (525-456 ก่อน ค.ศ.)


Aeschylus อาชิลัส " บิดาแห่งโศกนาฎกรรม " (Tragedy) นักเขียนบทละครชาวกรีก เขาเป็นผู้แต่งละครเรื่อง The Persian (เรื่องเกี่ยวกับสงครามระหว่างกรีกกับเปอร์เซีย) The Suppliant Woman (ละครร้องเกี่ยวกับเรื่องสิทธิของวิหารที่พำนักภัย) และ Oresteia (เรื่องเกี่ยวกับคำสาปแช่งบ้านของอกาเมนอน) และเขายังได้เปลี่ยนแปลงในด้านรูปแบบด้วย ซึ่งในสมัยก่อนหน้านั้น ละครจะเล่นโดยคนๆเดียว เหมือนกับการเล่าเรื่อง แต่อาซิลัสได้ริเริ่มเพิ่มตัวละครอื่นๆเข้าไป และทำให้เกิดการพัฒนาของละครที่มีบทสนาทนาและการแสดงที่เพิ่มขึ้น และได้มีอิทธิพลต่อการสถาปนาละครแบบโศกนาฎกรรมในยุโรปในหลายศตวรรษต่อมา 

วาทกรรม " ถ้อยคำ คือผู้เยียวยาจิตใจที่เจ็บป่วย "

Heraclitus of Ephesus เฮราไคลตัส (533-475 ก่อน ค.ศ.)


Heraclitus เฮราไคลตัส นักปราชญ์ชาวกรีกผู้เสนอแนวคิดเรื่อง Logos (กฎจักรวาล) หมายถึง หลักเหตุผลต่างๆที่ควบคุมทั้งจักรวาลและมนุษย์ เขาคิดว่าการเปลี่ยนแปลงคือแกนกลางของจักรวาล ชีวิต และความตาย เสมือน สองหน้าของเหรียญอันเดียวกัน ตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดสิ่งใดเลวร้ายขึ้น ในขณะเดียวกันก็เกิดสิ่งที่ดีด้วยเช่นกัน เป็นปรากฏการณ์เดียวกัน ไม่ใช่ 2 ปรากฎการณ์ที่แยกจากกัน ซึ่งทฤษฏีนี้ต่อมาได้มีอิทธิพลต่อแนวความคิดของ เฟรดริช นิทเช่ (Friedrich Willhelm Nietzsche) ในปรัชญาของ space และ time ซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ยาก จนแม้แต่อริสโตเติลยังมองว่า เขาเป็นกวีมากกว่าที่จะเป็นนักปราชญ์  

วาทกรรม : " ท่านมิอาจก้าวย่ำแม่น้ำสายเดียวได้ถึงสองครา ด้วยว่า...สายน้ำใหม่รุดไหลมาแทนที่อยู่เรื่อยไป "

Confucius ( Kong ZI ) ขงจื้อ (551-479 ก่อน ค.ศ.)


Confucius ขงจื้อ หรือเรียกว่า (ขงฟู่จื่อ,ข่งชิว) เกิดที่แคว้นลู้ ปัจจุบันคือ มณฑลชานตุง ขงจื้อเป็นนักปราชญ์ชาวจีนผู้เป็นศาสดาแห่งคติขงจื้อ โดยคำสอนมุ่งเน้นในเรื่องจริยธรรมส่วนตัวและศีลธรรมในการปกครอง เพื่อให้ผู้คนอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีสันติสุข ขงจื้อเริ่มต้นชีวิตราชการจากการเป็นเสมียนชั้นผู้น้อย(หน้าที่ดูแลปศุสัตว์) และย้ายมาอยู่กระทรวงการคลัง ฯลฯ แต่ต่อมาถูกปลดออกจากราชการและต้องเดินทางเร่รอนไปตามแคว้นต่างๆอยู่หลายปี ในภายหลัง เมื่อกลับรัฐลู้ได้รับการยอมรับว่าเป็นปราชญ์ เป็นครูและเปิดโรงเรียนสั่งสอนสร้างบัณฑิตและมีลูกศิษย์มากมาย ซึ่งคำสอนของขงจื้อได้รับการบันทึกรวบรวมหลังจากเขาเสียชีวิตแล้ว และได้กลายเป็นลัทธิศาสนาที่มีอิทธิพลต่อชาวจีนอย่างมาก จากอดีตจนถึงในปัจจุบัน 

วาทกรรม : " ถ้าท่านปรารถนาแต่สิ่งที่ดี ประชาชนก็จะพลอยดีไปด้วย สุภาพบุรุษคือลม คนทั่วไปคือหญ้า เมื่อลมพัดผ่านหญ้า หญ้าก็ต้องลู่ตามลมอย่างไม่มีทางเลือก "

Buddha พระพุทธเจ้า (563-483 ก่อน ค.ศ.)


Buddha พระพุทธเจ้า เจ้าชายโคตมะสิทธัตถะ แห่งศากยวงศ์ โคตมโครต ราชสกุลที่ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์ นครรัฐแห่งหนึ่งในอินเดีย เมื่ออายุ 29 ปี เจ้าชายสิทธัตถะได้สละราชบัลลังก์และออกผนวชเพื่อแสวงหาทางพ้นทุกข์และแสวงหาสัจธรรม รวม 6 ปี จึงได้ตรัสรู้ บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งพระโคตมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ ค้นพบในอริยสัจ 4 หรือความจริง 4 ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค (หนทางในการดับทุกข์) หลังจากนั้นได้ตั้งคณะสงฆ์เพื่อเผยแพร่คำสอน ซึ่งเป็นแนวคิดใหม่ที่ต่างไปจากศาสนาพราหมณ์ (ฮินดู) ในตอนนั้น ต่อมาในสมัยพระเจ้าอโศก (250 ปี่ ก่อน ค.ศ.) ได้รวบรวมคำสอนเป็นลายลักษณ์อักษร และเรียกว่า " พระไตรปิฏก " ศาสนาพุทธเคยเจริญรุ่งเรืองในอินเดียอยู่สมัยหนึ่งและเผยแพร่ไปประเทศอื่นๆ ในทวีปเอเซียด้วย เช่น พม่า ไทย ลาว กัมพูชา และเอเซียตะวันออกในบางส่วน แต่ต่อมาในอินเดียพุทธศาสนาได้ถูกครอบงำโดยพราหมณ์และเสื่อมความนิยมไปหลังจากจักรพรรดิชาวมุสลิมยึดครองอินเดีย 

วาทกรรม " ความอดทน ย่อมตัดรากแห่งบาปทั้งสิ้น ผู้มีขันติชื่อว่าย่อมขุดรากแห่งการติเตียน และการทะเลาะกันได้ "

Pythagoras ปิธากอรัส (580-500 ก่อน ค.ศ.)


Pythagoras ปิธากอรัส ได้ชื่อว่าเป็น " บิดาแห่งตัวเลข " นักปรัชญา และนักคณิตศาสตร์ชาวกรีก ผู้ค้นพบทฤษฏีบทปีธากอรัส (หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับความยาวของด้านต่างๆของสามเหลี่ยมมุมฉาก) ซึ่งปิธากอรัสได้พัฒนาทฤษฏีคณิตศาสตร์  และนำมาใช้เป็นแนวคิดในทางปรัชญาแบบเหตุผลนิยม  สัดส่วนของดนตรี  และมาตราส่วนด้วย  ปิธากอรัสเห็นว่าความจริงสูงสุดนั้นสามารถเข้าถึงได้ผ่านทางคณิตศาสตร์ และต่อมาเขาได้จัดตั้งกลุ่มลัทธิปิธาโกเรี่ยนขึ้นด้วย  โดยพวกปิธาโกเรี่ยนนั้น มีความเชื่อในเรื่องการกลับชาติมาเกิด และเชื่อว่าตัวเลขเป็นธรรมชาติที่แท้จริงของทุกสรรพสิ่ง ซึ่งปรัชญาและผลงานอื่นของเขาได้มีอิทธิพลต่อเพลโตและอริสโตเติล นักปราชญ์ในรุ่นต่อมาอีกด้วย


กลุ่มปิธาโกเรียน

วาทกรรม : " เรียนรู้ที่จะนิ่ง  ปล่อยให้ใจที่สงบของคุณฟังและซึมซับ"

Mahavira มหาวีระ (599-527 ก่อน ค.ศ.)


Mahavira มหาวีระ หรือ นิครนถนาฏบุตร ศาสดาองค์สุดท้ายและผู้ปฏิรูปศาสนาเชน (ไชนะ) แปลว่า " ผู้ชนะ " ศาสนาเชน คัดค้านศาสนาพรามหณ์ที่เน้นความเชื่อในเรื่องพระเจ้า ซึ่งพระมหาวีระไม่นับถือพระเจ้าหรือเทพเจ้าใดๆ แต่ถือหลักอหิงสา การไม่เบียดเบียน ไม่ทำลายชีวิต การไม่กินอาหารจากเนื้อสัตว์ และมีคำสอนว่าผู้ประสงค์พ้นจากทุกข์จะต้องไม่ปรารถนามาก ซึ่งมีหลักคิดคล้ายพุทธศาสนา เพราะเกิดในยุคสมัยใกล้เคียงกัน ศาสนาเชนมีจุดมุ่งหมายสูงสุดของศาสนา คือ การบำเพ็ญตนให้หลุดพ้นจากกิเลส และหลุดพ้นจากสังสารวัฏ โดยเรียกว่า โมกษะ แต่เมื่อหลังจากพระมหาวีระสิ้นไปแล้ว ศาสนิกก็แตกแยกกันทำให้หลักธรรมดั่งเดิมที่เรียบง่าย แปลเปลี่ยนไป ในพ.ศ.200 ศาสนาเชนได้แตกเป็น 2 นิกาย คือ 1) นิกายทิคัมพร นุ่งลมห่มฟ้า และ 2) นิกายเศวตัมพร นุ่งขาวห่มขาว 

Lao Tzu เล่า จื้อ (604-531 ก่อน ค.ศ.)


Lao Tzu เล่า จื้อ นักปรัชญาจีน ผู้ให้กำเนิดลัทธิเต๋า ไม่ทราบประวัติแน่นอน เพราะมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์น้อยมาก เล่าจื้อได้เขียนตำราอันเป็นแบบแผนของลัทธเต๋า ชื่อคัมภีร์ " เต๋า เต้ก เก็ง " (หนทาง) "เต่า" หมายถึง หนทาง และ "เต็ก" หรือ "เต๋อ" หมายถึงคุณธรรม ซึ่งเนื้อหาในคัมภีร์นี้มีความสำคัญกับวัฒนธรรมจีนอย่างมาก คัมภีร์เต๋าเต็กเก็งมีอักษรจีน 5,000 อักษร โดยมีเนื้อหาในด้านปรัชญาบุคคล ความกลมกลืนต่อการใช้ชีวิตกับธรรมชาติ จนถึงปรัชญาการเมือง ซึ่งคติธรรมของเต๋าคัดค้านกับคติธรรมของขงจื้อที่เน้นเรื่องการเชื่อในผู้ปกครอง เคารพบรรพบุรุษ และปฏิบัติพิธีกรรม

วาทกรรม : " การเป็นอิสระจากการไม่มุ่งมั่นความปรารถนาใดๆ จะนำไปสู่สันติสุข "

Aesop อีสป ( 6 ศตวรรษ ก่อน ค.ศ.)


Aesop อีสป นักเล่านิทานชาวกรีกโบราณ เชื่อว่าเป็นบุคคลหน้าตาอัปลักษณ์ และเคยเป็นทาสมาก่อน แต่อีสปเป็นคนที่มีไหวพริบปฎิภาณดีเยี่ยม ชอบเล่านิทานและพเนจรไปทั่ว เชื่อว่านิทานที่อีสปเล่าเป็นนิทานที่เล่าสืบทอดกันมานับร้อยๆปี จนในยุคสมัยของกวีชาวโรมัน ชื่อ เพดรัส นำมาเล่าอีกจนแพร่หลาย ในคริสต์ศตวรรษที่ 1 ต่อมา" ฌอง เดอ ลา ฟงแทน " กวีชาวฝรั่งเศส ได้นำมาบันทึกเขียนใหม่ในสมัยหลัง เป็นทั้งร้องแก้วและร้อยกรอง จึงได้รับความนิยมแพร่หลายอย่างมาก เนื้อเรื่องนิทานของอีสปส่วนใหญ่สอนเกี่ยวกับหลักในการดำรงชีวิต เป็นนิทานที่สะท้อนทัศนะผู้ใหญ่มากกว่าเป็นวรรณกรรมของเด็ก ในยุคหลังๆนิทานอีสปได้มีการผสมปนเปกับนิทานจากตะวันออกคืออินเดียด้วย

วาทกรรม : " เป็นเสรีชนที่อดอยาก ยังดีกว่าเป็นทาสที่อ้วนท้วน " 

Zoroaster โซโรแอสเตอร์ (628-551 ก่อน ค.ศ.)


Zoroaster โซโรแอสเตอร์ หรือ ซาราธุสตรา (Zarathustra) ศาสดาแห่งคติ Zoroastrianism อาณาจักรเปอร์เซียของชาวอินโดอารยัน (บรรพบุรุษร่วมกันของอิหร่านและอินเดีย) ทรงปฏิรูปศาสนาในสมัยนั้นที่นับถือเทพเจ้าหลายพระองค์ให้หันมานับถือเทพเจ้าสูงสุดเพียง 3 พระองค์ และห้ามทำพิธีกรรมประเภทสังเวยชีวิตสัตว์ พิธีกรรมดื่มฉลองจนเมามาย แต่โซโรอัสเตอร์ยังคงระบบบูชาไฟ (ซึ่งเป็นสิ่งที่มีค่าต่อมนุษย์ในยุคนั้นมาก) หลักธรรมคติของโซโรอัสเตอร์ คือทำมาหาเลี้ยงชีพในทางชอบ คิดดี พูดดี ทำดี และมีความเชื่อว่าเมื่อคนเราตายไปจะได้รางวัลหรือการลงโทษแล้วแต่การกระทำของบุคคลนั้นๆ คาดว่าคติโซโรเอสเตอร์น่าจะมีอิทธิพลต่อศาสนาในรุ่นหลังอย่างศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์ คตินี้ได้รับการสืบทอดโดยกลุ่มชนที่บรรพบุรุษของพวกเขาได้อพยพหนีการปราบปรามของพวกมุสลิมจากเปอร์เซียมาตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 8 

วาทกรรม : " ความยากจนเพราะมีความซื่อสัตย์ ดีกว่าความมั่งคั่งอันเนื่องมาจากทรัพย์ของคนอื่น จงทำตัวเองให้บริสุทธิ์ ใครๆ ในโลกเบื้องล่างนี้ อาจบรรลุความบริสุทธิ์ของตนเองได้ โดยการชำระตัวเองให้สะอาด ด้วยความคิด ถ้อยคำ และการกระทำที่ดีงาม "

Solon โซลอน (630-560 ก่อน ค.ศ.)


Solon โซลอน ปราชญ์และนักปกครองชาวกรีก มาจากครอบครัวชนชั้นสูง  เขาได้รับเลือกเป็นหัวหน้าฝ่ายปกครอง 1 ใน 9 คนของกรีก และมีบทบาทมากขึ้นในการบัญญัติกฎหมายใหม่ที่มีความเป็นธรรมมากขึ้น ปฏิรูปการปกครอง เช่น ปรับปรุงการผลิต การชั่งตวง การผลิตเหรียญกษาปณ์ การช่วยไถ่ถอนที่ดิน และไถ่ถอนคนที่เป็นทาสเนื้องจากเป็นหนี้สิ้นให้เป็นไท โซลอนยกเลิกการปกครองระบอบอภิชนาธิปไตย เปิดทางให้พลเมืองซึ่งมีฐานะดีได้มีส่วนร่วมในการปกครอง โดยไม่จำกัดด้วยการสืบเชื้อสายจากชนชั้นสูงเหมือนในยุคก่อนหน้านั้น ถือว่าเขาเป็นนักกการเมืองการปกครองคนแรกๆของโลกนี้

Nebuchadnezzar II (630-562 ก่อน.ค.ศ)


Nebuchadnezzar II เนบูคัดเนสซาร์ที่ 2 กษัตริย์ผู้ฟื้นฟูจักรวรรดิบาบิโลนให้รุ่งเรืองขึ้นใหม่ (คือประเทศอิรักในปัจจุบัน) ทรงเข้าครอบครองอาณาจักร Chaldean และอาณาจักรยูดาห์  และจับชาวยิวจำนวนมากมาเป็นเชลยที่บาบิโลน  เป็นผู้สร้างสวนลอยแห่งมืองบาบิโลน ซึ่งเป็นอาคารที่มีดาดฟ้าหลายชั้น  มีระบบทดน้ำและได้รับการยกย่องว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ 1 ใน 7 ของโลกยุคโบราณ มีบันทึกไว้ในพระคัมภีร์ไบเบิลว่า กษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ ได้ทรงสติฟั่นเฟือนในช่วงบั้นปลายชีวิต พระองค์ " แยกตัวออกจากผู้คน เสวยหญ้าราวกับวัว ร่างกายเปียกชุ่มด้วยน้ำค้างแห่งสวรรค์ พระเกศาราวกับขนนกอินทรี... " และเสด็จสวรรคตเมื่อประมาณ (561 ก่อน ค.ศ.)


สวนลอยเมืองบาบิโลน

Sappho แซฟโฟ (637-572 ก่อน ค.ศ.)


Sappho แซฟโฟ  กวีสตรีชาวกรีกยุคในโบราณ  ผู้สร้างงานเขียนที่มีอารมณ์และมีชีวิตชีวา  และมีอิทธิพลต่อกวีอื่นๆ  ในยุคต่อมาเป็นเวลาอีกนาน  เธอมักเขียนเรื่องส่วนตัว  วิเคราะห์ความหรรษาและความปวดร้าวของเธอเองได้อย่างมีพลังทางอารมณ์ 

ภาพเหมือนของแซฟโฟ



A Hymn To Venus : เพลงเพื่อวีนัส


O Venus, beauty of the skies,
To whom a thousand temples rise,
Gaily false in gentle smiles,
Full of love-perplexing wiles;
O goddess, from my heart remove
The wasting cares and pains of love.

If ever thou hast kindly heard
A song in soft distress preferred,
Propitious to my tuneful vow,
A gentle goddess, hear me now.
Descend, thou bright immortal guest,
In all thy radiant charms confessed.

 
Thou once didst leave almighty Jove
And all the golden roofs above:
The car thy wanton sparrows drew,
Hovering in air they lightly flew;
As to my bower they winged their way
I saw their quivering pinions play.

The birds dismissed (while you remain)
Bore back their empty car again:
Then you, with looks divinely mild,
In every heavenly feature smiled,
And asked what new complaints I made,
And why I called you to my aid?

What frenzy in my bosom raged,
And by what cure to be assuaged?
What gentle youth I would allure,
Whom in my artful toils secure?
Who does thy tender heart subdue,
Tell me, my Sappho, tell me who?

Though now he shuns thy longing arms,
He soon shall court thy slighted charms;
Though now thy offerings he despise,
He soon to thee shall sacrifice;
Though now he freezes, he soon shall burn,
And be thy victim in his turn.

Celestial visitant, once more
Thy needful presence I implore.
In pity come, and ease my grief,
Bring my distempered soul relief,
Favour thy suppliant's hidden fires,
And give me all my heart desires. 


by Sappho (approx 600BC)

Thales ทาเลส (640-546 ก่อน ค.ศ.)


Thales ทาเลส นักคณิตศาสตร์ดาราศาสตร์  นักวิทยาศาสตร์ชาวกรีก ผู้ให้กำเนิดทฤษฏีแห่งตัวเลข  ค้นพบไฟฟ้าสถิต  และเป็นคนตั้งกฎเกณฑ์ทั่วไปเกี่ยวกับเลขาคณิต  โดยได้พิสูจน์สิ่งที่เห็นจริงแล้วเป็นทฤษฎีบท  ในฐานะนักปราชญ์แนววัตถุนิยม  เขาเสนอว่าน้ำเป็นปฐมธาตุและต้นกำเนิดของทุกสรรพสิ่ง




ทฤษฎีบทของทาเลส

 \textstyle \frac{DE}{BC} = \frac{AE}{AC } = \frac{AD}{AB}

Anaximander อแนกซิมานเดอร์ (640-546 ก่อน ค.ศ.)


ภาพวาด Anaximander บนกำแพงโรงเรียนเอเธนส์ (1510-1511ค.ศ.)

Anaximander อแนกซิมานเดอร์  นักปราชญ์ชาวกรีก  ผู้วางรากฐานดาราศาสตร์  ผู้เขียนตำราภูมิศาสตร์  ดาราศาสตร์และจักรวาลวิทยาด้วย ซึ่งนักศึกษาในสมัยโบราณได้ใช้ศึกษาและใช้สืบต่อกันมาในอีกหลายศตวรรษ  และเขายังเป็นผู้ที่นิยมในหลักเหตุผล โดยใช้ทฤษฏีทางคณิตศาสตร์  ซึ่งแนวคิดทางดาราศาสตร์ของเขาได้ต่างไปจากแนวคิดดั้งเดิมก่อนหน้านี้อย่างมาก และเบิกทางให้กับความสำเร็จของนักดาราศาสตร์ในรุ่นหลัง

ภาพโครงสร้างจักรวาล ตามทฤษฏีของ Anaximander  
ด้านซ้ายมือเป็นเวลากลางวันในฤดูร้อน  บนขวาเป็นกลางคืนในช่วงฤดูหนาว

Homer โฮเมอร์ ( 800 ก่อน ค.ศ.)


Homer โฮเมอร์ กวีมหากาพย์ของกรีก  ผู้ยิ่งใหญ่  ซึ่งตามตำนานเชื่อกันว่าเป็นนักขับลำนำตาบอด  ผู้แต่งเรื่อง Iliad (กล่าวถึงสงครามชิงเมืองทรอย) และ Odyssey (การเดินทางกลับบ้านของยูลิสซิสหลังจากสงครามเมืองทรอยสิ้นสุดลง) มหากาพย์ทั้งสองเรื่องนี้เป็นหลักไมล์ทางวรรณกรรมที่สำคัญ  ซึ่งมีอิทธิพลต่อวรรณกรรมตะวันตกอย่างมาก  แต่ในปัจจุบันนักค้นคว้าวิจัยและนักประวัติศาสตร์เชื่อว่ามหากาพย์ทั้งสองเป็นผลงานของนักขับลำนำหลายๆคนที่ขับกันมาหลายชั่วอายุคน  มากกว่าจะเป็นผลงานของโอเมอร์คนเดียว


โฮเมอร์กำลังเล่นพินและร้องขับลำนำ

วาทกรรม  " คนหนุ่มสาวรู้สึกได้ว่องไว  แต่การตัดสินใจยังอ่อนหัด "


ติดตามผ่าน FACEBOOK

Video Of Week : เส้นทางนักบุกเบิก สตีฟ จ๊อบส์

Live Currency Cross Rates


The Forex Quotes are powered by Investing.com.

ไขปริศนาคดีฆาตกรต่อเนื่องโดย นักฆ่าโซดิแอค

โพสต์แนะนำ

Anton Van Leeuwenhoeh : ลีเวนฮุ๊ค (ค.ศ.1632-1723)

Anton Van Leeuwenhoeh : ลีเวนฮุ๊ค  นักชีววิทยาชาวดัชท์  ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็น " บิดาแห่งจุลชีววิทยาการ " ( the Father of M...

บทความที่ได้รับความนิยม

Kategori

สนับสนุนเว็บไซด์

หนังคาวบอยดี.. ดูฟรี ออนไลน์

Kategori