คุณรู้ไหมว่า...ใครเป็นใคร..? บนโลกใบนี้

คุณรู้ไหมว่า...ใครเป็นใคร..? บนโลกใบนี้

Attila The Hun : อัตติลา (ค.ศ. 406-453)


Attila The Hun : อัตติลา กษัตริย์นักรบของชนเผ่าฮั่น  ชนเผ่าเร่ร่อนในเอเซียกลาง  ซึ่งเข้ามาตั้งหลักแหล่งใกล้แม่น้ำดานูปในยุโรป  อัตติลาเป็นนักรบที่เก่งกาจและโหดเหี้ยม  ครอบครองอาณาจักรครอบคลุมตั้งแต่เยอรมนีไปจนถึงแม่น้ำอูราล  และจากฝั่งแม่น้ำดานูปไปจนถึงทะเลบอลติก  ซึ่งเป็นการขยายอาณาจักรไปย่างกว้างขวาง  อัตติลาทรงเป็นประมุขที่สร้างความหวาดหวั่นมากที่สุดให้แก่จักรพรรดิโรมันตะวันออกและจักรวรรคิโรมันตะวันตก

ภาพ  งานเลี้ยงของอัตติลาตามบันทึกของ Priscus

กษัตริย์อัตติลาคือผู้สร้างตำนานของดาบวิเศษแห่งอัตติลา  ซึ่งพระองค์ทรงได้มาอย่างปาฎิหาริย์  และได้รับการบรรยายโดยนักประวัติศาสตร์โรมันพริสตัล (Priscus) ซึ่งส่งผลให้ชื่อเสียงของพระองค์เป็นที่น่าเกรงขามมากยิ่งขึ้น

ปริศนาการตาย  อัตติลามีอาการตกเลือดกำเดาอย่างหนัก  และสำลักเลือดจนสิ้นพระชนม์  อีกทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่า  พระองค์ทรงประชวรด้วยสาเหตุ...เลือดออกภายในจากการที่เสวยน้ำจัณฑ์มากเกินไป  ด้วยอาการที่เรียกว่า  หลอดเลือดขอดในหลอดอาหารแตก (esophageal varices) คือ หลอดเลือดในบริเวณตอนล่างของหลอดอาหารเกิดการขยายตัวมากไปและแตก...จึงทำให้เสียชีวิตด้วยอาการตกเลือดภายใน  บางทฤษฎีก็กล่าวว่า  อัตติลถูกแทงโดยมีดของพระมเหสีของพระองค์เอง

Augustine (Of hippo), Saint : เซนต์ ออกัสติน (ค.ศ.354-430)


Augustine (Of hippo), Saint : เซนต์ ออกัสติน นักเทววิทยาและนักเขียนชาวโรมันที่มาจากเมืองคาร์เทจ  แอฟริกาเหนือ  ช่วงแรกมีแนวคิดแบบ Manichaeism ต่อมาเมื่อมาอยู่โรมก็ได้รับอิทธิพลจากคติของเพลโตใหม่ (Neoplatonism) และเมื่อไปมิลานเขาก็ได้เปลี่ยนไปเป็นชาวคริสต์  ในปี ค.ศ.387 ออกัสตินเป็นเจ้าอาวาสในเมืองฮิปโปแอฟริกาเหนือ  และเขียนหนังสืออัตชีวประวัติที่มีชื่อเสียง  เรื่อง City of God ซึ่งเป็นหนังสือเกี่ยวกับปรัชญาและธรรมชาติของมนุษย์  และรวมทั้งหนังสือและบันทึกอื่นๆจำนวนมาก


ภาพ เซนต์ ออกัสติน  วาดโดย  ปีเตอร์ พอล รูเบน

จากหนังสือเรื่อง The City of God (นครแห่งพระเจ้า) ออกัสตินได้แสดงทัศนะต่อประวัติศาสตร์ซี่งสะท้อนถึงลักษณะของปรัชญาตะวันตกสมัยกลาง  ซึ่งยังยึดมั่นในพระเจ้าเป็นหลัก  เซนต์ออกัสตินมีความเห็นว่า.. วิถีของประวัติศาสตร์ของมนุษยชาตินั้น..ก็คือ  การต่อสู้ระหว่าง 2 อาณาจักร หรือ 2 นคร คือ นครแห่งพระเจ้าหรืออาณาจักรแห่งสวรรค์  กับนครแห่งมนุษย์หรืออาณาจักรแห่งมนุษย์  และการต่อสู้...หมายถึง  การต่อสู้กันระหว่างการตัดสินใจรักพระเจ้า...อันเป็นเหตุให้มนุษย์เข้าสังกัดนครแห่งพระเจ้า  กับการรักตัวเองและโลกอันเป็นเหตุให้มนุษย์เข้าสังกัดนครแห่งมนุษย์และความบาป  ออกัสตินมีความเห็นอีกว่า..ศาสนจักรคือตัวแทนของนครแห่งพระเจ้า  และรัฐคือตัวแทนของนครแห่งมนุษย์  ดังนั้น  ศาสนจักรจึงควรยิ่งใหญ่กว่าและสมบูรณ์กว่ารัฐ  ออกัสตินเชื่อว่าเป้าหมายของการต่อสู้ในประวัติศาสตร์ดังกล่าวจะสิ้นสุดลงที่ชัยชนะแห่งนครของพระเจ้า หมายถึง มนุษย์จะรักพระเจ้าในท้ายที่สุด  และเมื่อมนุษย์รักพระเจ้า  นั้นคือ  ทางรอดจากบาปของมนุษย์

วาทกรรม " ปาฎิหาริย์ไม่ใช่สื่งที่อยู่ตรงข้ามกับธรรมชาติ  เพียงแต่อยู่ตรงข้ามกับสิ่งที่เรารู้เกี่ยวกับธรรมชาติ "

Chandra Gupta II Vikramaditya : พระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 2 (ราวปี ค.ศ. 300-400)


Chandra Gupta II Vikramaditya : พระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 2 จักรพรรดิแห่งราชวงศ์คุปตะของอินเดียตอนเหนือ  พระองค์ทรงขยายอาณาเขตด้วยการทำสงคราม  ทรงสามารถทำสงครามทวงคืนเขตแดนที่ชนเผ่าสกะครอบครองอยู่ทางทิศตะวันตกได้สำเร็จ  และสามารถผลักดันพวกสกะออกไปจากอินเดียจนหมดสิ้น  พระเจ้าจันทรคุปตะที่ 2 ได้ทรงตั้งเมืองอุชเชนีในแคว้นอวันดีให้เป็นเมืองหลวงแห่งที่ 2 ด้วย และใช้ยังวีธีสร้างพันธมิตรด้วยการอภิเษกสมรสด้วย  ซึ่งทำให้อินเดียในยุคสมัยของพระองค์เจริญรุ่งเรืองและมีสันติภาพ  มีระบบการปกครองที่เป็นธรรม  จนทำให้ได้รับการยกย่องจากบันทึกของผู้แสวงบุญชาวจีน  ชื่อหลวงพ่อ " ฟาเสียน " (Faxian) ที่ได้มาเยือนอินเดีย  เพื่อต้องการอัญเชิญพระไตรปิฎกกลับไปแผ่นดินจีน  ในระหว่างปี พ.ศ. 942-955   และแม้พระองค์จะเป็นฮินดูที่เคร่งศาสนา  แต่ก็จันทรคุปก็ทรงมีขันติธรรมต่อผู้ที่ถือศาสนาอื่นๆ เช่น ไชนะ (เชน) และพุทธด้วย  และพระองค์ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์กวีกาลิทาส (Kalidasa) ผู้มีชื่อเสียงอีกด้วย


ภาพ ฟาเสียน  ผู้เดินทางไปอัญเชิญพระไตรปิฏกกลับแผ่นดินจีน

พระเจ้าจันทรคุปตะที่ 2 สิ้นพระชนม์ลงในปี พ.ศ.957 ซึ่งผู้ที่ขึ้นมาสืบราชบัลลังก์ต่อมาเป็นโอรสนามว่า " พระเจ้ากุมารคุปตะ " (Kumaragupta I) และราชวงศ์คุปตะก็เริ่มเสื่อมอำนาจลงเรื่อยมา และมีอันต้องสูญสิ้นราชวงศ์ไปในปี พ.ศ.1073 นั่นเอง

Constantine The Great : จักรพรรดิ์คอนสแตนติน (ค.ศ. 280-337)


Constantine The Great : หรือที่รู้จักกันในพระนาม " คอนสแตนตินที่ 1 " คอนสแตนตินเป็นจักรพรรดิโรมันผู้ปกครองอาณาจักรโรมมันทั้งโรมันตะวันออกและโรมันตะวันตก  และเป็นผู้ตั้งเมืองคอนแสตนติโนเปิล : Constantinople แปลว่า " เมืองของคอนสแตนติน " (ปัจจุบันคืออิสตันบูล) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิโรมันในปี ค.ศ.330 และเป็นศูนย์กลางการปกครอง  คอนสแตนตินเป็นจักรพรรดิโรมันองค์แรกที่ทรงรับศาสนาคริสต์เป็นศาสนาประจำรัฐ  โดยการกำหนดให้มีพระราชกฤษฎีกาแห่งมิลาน (Edict of Milan) ที่ประกาศโดยจักรพรรดิลีซีนีอุส (Licinius) ผู้ทรงเป็นจักรพรรดิร่วมกับพระองค์ด้วย ซึ่งพระราชกฤษฎีกาแห่งมิลานเป็นพระราชกฤษฎีกาที่ประกาศให้ยกเลิกการทารุณกรรมและเข่นฆ่าปราบปรามคริสต์ศาสนิกชนทั่วทั้งจักรวรรดิโรมัน (ด้วยเหตุนี้  ในภายหลังพระองค์จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นนักบุญคอนสแตนติน) ของบรรดาผู้นับถือนิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์หรือนิกายไบแซนไทน์คาทอลิก ซึ่งถือว่าเป็นการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางเทววิทยาด้วยวิธีการทางกฎหมาย  และทำให้ในช่วงเวลานั้น  คริสต์ศาสนจักรมีอำนาจเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก  จนนำมาสู่การข่มเหงและลงโทษคนที่มีความคิดแตกต่างต่อคริสต์ศาสนาในภายหลัง  และเมื่อจักรวรรดิทางภาคตะวันตกล่มสลาย  นครคอนสแตนติโนเปิล  จึงกลายเป็นนครหลวงของอาณาจักรไบแซนไทน์ (Bizantine) ต่อมา...อีกกว่าหนึ่งพันปี  แต่กระนั้น  อาณาจักรไบแซนไทน์ก็ถูกปล้นและเผาและยึดครองในระหว่างสงครามครูเสดครั้งที่สี่ เมื่อปี ค.ศ. 1204 และสิ้นสุดการเป็นเมืองหลวงลงในสมัยจักรวรรดิออตโตมันเมื่อปี ค.ศ. 1453

ภาพ  การล้างบาปของคอนสแตนติน วาดโดย ราฟาเอล

ตามบันทึก  กษัตริย์คอนสแตนตินทรงเข้ารีตเป็นคริสเตียน  ด้วยการกระทำพิธี " ศิลจุ่ม " ขณะที่บรรทมใกล้จะสิ้นพระชนม์  ในปี ค.ศ.337 หลังจากเกิดสงครามแย้งชิงอำนาจระหว่างโอรสสองพระองค์  ตั้งแต่นั้น จักรวรรดิไบแซนไทน์จึงได้รับอิทธิพลความเชื่อจากคริสตศาสนามากขึ้น  และเริ่มมีการใช้เครื่องหมายของคริสเตียนบนเงินและเหรียญโรมัน  รวมทั้งตำแหน่ง " Pontifax Maximus " ของจักรพรรดิ ก็ได้ถูกนำไปใช้กับ Pope (โป๊ป) หรือ Pontff ในฐานะประมุขของคริสต์ศาสนจักรด้วย  จนถึงปัจจุบันนี้

Diocletian : ไดโอคลิเชียน ( ค.ศ.245 - 316)


Diocletian : ไดโอคลิเชียน กษัตริย์โรมันช่วงปี ค.ศ.284 - 305 ที่สามารถจัดการระงับการจลาจลวุ่นวายภายหลังสันติภาพโรมัน  พระองค์ทรงปกครองอาณาจักรทางภาคตะวันออกของโรมันเป็นส่วนใหญ่ ส่วนทางตะวันตกได้ทรงแต่งตั้งผู้ปกครองอื่นๆ  ซึ่งการแบ่งเช่นนี้  ได้นำไปสู่การแบ่งแยกอาณาจักรโรมันออกเป็นภาคตะวันออกและตะวันตกในสมัยต่อมา

ไดโอคลิเชียนเป็นจักรพรรดิเผด็จการ  ทรงมีนโยบายที่จะควบคุมและจำกัดอำนาจของกองทัพ  โดยการยุบกองทัพลิเจียนให้เล็กลง  เพื่อจะให้แม่ทัพมีอำนาจและทหารใต้บังคับบัญชาน้อยลง  และไม่สามารถก่อความวุ่นวายในโรมได้  และทรงลดขนาดของมณฑลให้เล็กลงเพื่อลดอำนาจของผู้ว่าการฯ  และรวมมณฑล (Provinces) เข้าเป็น " ไดโอซีส " (dioceses) และปกครองโดย " vicar " และรวมไอโอซีสเข้าภายใต้คณะของผู้ปกครองทั้ง 4 คน อีกทีหนึ่ง


ภาพ  พระราชวังของไดโอคลิเซียน ในยุคสมัยแห่งความรุ่งเรือง


แต่ในด้านการปกป้องประเทศ   ไดโอคลิเชียนได้เสริมกำลังชายแดนให้มั่นคงขึ้น  แบบนอกแข็ง ในอ่อน
 ซึ่งเป็นการวางรากฐานให้กับจักรวรรดิไบแซนไทน์ในยุคต่อมา  และพระองค์ได้ทรงออกกฎหมายกวาดล้างชาวคริสต์ครั้งใหญ่  ก่อนสละราชสมบัติในปี ค.ศ. 305

Mani : มานี (ค.ศ.216 - 276)


Mani : มานีส ศาสดาของศาสนา Manichaeism ชาวเปอร์เซียในเมโสโปเตเมีย  ซึ่งอ้างว่าคำสอนของตน คือ  การแก้ไขข้อบกพร่องในคำสอนของศาสนาโซโรอัสเตอร์  พุทธและคริสต์  โดยมีคำสอนลักษณะทวิ (แบบคู่ ) ของความดีและความชั่ว  ความมืดและความสว่างที่ขัดแย้งกันและต่อสู้กันอยู่เสมอ  ซึ่งจะสะท้อนออกมาทางจิตใจและร่างกายของมนุษย์  ศาสตร์นี้เคยแพร่หลายไปทั่วอาณาจักรโรมันและดินแดนตะวันออกจนถึงประเทศจีน  และเป็นคู่แข่งกับศาสนาคริสต์ในระยะเวลาสั้นๆ  แต่ภายหลังศาสนา Manichaeism ถูกโจมตีอย่างหนักจากคริสตจักรและรัฐโรมัน  จนสูญหายไปจากยุโรปตะวันตกเกือบหมดในคริสตศตวรรษที่ 5 และต่อมามีปรากฎในหมู่ชาวคาทาร์คนนอกรีต (คริสตฺ์) ในยุโรป  ในศตวรรษที่ 13 และในบอสเนียจนถึงศตวรรษที่ 15

ติดตามผ่าน FACEBOOK

Video Of Week : เส้นทางนักบุกเบิก สตีฟ จ๊อบส์

Live Currency Cross Rates


The Forex Quotes are powered by Investing.com.

ไขปริศนาคดีฆาตกรต่อเนื่องโดย นักฆ่าโซดิแอค

โพสต์แนะนำ

Anton Van Leeuwenhoeh : ลีเวนฮุ๊ค (ค.ศ.1632-1723)

Anton Van Leeuwenhoeh : ลีเวนฮุ๊ค  นักชีววิทยาชาวดัชท์  ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็น " บิดาแห่งจุลชีววิทยาการ " ( the Father of M...

บทความที่ได้รับความนิยม

Kategori

สนับสนุนเว็บไซด์

หนังคาวบอยดี.. ดูฟรี ออนไลน์

Kategori